พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

ทำไมการใช้จ่ายของรัฐบาลถึงอาจจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้มีมูลค่ามากกว่าเงินที่จ่ายไปจริงๆ?

เมื่อวานนี้ก็มีการยกเลิกเคอฟิวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราๆท่านๆก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบ ‘new normal’ กันได้แล้ว ก็สุดแล้วแต่ว่าใครจะอยากใช้ชีวิตแบบไหน

อย่างไรก็ดี เนื่องจากผลกระทบจากโควิด 19 ที่ต้องมีการทิ้งระยะห่างทางสังคมหรือ ‘social distancing’ ในช่วง 2 เดือนกว่าๆที่ผ่านมานี้ก็มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอยู่ไม่น้อย ซึ่งก็มีการคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะหดตัวประมาณ 5-6%

การลงทุนในภาคเอกชนที่หดหายก็ทำให้หลายๆฝ่ายหันไปทางรัฐบาลเพิ่มที่ว่าจะมีโครงการของรัฐบาลมาช่วยพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ร่วงไปมากกว่านี้ การใช้จ่ายภาครัฐบาล หรือ ‘government spending’ นั้นก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถช่วยให้เศรษฐกิจยังหายใจต่อไปได้

การใช้จ่ายของรัฐบาลนั้นจะช่วยให้เศรษฐกิจชะลอการหดตัวหรือพยุงหรือแม้แต่กระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างไร?

การที่รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ (recession) ไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนนหนทางต่างๆ การสร้างรถไฟฟ้า การสร้างสะพาน หรือแม้แต่การแจกเงิน (แม้จะไม่ค่อยดีนักสำหรับวิธีนี้) ก็สามารถสร้างงานให้กับประชาชนได้ ประชาชนก็จะมีงานทำ แล้วเมื่อประชาชนมีงานทำ ก็จะมีรายได้

เมื่อประชาชนมีรายได้ก็จะเก็บส่วนนึง (หวังว่าจะไม่ใช้หมด) และใช้ส่วนนึง ซึ่งส่วนที่ใช้นี้ก็จะไปเพิ่มความต้องการในสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้นไปอีก และเมื่อมีความต้องการด้านสินค้าและบริการ ก็จะทำให้มีการจ้างงานและสร้างงานเพิ่มขึ้น วนไปแบบนี้และก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้นได้

แต่การใช้จ่ายได้ละรอบนั้นก็จะมีผลน้อยลงเรื่อยๆเนื่องจากแต่ละรอบของการใช้จ่ายนั้นก็จะมีคนเก็บออมเงิน และใช้จ่ายเงินในสัดส่วนที่ลดลง การกระตุ้นจากภาครัฐจึงมักจะได้ผลดีในระยะสั้นเท่านั้น (นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมแต่ละรัฐบาลถึงต้องพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ตัวเองเป็นรัฐบาลมากกว่าจะคอยวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว)

อย่างไรก็ดี มิลตัล ฟรายแมน (Milton Friedman) นักเศรษฐเศาสตร์ ได้แย้งว่าทฤษฎีผลกระทบจากการใช้จ่ายนี้มีข้อบกพร่องอยู่เช่นกัน ก็คือทฤษฎีนี้เพิกเฉยต่อการที่รัฐบาลจะหาเงินมาใช้จ่ายได้อย่างไร การเก็บภาษีเพิ่มหรือการออกตราสารหนี้นั้น

การเพิ่มอัตราภาษีนั้นก็ไม่ต่างกับการเอาเงินเก็บหรือมากกว่าออกจากระบบเศรษฐกิจเหมือนกัน การออกตราสารหนี้ก็จะทำให้รัฐบาลเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้นไปอีก ทีนี้ยิ่งพอรัฐบาลมีหนี้มากขึ้น ก็อาจจะยิ่งอยากจะเพิ่มอัตราภาษีมากเข้าไปอีก และก็ยิ่งจะทำให้เงินที่ต้องเอาไปใช้หนี้นั้นเกิดเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ซึ่งสุดท้ายก็จะทำให้มูลค่าของเงินมีค่าน้อยลงไปสำหรับรายได้ของแต่ละคน วนไปวนมาแบบนี้

และข้อบกพร่องที่ใหญ่ที่สุดก็คือการเพิกเฉยข้อเท็จจริงที่ว่าการออมและการลงทุนนั้นก็มีผลกระทบจากตัวคุณอย่าง ‘Multiplier Effect’* พอๆกับว่ารัฐบาลนั้นขาดทุนอยู่แค่ไหนนั่นแหละ ท้ายที่สุดแล้วก็อาจจะต้องเลือกว่าคุณไว้ใจประชาชนให้ใช้จ่ายเงินของตัวเองอย่างฉลาด หรือว่าคุณคิดว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจะทำหน้าที่นั้นได้ดีกว่ากัน

*Multiplier Effect นั้นสั้นๆก็คือการอ้างอิงถึงสัดส่วนที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการเพิ่มเงินหรือเอาเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ ก็คือที่เขียนไปตอนต้น ซึ่งตัวอย่างก็คือ สมมุติว่า multipler effect หรือผลกระทบจากตัวคูณเนี่ยคือ 1.4 นั่นแปลว่า เมื่อรัฐบาลอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบที่ 1 ล้านบาท จะส่งผลให้มูลค่ารวมของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมา 1.4 ล้านบาทนั่นเอง

หากใครชอบคำนวณ ก็จะมีสูตรให้คือ

Multiplier = การเปลี่ยนแปลงของรายได้ / การเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่าย

ซึ่งผลของ multiplier นี้ไม่ได้แปลว่ามาจากการใช้จ่ายของรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบริษัทและธุรกิจทั่วไปด้วย หากบริษัทลงทุน 10,000 บาท แล้วได้ผลตอบแทนกลับมา 20,000 บาท ก็แสดงว่าตัว multiplier นี้จะมีค่าเท่ากับ 20,000 / 10,000 = 2 บาท นั่นเองสำหรับทุกๆบาทที่ลงทุนไป

อ้างอิง:

https://www.investopedia.com/ask/answers/09/keynesian-multiplier.asp

https://www.investopedia.com/terms/m/multipliereffect.asp

Leave a Reply