เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ปู่เรย์ ดาลิโอ ก็ได้ออกมาเขียนบทความแสดงถึงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ เราก็ไปหาอ่านกันเช่นเคย
ภาพจาก Ray Dalio Linkedin
ผม (ปู่เรย์) ถูกถามว่าคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการโต้เถียงถึงเพดานหนี้ที่ถกกันอยู่ในตอนนี้ เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ ผมขออธิบายก่อนว่าผมคิดว่าอะไรน่าจะเกิดขึ้น และจะอธิบายต่อไปว่าทำไมถึงคิดเช่นนี้ ซึ่งจะทำให้คุณได้เห็นถึงที่มาของคำอธิบายของผมว่าผมคิดว่าควรทำอะไร
สิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าจะเกิดขึ้น
ผมคิดว่าสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุดคือทั้งสองฝั่งจะไม่ยอมให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ (default) ขึ้น (หรือแม้ว่าพวกเขาจะยอมให้มันเกิดขึ้น มันก็น่าจะไม่นาน) และพวกเขาก็จะไม่จัดการกับประเด็นใหญ่ๆในลักษณะที่เป็นเรื่องเป็นราวนัก พวกเขาน่าจะปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆในลักษณะที่มันจะไม่กระทบกับอะไรมากและให้อะไรมันออกมาดูดีกว่าที่มันเป็น (นั่นก็คือ พวกเขาจะบอกว่าพวกเขาจะลดการขาดดุลในหลายปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อเวลามาถึง มันก็จะไม่ลดการขาดดุลอยู่ดี) ผมก็จะไม่ทำอย่างนั้น
ทำไมผมถึงคิดอย่างนี้
อย่างที่คุณทราบ ผมเป็นนักลงทุนระดับมหภาค (macro) จากแรงผลักดันใหญ่ๆ 5 อย่าง 1) แรงผลักด้าน เงิน/เครดิต/และแรงผลักจากเศรษฐกิจ 2) แรงผลักทางด้านการเมืองภายในประเทศ 3) แรงผลักดันทางภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ 4) แรงผลักจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ 5) แรงผลักจากการเรียนรู้และเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์ผูกกันอย่างที่เลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะแรงผลักจาก เงิน/เครดิต/เศรษฐกิจ และ การเมือง เมื่อกล่าวถึงประเด็นเพดานหนี้ (debt ceiling) ในสหรัฐอเมริกา และจากเหตุผลเหล่านี้ ในการตอบคำถามนี้ ผมจะเริ่มต้นจากประเด็นทางการเมืองเพราะผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ข่มขู่ใหญ่ที่สุดต่อการตัดสินใจที่ดี
อย่างที่ผมมองเห็นภาพ ทุกวันนี้จะมีคนทางการเมืองอยู่ 3 “ประเภท”: ประเภทเอียงขวาจัด, ประเภทเอียงซ้ายจัด, และคนที่อยู่ระหว่างทั้งสองประเภท การศึกษาประวัติศาสตร์ของผมนั้นแสดงให้เห็นว่านี่คือลักษณะที่ฝ่ายต่างๆได้สนับสนุนกันมาตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามกลางเมืองในเฟสของ Big Cycle ที่เรากำลังอยู่ในตอนนี้ ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็จะเป็นหนึ่งในประเภทเหล่านี้และคนก็จะมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะถูกบังคับให้เลือกข้างและต่อสู้หรือเก็บซ่อนมันไว้แล้วก้ออยู่อย่างเงียบๆ ลองคิดกันดู หากโดนบังคับให้เลือกข้างแล้วต่อสู้เพื่อข้างของตัวเอง ซึ่งมันก็จะเป็นอย่างนั้น คุณจะสู้หรือคุณจะซ่อน?
