พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Investment

Why Initial Public Offering:IPO matters? (ทำไมต้องเอาบริษัทเข้าตลาดหุ้น?)

ภาพจาก https://www.fool.com/

เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา อดัม นูแมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ WeWork บริษัทสตาร์ทอัพเกี่ยวกับการเช่าและแชร์พื้นที่สำนักงานที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งขึ้นมา แต่ยังคงเป็นหนึ่งในบอร์ดผู้บริหารแต่ว่าไม่ได้มีสิทธิออกเสียงอะไร

สาเหตุที่เขายอมลงจากตำแหน่งนี้เพราะเนื่องจากว่าเขาตกเป็นเป้าสำหรับการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นที่ล่าช้าที่ต้องมีอันยกเลิกไปก่อนเนื่องจากการประเมินมูลค่าบริษัทนั้นมีมูลค่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก

ในฐานะคนที่อยู่ประเทศที่ขนาดของตลาดหุ้นที่มีขนาดไม่ถึงครึ่งเปอร์เซ็นต์ของโลกอย่างไทยเรานั้นก็สงสัยว่ามันเป็นอะไรนักหนากับการเอาบริษัทเอกชนเข้าตลาดหุ้น

อย่างที่เราเคยศึกษากันไปบ้างแล้วว่าตลาดหุ้นนั้นมีไว้เพื่อทำอะไร ถ้าจะทบทวนกันแบบสั้นๆก็คือ การนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นก็เพื่อหาเงินเข้าบริษัทโดยแลกความเป็นเจ้าของบางส่วนออกไปนั่นแหละ

การนำบริษัทเอกชนที่ต้องการเพิ่มทุนโดยการขายหรือเสนอหุ้นของบริษัทตัวเองให้กับบุคคลทั่วไปซึ่งสำหรับนักลงทุนเอกชนทั่วไปแล้วก็มีความคาดหวังที่จะได้รับส่วนต่างของหุ้นตัวเองกับราคาที่จะสามารถขายให้ได้กับประชนชนทั่วไปนั่นเอง (ส่วนต่างนี้เรียกว่า share premiums) ในขณะที่นักลงทุนทั่วไปก็สามารถมีส่วนร่วมกับการเสนอขายหุ้นที่เคยเป็นบริษัทเอกชนมาก่อนด้วย

ทีนี้มาดูกันที่ตัวอย่างของ WeWork ก็เหมือนกันว่าทำไมนักลงทุนและหุ้นส่วนของ WeWork ถึงต้องกดดันให้มีการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นก็เพื่อต้องการหวังที่จะได้กำไรกลับมาในส่วนนี้จากการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพนี้แหละ

ก่อนหน้านี้มีการคาดการว่ามูลค่าของ WeWork นั้นจะอยู่ที่ 47,000 ล้านเหรียญ แต่ล่าสุดนั้นตัวเลขประเมินอยู่ที่ 1 ใน 5 เท่านั้น ทำให้นักลงทุนเริ่มสงสัยถึงการบริหารของ WeWork ว่าไม่โปร่งใส ขยายกิจการอย่างไม่ระมัดระวัง และไม่ได้ประโยชน์จากการประหยัดจากขนาด (economies of scale) ในการขยายธุรกิจนั้นเลย

WeWork ที่ขาดทุนไป 1,4000 ล้านเหรียญแค่ภายในครึ่งปีแรกของปีนี้นั้นต้องการเงินสดมาสนับสนุนกิจการให้เดินต่อไปให้ได้ ไม่งั้นโอกาสเดินไปยังเส้นทางการล้มละลายก็เป็นไปได้

ตอนนี้ WeWork นั้นถือเงินสดในมือประมาณ 2,500 ล้านเหรียญ ซึ่งก็พอๆกับยอดขาดทุนในช่วงปี 2017-2018 รวมกัน ซึ่งหากยังเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ WeWork ก็จะหมดเงินสดภายในไม่ถึงหนึ่งปี

ซึ่งหากมองถึงอนาคตของ WeWork ในตอนนี้แล้วก็เห็นว่ามีการประเมินมูลค่าของบริษัทที่มากเกินความเป็นจริงไปมาก อาจทำให้คนที่อยากสนับสนุน WeWork อย่าง Softbank อาจจะต้องคิดใหม่ก็ได้ ผู้ถือ junk bond (พันธบัตรที่ให้ผลตอบสูงแต่ความเสี่ยงก็สูงมากออกมาเพื่อเน้นขายและเพิ่มทุนในระยะเวลาสั้นๆ) ณ ตอนนี้ประมาณ 669 ล้านเหรียญก็อาจจะได้รับผลกระทบเช่นกัน

ดังนั้นนอกจากเหตุผลการเพิ่มทุนเป็นหลักแล้ว เหตุผลอื่นๆก็เป็นได้ว่า ในบริษัทเทคโนโลยีโดยเฉพาะในอเมริกานั้น หุ้นจะถูกแบ่งให้กับพนักงานหลายๆคน ความกดดันจากพนักงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วยหากมีการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นล่าช้า เพราะพนักงานหลายๆคนก็อยากขายหุ้นอาจจะทั้งหมดหรือบางส่วนออกไปก็ได้เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง (liquidity) ให้กับตัวเอง ถ้านักลงทุนหลายๆคนเป็นเจ้าของหุ้น พวกเขาเหล่านั้นหลายๆคนก็อาจจะอยากหาทางออกจากบริษัทด้วยการขายหุ้นออกไปเช่นกัน หรือแม้แต่เหตุผลที่กล่าวไปว่าหากบริษัทมีแนวโน้มที่จะขาดเงินสภาพคล่องหมุนเวียน การนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นเพื่อเพิ่มสภาพคล่องก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจด้วย และอีกเหตุผลนึงก็ผู้บริหารบางคนก็อาจจะแค่อยากได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของบริษัทมหาชนนั่นเอง

แม้ว่าการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นจะมีข้อดีหลายๆด้าน แต่หลายๆบริษัทที่มีการประเมินมูลค่าสูงๆของโลกที่เราคุ้นหูก็ยังอยู่นอกตลาดหุ้น เช่น Ferrari, Dropbox, SpaceX, SnapChat, Airbnb, Cargill, IKEA

ดูแล้วคนธรรมดาอย่างเราๆจะมีโอกาสได้ถือหุ้นในบริษัทเหล่านี้ก็คงเป็นไปได้ยากกว่าเดิม แต่คนเราต้องมีความหวัง ตลาดหุ้นบ้านเราช่วงนี้ก็แกว่งตัวในช่วงสั้นๆ รอปัจจัยต่างๆมาสนับสนุน มีหุ้นบางตัวที่ราคาต่ำลงมาจนน่าสนใจ ก็ค่อยๆทะยอยซื้อเก็บไว้รอวันฟ้าใสครับ

ลงทุนอย่างมีสติและสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของตลาดได้ในระยะยาวครับ

Reference:

https://www.economist.com/the-world-this-week/2019/09/28/business-this-week

https://www.economist.com/business/2019/09/28/would-weworks-implosion-pose-a-systemic-risk

https://www.investopedia.com/terms/i/ipo.asp

https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_largest_private_non-governmental_companies_by_revenue

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply