พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Business

ทำไมเหล่าผู้บริหารถึงชอบออฟฟิส?

โทษส่วนผสมระหว่างห้องแอร์ พรม และความกังวลที่เป็นรูปเป็นร่าง

สำนักงาน หรือ ออฟฟิสนั้น มีจุดประสงค์เพื่อที่จะนำคนมารวมกัน แต่มันกลับกลายเป็นว่ามันเป็นที่มาของการแบ่งแยก สำหรับบางคนแล้ว การกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิสหลังจากโรคระบาดนี้เป็นโอกาสที่จะสร้างขอบเขตระหว่างบ้านและที่ทำงานอีกครั้งหนึ่ง และก็เพื่อที่จะเจอเพื่อนร่วมงานแบบตัวเป็นๆ

แต่สำหรับคนอื่นๆแล้วมันเป็นตัวแทนของการที่ต้องเดินทางระหว่างบ้านและที่ทำงานแบบไม่มีประโยชน์อะไรและเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพอีกด้วย มันมีส่วนผสมหลายๆส่วนที่จะกำหนดความชอบของเรื่องนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ ระดับความอาวุโส

Slack บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับข้อความ ได้จัดทำแบบสำรวจอยู่เป็นประจำเกี่ยวกับคนทำงานทั่วโลกถึงอนาคตของการทำงาน ผลสำรวจล่าสุดที่ออกมาเมื่อเดือนตุลาคมนั้นพบว่า เหล่าผู้บริหารนั้นมีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมากมากกว่าพนักงานที่จะกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิส

ในกลุ่มเหล่าท่านๆที่ทำงานจากที่บ้านนั้น 75% ต้องการที่จะกลับเข้าทำงานในออฟฟิสอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ มีเพียงแค่ 34% ของเหล่าพนักงานที่ไม่ใช่ผู้บริหารเท่านั้นที่รู้สึกอย่างเดียวกัน

การแบ่งแยกนี้สามารถมองเห็นได้โดยทั่วไปในบางบริษัท เมื่อต้นปีที่ผ่านมา พนักงานที่ Apple ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกให้กับ Time Cook หัวหน้าผู้บริหารของบริษัท โดยคัดค้านสมมุติฐานที่ว่าเหล่าพนักงานนั้นมีความกระหายที่อยากจะกลับไปที่โต๊ะทำงานของตัวเอง “มันรู้สึกราวกับว่ามันไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างทีมผู้บริหารว่าคิดอะไรอยู่เกี่ยวกับการทำงานแบบระยะไกลกับประสพการณ์ที่คงอยู่ของพนักงานของ Apple หลายๆคน” ทำไมเหล่าหัวๆทั้งหลายถึงกระตือรือร้นอยากจะกลับไปที่ออฟฟิสนัก?

มันทำให้นึกออกอยู่ 3 อย่าง การดูถูกเย้ยหยัน ความใจดี และจิตใต้สำนึก การดูถูกเย้ยหยันก็คือเหล่าผู้บริหารนั้นชอบสถานะที่ออฟฟิสนั้นมอบให้ พวกเขานั่งอยู่ในห้องที่สวยกว่า อยู่ชั้นที่สูงกว่า และก็พรมที่งามกว่า การเข้าถึงพวกเขานั้นมีการป้องกันที่ดูเหมือนจะสุภาพแต่ดุร้าย เมื่อพวกเขาเดินไปมาบนชั้นเหล่านั้น มันคือดั่งมีเหตุการณ์ เมื่อพวกเขานั่งในห้องประชุม พวกเขาก็จะได้เก้าอี้ที่ดีที่สุด บน Zoom นั้นมันส่งสัญญาณที่อ่อนกว่าถึงสถานะเหล่านี้ ไม่มีใครได้ช่องกรอบสี่เหลี่ยมที่ใหญ่กว่าใคร สิทธิพิเศษที่พวกเขาได้ใหญ่ที่สุดไม่ใช่การปิดเสียงของตัวเอง ซึ่งก็ไม่เหมือนอำนาจในการใช้ห้องกินข้าวของผู้บริหารเองที่ออฟฟิส

ส่วนคำอธิบายที่ใจดีขึ้นมาหน่อยก็คือว่า เหล่าผู้บริหารนั้นมีเชื่อว่าการพบปะแลกเปลี่ยนแบบตัวเป็นๆซึ่งกันและกันนั้นดีต่อสถานบันที่พวกเขาเป็นผู้นำอยู่ การทำงานที่บ้านนั้น “ไม่ค่อยเป็นผลเท่าไหร่สำหรับคนที่กระฉับกระเฉง ไม่ค่อยเป็นผลต่อวัฒนธรรมองค์กร และไม่ค่อยเป็นผลสำหรับการสร้างความคิดใหม่ๆ” ซึ่งเป็นคำตัดสินจาก Jamie Dimon หัวหน้าผู้บริหารของ JPMorgan Chase ที่พูดไว้เมื่อต้นปี

Ken Griffin เจ้านายแห่ง Citadel กองทุนประเภทเฮดจ์ฟัน ได้เตือนเหล่าหนุ่มสาวว่าอย่าทำงานจากที่บ้าน “มันเป็นการยากมากที่จะมีประสพการณ์การบริหารและมนุษยสัมพันธ์ที่คุณจำเป็นต้องมีเพื่อที่จะนำพาหน้าที่การงานคุณไปข้างหน้าในสภาพแวดล้อมที่ทำงานจากระยะไกลแบบนี้”

ความกังวลเหล่านี้ก็มีใจความสำคัญของมันอยู่ การทำงานเสมือนนั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้ความคิดแบบไซโลหรือแยกกันอยู่นั้นแข็งขึ้น คนส่วนใหญ่ก็มักจะใช้เวลากับเพื่อนร่วมงานที่รู้จักกันอยู่แล้ว วัฒนธรรมองค์กรนั้นสามารถถูกดูดซึมได้ง่ายกว่าในสามมิติ ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งนั้นยากที่จะเกิดขึ้นผ่านทางการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตที่ติดๆขัดๆ

จากการศึกษาในปี 2010 นั้นพบว่าระยะห่างระหว่างผู้เขียนนั้นเป็นตัวทำนายที่ดีถึงผลกระทบของรายงานทางวิทยาศาสตร์นั้น ยิ่งระยะห่างระหว่างพวกเขามีมากขึ้น ยิ่งมีโอกาสน้อยที่พวกเขาจะได้รับการอ้างอิง แม้ว่าเหล่าผู้ที่ชื่นชอบและเผยแพร่การทำงานจากระยะไกลนั้นจะหาเวลามาเจอกันแบบตัวเป็นๆก็ตาม “การที่พบกันทางดิจิตอลก่อนไม่ได้แปลว่าจะไม่พบกันแบบตัวเป็นๆเลย” กล่าวโดย Brian Elliott ผู้ที่ดูแลการวิจัยค้นคว้าของ Slack เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน

แต่ข้อได้เปรียบของการทำงานที่ออฟฟิสนั้นก็อาจจะให้ค่ามากเกินไปเช่นกัน Allen curve ซึ่งแสดงถึงว่าความถี่ในการสื่อสารนั้นจะลดลงยิ่งเพื่อนร่วมงานนั่งห่างกัน ซึ่งเส้นโค้งนี้เกิดขึ้นเมื่อทศวรรษที่ 1970 แต่ก็ยังเป็นจริงอยู่ในวันนี้ ทุกๆออฟฟิสนั้นจะมีมุมที่คนไม่เคยจะไปเหยียบเลย ไม่มีช่องว่างไหนจะมากยิ่งกว่ายิ่งอยู่ออฟฟิสคนละชั้น และข้อด้อยของการทำงานระยะไกลนั้นก็สามารถเอาชนะได้ด้วยความคิดนิดหน่อย

จากผลการค้นคว้าของศาสตราจารย์สามคนจาก Harvard Business School นั้นพบว่าพนักงานฝึกงานในช่วงยุคล็อคดาวน์นี้ที่มีโอกาสที่จะใช้เวลากับผู้จัดการอาวุโสใน “การพบปะเสมือน” นั้นมีโอกาสมากกว่าที่จะได้รับข้อเสนอให้เข้าทำงานแบบประจำมากกว่าคนที่ไม่ได้พบปะด้วยซ้ำ

หากสถานที่ทำงานจริงๆนั้นมีข้อเสีย และการทำงานจากระยะไกลนั้นสามารถทำให้ดีขึ้นได้ ทำไมเหล่าผู้บริหารถึงมีความชัดเจนนักที่อยากจะกลับเข้าออฟฟิส? เขาบอกว่าจิตใต้สำนึกนั้นบ่งบอกถึงคำอธิบายข้อที่สาม อย่างที่ Gianpiero Petriglieri แห่ง INSEAD สำนักธุรกิจที่ฝรั่งเศสนั้นสังเกตว่า “เหล่าคนที่แนะนำหนุ่มสาวให้ไปทำงานที่ออฟฟิสนั้นก็เพราะพวกเขานั้นก้าวหน้าเติบโตขึ้นมาได้จากสภาพแวดล้อมแบบนั้น” เหล่าผู้บริหารที่ประสพความสำเร็จก็เพราะด้วยการทำงานที่ออฟฟิสและก็จะเป็นกลุ่มที่จะตั้งคำถามน้อยที่สุดถึงประสิทธิภาพของมัน

นั่นมันก็เป็นปัญหา โดยเฉพาะเมื่อเหล่าผู้บริหารส่วนใหญ่นั้นบอกว่าพวกเขาได้ออกแบบนโยบายกลับเข้าสู่ออฟฟิสโดยที่ไม่ค่อยได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้จากเหล่าพนักงานนัก อนาคตการทำงานแบบไฮบริดนี้กวักมือเรียกแล้วว่าเหล่าพนักงานแบ่งแยกและบริหารเวลาระหว่างบ้านและที่ทำงาน เหล่าผู้จัดการต้องพัฒนาภายใต้สภาพแวดล้อมทั้งสองแบบ ไม่ใช่นึกเอาเองว่าอันนึงนั้นชัดเจนแล้วว่าดีกว่าอีกอันนึง

อ้างอิง:

Why executives like the office | The Economist

Leave a Reply