ผมเป็นประเภทแบบทั้งสองฟากที่จะไม่ซ่อน ผมเป็นประเภททั้งสองฟากระดับนึง (bipartisan) เนื่องจากผมเชื่ออย่างมากว่าไม่ว่าจะฟากไหนหรือทั้งสองฟากที่เอียงจัดนั้น (ขวาจัด หรือ ซ้ายจัด) ที่จะพยายามจารึกมุมมองของตัวเองให้กับประเภทอื่นๆนั้นจะไม่สามารถไปต่อได้ — มันจะยิ่งทำให้เกิดข้อขัดแย้งหนักขึ้น ซึ่งก็จะนำไปสู่สงครามกลางเมืองซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนว่าใครจะมีอำนาจว่าควรจะทำอะไร และคำว่า “สงครามกลางเมือง” ผมไม่ได้หมายความว่ามันจำเป็นจะต้องมีความขัดแย้งที่ก่อความรุนแรง แม้ว่าหลายๆคนจะมีปืนที่พร้อมจะต่อสู้เพื่อปกป้องชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าจะเป็นภัยต่อการสูญเสียให้กับอีกฟากก็ตาม ความเสี่ยงต่อความขัดแย้งที่ก่อความรุนแรงนั้นก็ไม่ได้เป็นศูนย์ ผมคิดว่าสงครามการเมืองดังกล่าวจะแบ่งแยกมุมมองระหว่างรัฐสีแดงกับรัฐสีน้ำเงินมากกว่า ระหว่างรัฐบาลกลาง (federal government) และรัฐบาลท้องถิ่น (state government) และระหว่างผู้มีอันจะกิน (haves) และผู้ไม่มีอันจะกิน (have-nots) โดยเฉพาะรัฐสีน้ำเงินที่ซึ่งช่องว่างระหว่างความร่ำรวยนั้นมีมาก การเงินนั้นแย่ และปัญหาสังคมอย่างเช่นยาเสพติด ความป่ายทางจิต และอาชญากรรมนั้นแย่ที่สุด และในกรณีใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ระหว่างสองฟากนั้นจำเป็นต้องมีเพื่อให้เรากลับไปสู่เส้นทางที่ถูกต้องทั้งทางด้าน การเงิน เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้
เนื่องจากผมเชื่อในประเด็นเหล่านี้ว่ามันเป็นจริง และเนื่องจากความเชี่ยวชาญของผมอยู่ในด้านการเงินและเศรษฐกิจ ผมจึงเชื่อว่า:
- การเพิ่มขึ้นของเพดานหนี้ในลักษณะที่สภาคองเกรสและประธานาธิบดีต่างๆได้ทำมาซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้น และครั้งนี้ก็น่าจะทำแบบเดิมเช่นกัน มันจะหมายถึงความมันจะไม่มีเพดานหนี้ที่มีความหมายอะไรมากนัก ซึ่งก็จะนำไปสู่ความหายนะของการล่มลงของการเงิน เพราะอะไร? เพราะว่าการใช้จ่ายมากกว่ารายได้และใช้การออกตราสารหนี้เพื่อสนับสนุนการใช้จ่าย อย่างที่เราก็ได้ทำกันมายาวนั้น นั้นมันง่าย เป็นที่พอใจ และไม่ยั่งยืน มันไม่ยั่งยืนเนื่องจากว่าการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้เร็วกว่ารายได้นั้น สุดท้ายแล้วมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ก็คือปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว) ให้กับผู้ให้กู้-เจ้าของหนี้ เพียงพอที่จะทำให้พวกเขายอมถือสินทรัพย์หนี้ดังกล่าวและอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต้องไม่สูงเกินไปสำหรับ ผู้กู้-ลูกหนี้ อีกด้วยที่จะสามารถหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยนั้นได้ เมื่อสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้ขึ้นไปถึงจุดที่จำนวนหนี้ที่นำออกขายนั้นมีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ผู้ซื้ออยากจะซื้อ ธนาคารกลางก็จะถูกบังคับให้เจอทางเลือกก็คือ พวกเขาต้องปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นเพื่อที่จะทำให้อุปสงค์และอุปทานเกิดความสมดุล ก็คือเป็นการบดบี้ทั้งลูกหนี้และเศรษฐกิจ หรือพวกเขาก็ต้องพิมพ์เงินออกมาเพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์หนี้นั้นเอง