พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% นี่แปลว่าอะไร?

ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมานี้ ปู่เรย์ ดาลิโอ ค่อนข้างจะขยันมากในการปล่อยบทความและส่วนหนึ่งจากหนังสือ The Changing World Order ที่มาจากความเห็นและการคิดวิเคราะห์ของแกและทีมในบริษัท Bridgewater ของแกเอง

ย้อนไปเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2020 เกือบสามเดือนที่แล้ว ปู่เรย์ได้เขียนอธิบายถึง “The Implications of Hitting the Hard 0% Interest Rate Floor” หรือประมาณว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% แล้วเนี่ย มันน่าจะมีนัยสำคัญอะไรบ้าง ดังนั้นแล้วในเมื่อแกขยันออกของมา เราก็คงต้องขยันไปตามอ่านกันเหมือนกัน

ส่วนที่ 1

เริ่มต้นปู่แกก็ออกตัวไว้ก่อนว่า แกรู้ว่าสิ่งที่แกไม่รู้นั้นมีมากกว่าสิ่งที่แกรู้ และปู่แกก็จะบอกเรากับสิ่งที่แกคิดให้เราคิดต่อกันเอาเอง

เรย์ ดาลิโอ นั้นค่อนข้างจะกังวัลในระยะหลังๆว่าเศรษฐกิจถดถอยนั้นจะมาเมื่อไหร่และมันก็จะนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยที่ 0% เนื่องมากจากระดับหนี้และช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนรวมไปถึงช่องว่างทางการเมืองว่าคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 1930

ไวรัสโคโรน่าก็เป็นอะไรที่น่าประหลาดใจที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยนี้ อย่างไรก็ดี แค่ไวรัสนี้ไม่ได้ทำให้ เรย์ ดาลิโอ เป็นกังวล อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่เป็น 0% นี่ต่างหากที่ทำให้เขากังวล

การที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวนั้นเป็น 0% หรือใกล้ 0% จะส่งผลให้มูลค่าสินทรัพย์ทุกอย่างนั้นลดลง และยังทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศหมดเครื่องมือทางการเงินที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยลงไปอีก การพิมพ์เงินออกมาด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อพยุงระดับราคาสินทรัพย์ไว้ มันก็จะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป (เพราะราคาพันธบัตรก็จะไม่สามารถผลักให้สูงขึ้นได้กว่านี้และก็มักจะมีคนซื้อน้อยลงเพราะคนซื้ออาจจะมีปัญหาทางการเงินอยู่ด้วย)

ระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (หักเงินเฟ้อออก) ก็มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น เพราะจะมีการหดตัวของเงินเฟ้อ และมีเงินฝืดเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าทั่วไป (commodity prices) ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ และปัญหาเครดิตที่หดตัวหรือลดระดับต่ำลง หากสิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นเหมือนที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต วงเงินเครดิตก็จะมีน้อยลง ซึ่งก็ยิ่งส่งผลให้การหดตัวของเครดิตเพิ่มมากขึ้นไปอีก

ส่วนที่ 2

ความต้องการการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมากด้วยมาตราการทางด้านการคลังที่มาจากความร่วมมือทางมาตราการทางด้านการเงิน และความเสี่ยงต่ำ ยังไม่เกิดขึ้น (ในตอนนั้น ส่วนตอนนี้มีหลายประเทศออกนโยบาย เช่น เงินช่วยเหลือ ลดภาษี และอื่นๆ ออกมาบ้างแล้ว)

ความเสี่ยงอย่างใหญ่หลวงอย่างนึงนั้นมาจากโอกาสที่ผู้ที่ได้รับการรับเลือกให้ควบคุมนโยบายทางการคลังนั้นจะจัดการนโยบายได้ไม่ดี เนื่องมาจากที่ว่ามันเป็นการยากนักที่จะจัดการกับมันในช่วงวิกฤตใหญ่ๆแบบนี้ แถมยังต้องกล้าทำอย่างชัดเจนแม้ว่าการเมืองจะยังไม่มีการแตกแยกกันก็ตาม เพราะถ้าการเมืองนั้นมีความแตกแยก ก็ยิ่งจะเป็นไปได้ยากที่จะทำหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย

แม้ว่าจะมีมาตราการทางการคลังที่กระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆออกมา แต่มันก็ไม่ใหญ่พอ หรือ ยังไม่ตรงเป้านักที่จะกู้เอากลับมาจากผลกระทบทางตลาดและทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากไวรัส และมาตราการบางอย่างก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อย่างไรก็ดีมันก็มีสัญญาณบางอย่างที่ว่า นโยบายสำคัญๆจะออกมา อย่างไรก็ดี เราก็ต้องคอยดูว่ามันจะส่งผลที่ดีได้มั้ย เนื่องมาจากสถานการณ์ที่ค่อนข้างจำกัดอย่างที่อธิบายไปก่อนหน้านี้

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในประเทศยุโรป ในประเทศจีน และประเทศอื่นๆต่างก็มีมาตราการออกมาเพื่อจะควบคุม รักษา และป้องกันการกระจายของไวรัสโคโรน่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ การลดภาษีรายได้สำหรับบางอุตสาหกรรม เช่น การขนส่ง โรงแรม การส่งออก การรักษาพยาบาล การลดภาษีสำหรับบริษัทที่รายได้ลดลงมากๆ การลดอัตราดอกเบี้ย การลดดอกเบี้ยเงินกู้ การเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง การเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน การพักชำระหนี้หรือผ่อนผันการชำระหนี้สำหรับบริษัทขนาดกลางและเล็ก และสิ่งอื่นต่างๆ ซึ่งบางอย่างก็ไม่ได้ตรงเป้าหมายที่จะแก้ปัญหานัก แต่การนำเงินช่วยเหลือไปสู่ผู้ที่ต้องการเงินนั้นมากที่สุด หรือที่ๆจำเป็นและตรงประเด็นที่สุดก็ยังจะเป็นการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดอยู่

โดยสรุปแล้ว ปู่เรย์เชื่อว่า 1. การที่อัตราดอกเบี้ยติดพื้นที่ 0% และมาตราการจากธนาคารกลางที่อาจจะยังไม่มีประสิทธิภาพนั้นต้องการการกระตุ้นทางการคลังที่มากกว่านี้มาก และยังต้องกระตุ้นในจุดที่ได้รับความเจ็บปวดมากที่สุดด้วย โดยที่ธนาคารกลางนั้นต้องพยายามทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำไว้และพยายามให้มีสภาพคล่องในระบบสูงๆ

2. เท่าที่ผ่านมานั้นขนาดของการช่วยเหลือทางการเงิน การเลือกจุดที่จะช่วยเหลือ ความร่วมมือระหว่างกันนั้นค่อนข้างจะแตกต่างกันมากในแต่ละประเทศ (ณ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา)

3. ในช่วงกลางเดือนมีนาคมนั้นมีสัญญาณจากผู้กำหนดนโยบายทั้งการคลังและการเงินที่จะพยายามออก “นโยบายอะไรก็ได้ที่จำเป็น”

4. ช่องว่างทางการเมืองและระหว่างความมั่งคั่งจะทดสอบความสามารถทั้งทางสังคมและทางการเมืองที่จะช่วยเหลือและร่วมมือระหว่างกัน แทนที่จะค่อยทำร้ายกันในการจัดการปัญหาต่างๆเหล่านี้

อ้างอิง:

https://www.linkedin.com/pulse/implications-hitting-hard-0-interest-rate-floor-ray-dalio/?published=t

Leave a Reply