ความเชื่อที่ติดอยู่แบบเดิมมากเกินไปก็เป็นอุปสรรคอย่างนึง
มันเป็นเวลาช่วง กลางทศวรรษ 1990 และคณะเศรษฐศาสตร์ ณ โรงเรียนธุรกิจชั้นนำกำลังประชุมกันอยู่ ผู้ที่มารวมตัวกันในครั้งนี้มีอารมณ์งุ่นง่านระคายเคืองอย่างมาก มีหลายคนรู้สึกไม่พอใจที่สาขาวิชาธุรกิจอย่างการตลาด (Marketing) และโครงสร้างพฤติกรรมในองค์กร (Organisational Behaviour) นั้นได้รับความนิมยมมากกว่า ทั้งๆที่เห็นว่าสาขาวิชาเหล่านั้นขาดความเข้มงวด จึงทำให้รู้สึกว่าความเคารพต่อเศรษฐศาสตร์ควรมีมากขึ้นกว่านี้ อาจารย์คนหนึ่งแทบไม่จะไม่สามารถควบคุมการพูดจาเชิงดูถูกได้ว่าใครก็ตามที่มีปริญญาเอกดีๆ ในสาขาเศรษฐศาสตร์นั้นจะสามารถสอนในภาควิชาอื่นๆในโรงเรียนนี้ได้อย่างสบายๆ
มันก้อชวนให้ดูเหมือนว่าเรื่องราวนี้อาจมองได้ว่านี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความหัวสูงก้าวร้าวของนักเศรษฐศาสตร์ และส่วนนึงมันก็เป็นเรื่องจริง ความเป็นจักรวรรดินิยมของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มักจะมีแนวโน้มที่จะอาศัยอำนาจในการยึดครองพื้นที่ของวิชาใกล้เคียงเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นปัญหาติดหนึบของนักวิทยาศาสตร์ทางสังคม อย่างไรก็ตาม อาจารย์คนนี้ก็มีประเด็ความถูกต้องอยู่เหมือนกัน
ในยุคทศวรรษที่ 1990 เศรษฐศาสตร์สามารถกล่างอ้างได้ว่าตัวเองกำลังเคลื่อนไปในทิศทางของวิทยาศาสตร์ในเชิงเป็นศูนย์รวมของธุรกิจได้อย่างน่าเชื่อถือ โครงข่ายทฤษฎีที่สมเหตุสมผลเป็นจริงเกี่ยวกับองค์กรก็เป็นไปได้ แต่ทว่า เมื่อเวลาผ่านไป 3 ทศวรรษ ในท้ายที่สุดก็ไม่มีความคืบหน้าเลย เศรษฐศาสตร์ยังคงมีแบบจำลองที่ยืดหยุ่นเกี่ยวกับการแข่งขันและตลาด แต่อำนาจของมันยังคงมีความจำกัดเมื่อเคลื่อนเข้าไปด้านในของโรงงานหรืออาคารสำนักงาน
มันก็น่าจะตั้งคำถามได้ว่าเพราะอะไร เศรษฐศาสตร์คือ – หรืออย่างน้อยก็ควรจะเป็น – เรื่องเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ในจำนวนที่จำกัด ในทฤษฎีนีโอคลาสสิก ตลาดจะมีบทบาทสำคัญ ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, แรงงานและทุน) และอุปทานและอุปสงค์ของสินค้าและบริการจะเคลื่อนไปตามสัญญาณราคาจากการแลกเปลี่ยนในตลาด ทรัพยากรจะถูกใช้ไปในที่ที่มีกำไรมากที่สุด
แต่นั่นก็เป็นเพียงทฤษฎี ซึ่งมีข้อบกพร่องอยู่อย่างหนึ่ง ดังที่ Ronald Coase นักเศรษฐศาสตร์ ได้ชี้แจงw;hในบทความในปี 1937 ว่าการจัดสรรทรัพยากรในเศรษฐกิจส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เกิดขึ้นในตลาด แต่เกิดขึ้นภายในบริษัทเอง ผู้ที่กำหนดและเป็นผู้ที่เคลื่อนไหวหลักก็คือเหล่าพนักงาน พวกเขาได้รับคำสั่งจากการบริหารไม่ใช่จากสัญญาณราคาจากตลาด ทฤษฎีที่ว่าบริษัทนั้นเป็นผู้แสวงหากำไรสูงสุดนั้นเป็นการขัดแย้งกับความเป็นจริง พวกเขาดำเนินกิจการในเงื่อนไขที่ทำเป็นไม่รู้เรื่องและมีข้อผิดพลาด โน้ตจาก Herbert Simon ผู้บุกเบิกด้าน AI และวิทยาศาสตร์การตัดสินใจ ไม่มีธุรกิจไหนสามารถที่จะดำเนินการกับข้อมูลที่จำเป็นได้ทุกอย่างเพื่อที่จะมีกำไรสูงที่สุดได้ แต่ตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขจาก “การมีความสมเหตุสมผลอย่างถูกต้อง” ก็คือทำการตัดสินใจให้ได้ผลที่น่าพอใจมากกว่าผลที่ดีที่สุด (optimal)