ซึ่งก็จะทำให้ส่งผลต่อความเฟ้อของเงินและหนุนให้ผู้ถือตราสารหนี้นั้นทำหนี้ออกมาขายก็จะยิ่งทำให้สมดุลของหนี้ดังกล่าวยิ่งแย่ลงไปอีก ไม่ว่าจะกรณีไหนก็ตามจะก่อให้เกิดวิกฤติหนี้ที่ส่งผลให้คนวิ่งไปถอนเงินออกจากธนาคารอย่างที่เรากำลังเห็นอยู่ พร้อมๆไปกับการขายตราสารหนี้รัฐบาลควบคู่ไปกับการถอนเงินโดยธนาคารออกจากธนาคารกลางอีกด้วย อย่างที่ได้อธิบายไปอย่างละเอียดในบทที่ 3 และ ในหนังสือของผม Principles for Dealing with the Changing World Order นั่นคือวิธีการที่สกุลเงินสำรองและวงจรหนี้ใหญ่ได้จบลง จากที่ผมเห็น ซึ่งผมจะกล่าวถึงในอีกโพสต์ เรากำลังเคลื่อนเข้าสู่จุดสำคัญก็คือจุดที่จำนวนหนี้ที่ขายโดยรัฐบาลกำลังจะมีมากกว่าความต้องการหนี้นั้น ซึ่งก็จะนำไปสู่การที่รัฐบาลกลางต้องพิมพ์เงินออกมาและเข้าซื้อพันธบัตรและการออกขายพันธบัตรรัฐบาลที่จะทำให้ธนาคารกลางจะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างที่ผมอธิบายไป และในขณะเดียวกัน
- การไม่เพิ่มระดับเพดานหนี้จะนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้และการตัดค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำหรับคนที่ไม่สามารถจะตัดได้ซึ่งจะนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเงินและความไม่สงบในสังคม
สิ่งที่ผมเชื่อว่าควรจะกระทำ
ผมเชื่อว่าเราจำเป็นต้องมีแผนร่วมกันระหว่างสองฟากที่ฉลาดที่ไม่เพียงแค่จะจัดการกับงบประมาณที่ขาดดุลแต่ต้องจัดการกับทุกประเด็นของประเทศในด้านการเงิน เศรษฐกิจและหนี้ระดับประเทศ ผมคิดว่าระบบต้องมีการถูกปฏิรูป
และด้วยเหตุผลเหล่านี้ ผมเชื่อว่าการที่จะพยายามแก้ไขประเด็นนี้จากการประชุมเพียงไม่กี่คร้้งและการเร่งหาคำตอบ อย่างที่ทำกันมาก่อนหน้านี้ 78 ครั้ง ก็จะไม่แก้ไขปัญหาพื้นฐานของเรา และจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แย่ในท้ายที่สุดแล้ว ผมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงโดยโครงสร้างที่มากขึ้นนั้นจำเป็น ผมเชื่อว่าหนึ่งในการกระทำประเภทที่ชั่วคราว รวดเร็ว และที่เลื่อนมาตลอด ในการทำงานตอนนี้ควรจะเกิดขึ้น แต่มันควรจะควบคู่ไปกับแผนที่ฉลาดระหว่างสองฟากที่ต้องใช้เวลาเพียงพอที่จะพัฒนามันขึ้นมา
ผมย้ำคำเหล่านี้ 1) ฉลาด 2) สองฟาก 3) แผน และ 4) เวลาที่เพียงพอ (คำอธิบายเพิ่มเติม: ตัวอย่างที่ใกล้เคียงที่สุดทำนองนี้ก็คือแผน Simpson-Bowles ในปี 2010 และก็มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาในปี 2011 หลังจากการต่อรองเรื่องเพดานหนี้ระหว่าง Obama และ ฺBoehner ทั้งสองฟากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่จำเป็นในการลดการขาดดุลได้และเราก็ยังคงมีปัญหาเดิมๆนี้อยู่เมื่อเวลาผ่านไปทศวรรษนึงมาแล้วเพียงแต่แย่กว่าเดิม ความล้มเหลวนี้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี แต่มันก็ไม่มีเส้นทางเลือกอื่นที่ดีในการที่จะจัดการกับปัญหาหนี้และการเงินมากไปกว่าแผนระหว่างสองฟากที่ฉลาด
เพื่อที่จะสร้างอะไรออกมาที่จะใช้งานได้จริงๆ ผู้นำจากทั้งสองพรรค – Biden และ McCarthy – จำเป็นต้องตกลงที่จะเอาชนะการคัดค้านจากสมาชิกที่ค่อนข้างสุดโต่งจากพรรคของตัวเอง คนที่ไม่ต้องการจะยกระดับเพดานหนี้ หรือคนที่จะไม่ยอมประนีประนอมในวิธีการในระยะยาวต่อการจัดงบประมาณที่จะได้ผลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สำหรับผมแล้ว การปะทะระหว่างคนที่ยอมจะประนีประนอมและทำอะไรที่เป็นไปได้จริงและเหล่าสุดโต่งคนที่ไม่ยอมเลยจะเกิดขึ้นวันนึงข้างหน้าไม่นาน ดังนั้นก็ปะทะเลยตอนนี้ไม่ต้องรอ อย่างที่กล่าวไป ผมหวังว่าจะเห็นเส้นทางระหว่างสองฟากที่ควรจะได้รับการสนับสนุนเป้นอย่างดีแทนที่จะไปอีกเส้นทางที่ไม่มีวิธีการที่ฉลาดระหว่างสองฟาก ซึ่งแน่นอนว่าจะนำเราไปสู่ความหายนะ ถ้าฟากใดฟากนึงไม่ตกลงในเรื่องนี้ อีกฟากควรจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนไปเลยว่าฟากตรงข้ามไม่ยอมที่จะทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหานี้ น่าเสียดายที่ระบบการเมืองแบบ Primary นั้นส่งเสริมความสุดโต่งที่เป็นที่รับรู้กันอย่างที่ผมไม่จำเป็นต้องนับใหม่ ผู้นำที่แข่งแกร่งในการติดตามผลลัพธ์ที่ดีที่สุดผ่านทางความร่วมมือระหว่างสองฟากจำเป็นต้องมีความกล้าหาญที่จะนำพาการเคลื่อนไหวนี้ บางทีในตอนท้าย เหล่าผู้ที่ยอมประนีประนอมจากทั้งสองฟากจะเข้าหากันเป็นพรรคที่สามไปเลย อย่างไรก็ดี อย่างที่ผมกล่าวไป ประวัติศาสตร์และสามัญสำนึกบอกผมว่าความร่วมมือระหว่างสองฟากอย่างชาญฉลาดนั้นเป็นทางเดียวที่เราจะผ่านพ้นสิ่งเหล่านี้ด้วยดีไปด้วยกันได้ กลุ่มตรงกลางจำเป็นต้องแซงหน้ากลุ่มสุดโต่ง ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นมั้ย? ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นไปได้ เส้นทางที่น่าจะเป็นได้ที่สุดคือการปะทะกันระหว่างแรงผลักจากกลุ่มเหล่านี้
ส่วนแผนที่จะเกิดขึ้นจริงๆที่ต้องมีการออกแบบนั้นมันก็ไม่ได้ซับซ้อน แม้ว่ามันอาจจะยากเย็นที่จะทำให้คนมาตกลงร่วมกันได้ สี่ปีที่แล้ว ผมเขียนบทความอธิบายถึง “ทำไมและอย่างไร ทุนนิยมจำเป็นต้องมีการปฏิรูป” นั่นวางโครงร่างถึงความคิดของผมอย่างสมบูรณ์มากกว่าที่ผมจะเขียนได้ในตอนนี้ โดยสรุปแล้ว สิ่งที่ผมเชื่อว่าจำเป็นต้องเกิดขึ้นคือการปฏิรูปที่จำเป็นสำหรับเรา (ชาวอเมริกัน) ที่จะร่วมมือกันให้ได้รายได้มามากกว่าที่เราใช้จ่ายออกไปและร่วมกันสร้างพายให้เติบโตขึ้นและก็จัดสรรพายกันอย่างดีด้วยการเงินที่ยั่งยืนจากรัฐบาล
ขอเตือนความจำว่าผมถูกถามว่าผมจะทำอย่างไร ไม่ใช่ว่าผมคิดว่าจะมีการทำอย่างไรกัน ดังนั้นนี่คือสิ่งที่ผมมอบให้กับคุณ แต่แน่นอนว่ามุมมองของผมเกี่ยวกับว่ามันควรมีการกระทำอย่างไรนั้นมีความสำคัญน้อยกว่าการมีแผนที่ถูกสร้างขึ้นจากทั้งสองฟากจากกลุ่มตรงกลางที่มีความสามารถและพร้อมจะต่อสู้กับกลุ่มสุดโต่งเพื่อที่จะปกป้องแผนของตัวเอง หนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือทุกๆคนต่อสู้เพื่อสิ่งที่พวกเขาต้องการ ดังนั้นผม่ไม่อยากทำแบบนั้น ก็คือ ผมไม่สนใจว่าแผนนั้นจะเอาสิ่งที่ผมคิดว่าดีที่สุดไปรวมไว้หรือไม่ เท่ากับการที่ผมอยากจะจำกัดวงของกลุ่มที่ได้รับมอบหมายที่ฉลาดจากทั้งสองฟากนั้นคิดว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดและจะต่อสู้กับกลุ่มสุดโต่งที่ต้องการจะเอาของตัวเองมาให้ได้ ผมคิดว่านี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับกลุ่มประนีประนอมที่กล้าหาญที่จะรวมตัวกันเพื่อจะทำสิ่งนี้แล้ว แม้ว่าจะมีต้นทุนทางการเมืองที่สูงอย่างมากก็ตาม
ผมคงจะไม่เข้าไปสู่ประเด็นที่ว่าผมอยากจะเห็นอะไรจากแผนเพราะว่าสิ่งที่ผมต้องการไม่ใช่เรื่องสำคัญและเพราะการอธิบายสิ่งเหล่านี้จะเป็นการพูดนอกเรื่องที่มากเกินไป อย่างไรก็ดี เผื่อคุณสนใจ ผมเชื่อว่า ประสิทธิผลนั้นมีการหลีกเลี่ยงมากและมันยังเป็นส่วนผสมสำคัญจำเป็นที่สุดที่จะเข้าสู่รัