ในสังคมบ้านเราที่รายได้จากหวยอยู่ในอันดับต้นๆของรายได้ของรัฐบาล วันนี้ก็ไปประสพพบเจอกับบทความนึงใน The Economist ฉบับวันที่ 14 ธันวานี้เกี่ยวกับว่าทำไมคนเราถึงติดใจกับโอกาสความเป็นไปได้ที่ 50:50
จากการค้นคว้าที่กำลังดำเนินไปอยู่นั้นเขาว่ากันว่า หลายๆครั้งอัตราต่อรองที่ดูกำกวม (odds) นั้นถูกประเมินว่าเป็นเท่าเทียมยุติธรรม (even) ด้วยซ้ำไปซะงั้น
เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา หลายคน เคยบอกเขาว่า มันมีโอกาสความเป็นไปได้ระหว่าง 30% ถึง 95% ที่โอซามา บิน ลาเดน นั้นอยู่ในที่พักบริเวณ อับบอททาบัดในปากีสถาน เมื่อเดือนเมษายน ในปี 2011
แต่ประธานาธิบดีนั้นไม่ได้เชื่อเท่าไหร่และบอกว่า “นี่มัน 50:50 หนิ”, “นี่มันเหมือนการโยนเหรียญเลยนะ” แม้ว่าสุดท้ายแล้วบิน ลาเดนจะถูกหาเจอและยิงตายตอนนั้นก็ไม่ได้บอกว่าใครเป็นคนประเมินโอกาสความเป็นไปได้นั้นได้ใกล้เคียงที่สุด แต่การค้นคว้าวิจัยที่ออกมาใหม่นั้นได้บอกว่า สัญชาติญาณของคุณโอบามานั้นที่ทำกับว่าความเป็นไปได้จากหลายๆตัวเลข กลับถูกหารสองให้เท่ากันเมื่อความเป็นไปได้มันไม่แน่นอนนั้น คนอื่นๆก็ทำกันทั่วไปแพร่หลาย
จากการค้นคว้าของ เบนจามิน เองเก้ และ โทมัส แกร์เบอร์ จากมหาลัยฮาร์เวิด ทั้งคู่บอกว่าความลำเอียงที่นำไปสู่อัตราความเป็นไปได้ที่ 50:50 นั้นได้ปรากฏขึ้นมาในหลายๆรูปแบบของสถานการณ์ต่างๆ
อย่างแรกคือการตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยงที่รับรู้อยู่แล้ว เช่นการหยอดตู้เล่นเครื่องสล็อต (ที่ว่ายุติธรรม) นักเศรษฐศาสตร์ได้ตระหนักมานานแล้วว่าคนเรานั้นค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงในโอกาสความเป็นไปได้ต่างๆ ยิ่งเข้าใกล้สู่ขอบล่างหรือขอบบนของความเป็นไปได้ ขอบล่างก็คือ 0% และ ขอบบนก็คือ 100%
ตัวอย่างเช่น หากคุณมีโอกาสที่จะชนะรางวัลใหญ่ สมมุติว่า 1 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจาก 0% เป็น 1% นั้นจะดูมีผลกระทบมากกว่าโอกาสที่จะชนะรางวัลเดียวกันแต่จาก 20% เป็น 21% และยิ่งสุดโต่งเท่าไหร่ยิ่งมีแนวโน้มว่าจะบีบอัดอัตราต่อรองนั้นให้เป็นความเป็นไปได้ที่เท่าเทียมและยุติธรรมซะงั้น (evens)
แต่ตอนจะไปบุกจับบินลาเดน นั้นคุณโอบามา ไม่ได้มีอัตราต่อรองที่รับรู้ความเสี่ยงอยู่แล้ว แต่ค่อนข้างจะคลุมเคลือซะมากกว่า นักค้นคว้าหลายๆคนได้พบว่าความไม่แน่นอนเหล่านั้นมีผลกระทบบีบอัดกดดันที่คล้ายๆกันก็คือ มันทำให้คนเราลงมือกระทำการใดๆราวกับว่าพวกเขาเหล่านั้นกำลังรับรู้อัตราต่อรองหรือโอกาสความเป็นไปได้ที่เข้าใกล้สู่ 50:50 มากกว่าที่ควรจะเป็นซะงั้นจากข้อมูลในเวลานั้น
(พอโอกาสความเป็นไปได้มันกำกวมมากๆก็คือคิดไปเองนั่นแหละว่ามันน่าจะ 50:50 ละกันแต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่ 50:50 หรอกครับพี่) คุณเองเก้ และ เกร์เบอร์ก็ชี้แจงว่าแนวโน้มเหล่านี้ก็พบได้จากหลายๆสำรวจจากความคาดหวังต่อผลประกอบการของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นด้วย
ผู้เขียนจึงได้นำเสนอทฤษฏีใหม่ที่อธิบายถึงพฤติกรรมนี้ว่า “Cognitive Uncertainty” น่าจะทำนองความไม่แน่นอนทางสมองเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ มันอาจจะอธิบายอย่างง่ายๆว่ามันก็คือการขาดความมั่นใจ
ถ้าคนเรารู้ว่าสุดท้ายแล้วเขาอาจจะคิดไม่ถูก หรือจะความจำเริ่มไม่ดี หรือว่าพวกเขาไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบอะไร ดังนั้นแล้วตัวเลือกของพวกเขานั้นจะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีอยู่นั้นน้อยลง แต่จะไปพึ่งพาข้อมูลทางจิตใจ “mental default” ที่ทำให้กลายเป็นโอกาสความเป็นไปได้ที่เท่ากันมากกว่า (สั้นๆก็น่าจะคือ พอตัดสินใจจากข้อมูลไม่ถูก ก็วัดดวงจากสัญชาติญาณแต่ละคนว่างั้นเถอะ)
จากการทดลองหลายๆครั้งของคุณเองเก้ และคุณแกร์เบอร์ผ่านทางการพนันออนไลน์นั้นแสดงให้พวกเขาเห็นว่า ยิ่งคนเราไม่แน่ใจในการตัดสินใจของตัวเอง พวกเขาก็ยิ่งจะมีแนวโน้มที่จะระมัดระวังการพนันของเขา แม้ว่าพวกเขาอาจจะมีข้อมูลที่ดูเหมือนเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาในทางทฤษฏีก็ตาม
นักวิจัยทั้งหลายในอดีตนั้นบอกว่า ไอ่อัตราต่อรอง 50:50 เนี่ยมันก็แปลได้ว่าคือ “กูไม่รู้” นี่แหละ ซึ่งนี่ก็อาจจะเป็นเรื่องที่วิ่งผ่านหัวคุณโอบามาในตอนนั้นก็ได้ เพราะพบว่าโอกาสที่จะเป็นไปได้จริงนั้นช่างมีหลายๆอย่างเหลือเกิน
นักพยากรณ์มักจะเอาพวกอัตราต่อรองหรือโอกาสความเป็นไปได้ต่างๆไปจับคู่กับเหตุการณ์ต่างๆเนื่องจากว่าคำว่า “probable” – เป็นไปได้ กับ “likely” – น่าจะ นั้นค่อนข้างจะตีความกันไปต่างๆนาๆและไม่เหมือนกันสำหรับแต่ละคน แต่ตัวเลขอะไรก็ตามมันไม่ได้มีความหมายอะไรหากปราศจากความมั่นใจ
หากประชดประชันเล็กๆ ก็คือ พอไม่รู้อะไร ก็แสดงความมั่นใจ ออกมากลบเกลื่อนสินะ…สุดท้ายแล้วก็เลิกเล่นหวยกันเถิดครับ
อ้างอิง:
blenlit
hakwamroo.com
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.