มันเป็นเวลาหลายปีแล้วที่เศรษฐศาสตร์ไม่ได้มีความคืบหน้ามากกว่าเส้นที่ Coase และ Simon เคยขีดไว้ ตามที่ช่วงปลาย 1972 Coase ได้บ่นว่าบทความของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของบริษัทนั้น “ได้รับการกล่าวอ้างถึงมากแต่กลับไม่ได้ค่อยได้นำไปใช้กัน” แต่เมื่อพอ Coase บ่นถึงความขาดหายไปของบริบทดังกล่าว ก็มีการวิจัยที่มีความเข้มงวดเกี่ยวกับบริษัทเริ่มเกิดขึ้น และกลายเป็นเพิ่มขึ้นตลอด 20 ปีต่อมา
หลักการสำคัญของการวิจัยนี้คือแนวคิดของบริษัทเป็นผู้ประสานงานในการผลิต โดยที่การมีส่วนร่วมของแต่ละสมาชิกในทีมไม่สามารถแยกจากกันได้ ผลผลิตของทีมต้องการลำดับชั้นเพื่อมอบหมายงานออกไป ตรวจสอบความพยายามและพยายามให้รางวัลผู้คนตามนั้น ซึ่งสิ่งนี้จำเป็นต้องใช้รูปแบบที่แตกต่างออกไป ในแง่ของการซื้อขายในตลาด สินค้าจะถูกแลกเปลี่ยนด้วยเงิน การซื้อขายจะเสร็จสิ้นและมีขอบเขตในการขัดแย้งน้อย แต่เนื่องจากการตัดสินใจของบริษัทจะต้องมีข้อจำกัดในการคิดอย่างสมเหตุสมผล มันเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถระบุได้ล่วงหน้าว่าทุกสิ่งที่ต้องการจะได้รับจากแต่ละฝ่ายในทุกสถานการณ์ได้อย่างแน่นอน สัญญาของบริษัทกับพนักงานจึง “ไม่สมบูรณ์” เพราะไม่สามารถกำหนดได้ล่วงหน้าได้ว่าจะต้องทำอะไรในกรณีไหนได้ทุกกรณี และต้องพึ่งพาความไว้วางใจซึ่งกันและกันและบางครั้งอาจต้องเสี่ยงโดยคิดว่าจะไม่เกิดความขัดแย้งที่มีความเสียหายต่อทุกฝ่าย
และในเมื่อมีการมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ มันก็จะมีปัญหาเรื่องแรงจูงใจ – วิธีที่จะกระตุ้นให้พนักงานกระทำการเพื่อผลประโยชน์ขององค์กร เป็นผู้เล่นในทีม ไม่ใช่แค่จะทำแต่สิ่งที่ตัวเองได้ประโยชน์เท่านั้น ซึ่งแนวคิดนี้ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่าเป็นปัญหา principal-agent หรือก็ง่ายๆคือปัญหาลูกจ้างนายจ้าง ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของทฤษฎีในช่วงนี้
แน่นอนว่าแรงจูงใจนั้นสำคัญแต่บ่อยๆครั้งแล้วจะเห็นว่าการจ่ายเงินเดือนแบบคงที่และไม่ผูกกับผลงานอย่างหนึ่งอย่างใด อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร ตัวอย่างเช่นในกรณีของครู ถ้าผลของการสอจากการสอนนั้นผูกเข้ากับการจ่ายเงินเดือน พวกเขาจะ “สอนตามข้อสอบ” แทนที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนคิดอย่างอิสระ
การวิจัยในเชิงนี้ได้ทำให้ Oliver Williamson, Oliver Hart และ Bengt Holmstrom ได้รับรางวัลโนเบลสำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์ (Nobel Prize in Economics Coase ได้รับรางวัลนี้ในปี 1991 และ Simon ในปี 1978) ผลงานของพวกเขาอธิบายเป็นบางส่วนว่าทำไมในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 อาจารย์มหาวิทยาลัยธุรกิจคนนั้นถึงมั่นใจเชื่อว่าสาขาเศรษฐศาสตร์ควรเป็นผู้ควบคุมการศึกษาทางธุรกิจ หนังสือขายดีของ Michael Porter นักเศรษฐศาสตร์ผู้กลายเป็น กูรู ทางธุรกิจ ได้ส่งเสริมความมั่นใจมุมมองนั้นขึ้นไปอีก รวมถึงความตื่นเต้นเกี่ยวกับศักยภาพของทฤษฎีเกม (Game Theory) ในกลยุทธ์ธุรกิจ แต่ทว่าในปัจจุบัน หากองค์กรใดได้จ้างหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ พวกเขาจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเติบโตของ GDP หรือนโยบายของธนาคารกลางเท่านั้น แต่ไม่ได้เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจ
มันมีเหตุผลสำหรับเรื่องนี้อยู่ หนึ่งในนั้นคือชื่อเสียงในวงการวิชาการ เศรษฐศาสตร์ชอบเห็นตนเองเป็นสาขาวิชาที่เป็นพื้นฐานเช่นกับฟิสิกส์ ไม่ใช่วิชาที่เป็นแนวปฏิบัติอย่างเช่นกับวิศวกรรม แต่ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่ทำให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรืองได้นั้นมันไม่สามารถจับต้องเป็นทฤษฎีที่ถูกต้องได้ด้วยสมการเพียงไม่กี่สมการ บ่อยครั้งมันเป็นเรื่องของวิธีการกระจายความคิด ข้อมูล และการตัดสินใจภายในองค์กร และเงินเดือนก็ไม่ใช่แรงจูงใจเดียว ธุรกิจที่เจริญรุ่งเรืองอย่างแข็งแรงจะถูกกำหนดโดยค่านิยมที่ร่วมกันและการมีความเข้าใจในวิธีคิดร่วมกันในการทำสิ่งต่างๆในแนวทางที่ถูกต้อง – ก็คือโดยวัฒนธรรมขององค์กร ผู้คนนั้นมีความภูมิใจในงานและสถานที่ทำงานของพวกเขา นี่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นธรรมชาติสำหรับนักเศรษฐศาสตร์
นอกจากนี้เศรษฐศาสตร์ยังไม่รู้สึกสบายใจกับความเป็นเฉพาะตัวของปัญหาธุรกิจเพียงพอ การแก้ปัญหานั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกำหนดแรงจูงใจของสิ่งต่างๆให้เหมาะสมแค่นั้น แต่มันต้องการความรู้ที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการ และคู่แข่ง รวมถึงจิตวิทยาทางสังคมและแนวโน้มทางการเมืองด้วย เศรษฐศาสตร์ไม่เคยเพียงพอต่อสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญหาธุรกิจในปัจจุบัน มีอิทธิพลหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อทางธุรกิจที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของเศรษฐศาสตร์ เช่นว่าบริษัทเทคโนโลยีไหนจะชนะการแข่งขันสุดท้ายในการแข่งขันด้าน AI นี้
มันมีไอเดียในสาขาเศรษฐศาสตร์บางอย่างที่บริษัทและธุรกิจมักจะเพิกเฉย ถ้ากลยุทธ์ของบริษัทนั้นสามารถลอกเลียนแบบกันได้อย่างอิสระแล้ว มันก็คาดหวังได้ว่ากำไรจากการแข่งขันในธุรกินนั้นก็จะหายไปอย่างรวดเร็วด้วย การวางกลยุทธ์ของบริษัทที่ดีจึงจำเป็นต้องมีสิ่งที่เหนือกว่า แต่ที่เหนือกว่าและเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัทนั้นไม่ได้อยู่ในขอบเขตของเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียวว่าอะไรทำให้บริษัทนั้นประสพความสำเร็จได้ การศึกษาด้านธุรกิจยังคงเป็นด่านหน้าของอาณาจักรธุรกิจ ซึ่งตอนนี้ก็ดูเหมือนว่ามันไม่มีโอกาสที่จะครอบครองด่านดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์แบบเลย
อ้างอิง:
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.