ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เราเห็นการสะดุ้งและแตกตื่นของตลาดหุ้นต่างๆรวมถึงของไทยเราด้วยอันเนื่องมาจากการพบผู้ติดเชื้อมาขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะอิตาลีและเกาหลี้ใต้ในขณะนี้
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาผู้กำหนดนโยบายหลายๆแห่งก็ได้เริ่มมีมาตราการต่างๆออกมาเพื่อชะลอการหดตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งหนึ่งในมาตราการต่างๆนั้นก็คือการที่ธนาคารกลางในหลายๆประเทศได้ทำการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงซึ่งถือว่ารวดเร็วนับตั้งแต่วิกฤตการเงินตั้งแต่ปี 2008-2009 เป็นต้นมา
วันที่ 3 มีนา ธนาคารกลางสหรัฐก็จัดก่อนเลย โดยทำการลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.5% ธนากคารกลางในออสเตรเลีย แคนาดา และอินโดนีเซียก็ตัดตาม ธนาคารกลางของยุโรปและอังกฤษก็คาดว่าจะตามไปเช่นกัน
อย่างไรก็ดี การลดอัตราดอกเบี้ยนี้ก็อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ตรงประเด็นนักสำหรับเหตุการณ์วิกฤตในครั้งนี้ตามที่เราจั่วหัวกันไป สาเหตุก็เนื่องมาจากว่าในทุกวันนี้ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกนั้นก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำอยู่แล้ว ทุกวันนี้อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ร่ำรวยทั้งหลายนั้นอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงหรือต่ำกว่า 0% อยู่แล้วด้วยซ้ำไป นั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลนึงว่าทำไมราคาหุ้นถึงยังไม่ฟื้นสักที แม้ว่าตลาดจะรับรู้ถึง covid-19 ไปมากแล้วก็ตาม
เนื่องจากว่าวิกฤตครั้งนี้เกี่ยวข้องกับอุปสงค์ อุปทานและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ซึ่งรัฐบาลก็อาจจะต้องใช้มาตราการทางการคลังเพิ่มขึ้นด้วยเพื่อพยุงธุรกิจและบริโภคด้วยเช่นกัน ว่าง่ายๆต่อให้ดอกเบี้ยจะต่ำแค่ไหน แต่หากคนยังไม่มีความเชื่อมั่นที่จะออกไปใช้เงิน เนื่องจากความหวาดกลัวต่อ covid-19 เงินก็จะยังไม่ถูกใช้เช่นกัน เพราะหากมีคนป่วยเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนหยุด คนไม่ไปห้าง กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็คงจะไม่ฟื้นง่ายๆเช่นกัน ซึ่งภาคธุรกิจก็ประสพปัญหาเรื่องกระแสเงินสดได้เช่นกัน เมื่อรายได้ลดลง แต่ในขณะที่บริษํทต่างๆยังคงต้องจ่ายเงินเดือนพนักงาน หรือค่าบำรุงรักษาต่างๆเพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้ก็จะมีปัญหาทางการเงินข้ามาเช่นกัน
ล่าสุดนี้ทาง The Economist ก็ได้แสดงกราฟเปรียบเทียบการประเมินตัวเลข GDP เพื่อเทียบให้เห็นภาพว่าจากเดือนพฤษจิกายนปีที่แล้วเทียบกับต้นเดือนมีนานี้ การคาดการณ์ GFP ได้ลดลงไปเท่าไหร่บ้าง ทุกประเทศก็ลดลงโดยที่อินเดียนั้นลดลงเยอะที่สุดคือเกิน 1% ในขณะที่จีนอยู่อันดับสอง
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ประเทศต่างๆก็มีการออกนโยบายและมาตราการต่างๆเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทต่างๆนั้นสามารถรับกับต้นทุนคงที่ที่ต้องจ่าย ค่าเช่า หรือภาษี รวมไปถึงช่วยเหลือพนักงานในการช่วยพยุงต้นทุนค่าครองชีพด้วยเช่นกัน ตามภาพด้านล่าง
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ญี่ปุ่นก็ปล่อยเงินอีก 4.6 พันล้านเหรียญเพื่อให้มีสภาพคล่องในระบบต่อไป ธนาคารกลางของจีนก็เสนอเงินอีก 1.15 แสนล้านเหรียญให้กับธนาคารต่างๆเพื่อให้ธนาคารปล่อยเงินกู้สำหรับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก covid-19 อย่างรุนแรง นอกจากนั้นธนาคารกลางของจีนก็ได้ขอร้องให้ธนาคารต่างๆอย่าเข้มงวดกับลูกหนี้ที่ถึงเวลาต้องจ่ายแล้วมากเกินไปเพื่อช่วยผ่อนปรนภาระหนี้ต่างๆ
สิงคโปร์กำลังวางแผนเรื่องการพักชำระหนี้ของบริษัทต่างๆ รวมไปถึงการคืนค่าเช่าและการคืนภาษีบางส่วนสำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ เกาหลีใต้จะมองเงินส่วนนึงให้กับบริษัทขนาดเล็กที่อาจจะมีปัญหาในการจ่ายค่าจ้าง อิตาลีจะนำเสนอลดหย่อนทางภาษีให้กับบริษัทที่มียอดขายลดลง 25% ส่วนในจีน นอกเหนือจากมาตราการข้างต้นแล้วก็ได้มีการสั่งให้เจ้าของที่ดินหรือทรัพย์สินต่างๆที่ให้เช่านั้นลดค่าเช่าลง ญี่ปุ่นจะช่วยเหลือด้านค่าจ้างสำหรับคนที่ถูกบังคับให้ต้องหยุดงานที่ต้องไปดูแลลูกหลานหรือญาติที่ป่วย
จนถึงวันนี้ ก็มีการประกาศนโยบายต่างๆออกมาเรื่อยๆ แต่การบังคับใช้ยังไม่แน่นอน ยิ่งไวรัสกระจายไปมากขึ้นอีก ดอกเบี้ยก็อาจจะมีการลดลงอีก รวมไปถึงมาตราการต่างๆเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจนั้นก็คงจะมีออกมาเรื่อยๆเช่นกัน
ทีนี้ก็จะมีคำถามว่าแล้วเมื่อไหร่หละที่ตลาดจะฟื้นกลับมา จากบทความใน The Economist นั้น (จากลิงก์ในส่วนอ้างอิง) ก็บอกว่า ดัชนี VIX (ทำนองความเชื่อมั่นนักลงทุน) นั้นก็น่าจะมีไกด์ไลน์ที่ใกล้เคียงที่สุด ณ ตอนนี้ ความผันผวนนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อราคาหุ้นตกลง แต่ข่าวต่างๆในช่วงที่ผ่านมานั้นก็ทำให้หุ้นวิ่งไปทั้งสองทาง ทั้งขึ้นทั้งลง แต่มันก็แปลกที่ระดับความผันผวนของดัชนีนี้นั้นยังคงอยู่ในระดับที่สูงแม้ว่าราคาหุ้นจะดีดตัวขึ้นมาบ้าง
ดัชนี้ VIX ที่สูงนั้นก็บ่งบอกได้ว่า การเหวี่ยงตัวอย่งรุนแรงของหุ้นก็ยังน่าจะดำเนินต่อเนื่องไปอยู่ และนักลงทุนก็ยังควรที่จะทำตัวให้ชินกับรถไฟเหาะแบบนี้ เนื่องจากว่าปลายทางนั้นยังคงมองไม่เห็น
อ้างอิง:
https://www.hakwamroo.com/vix-volatility-index/
blenlit
hakwamroo.com
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.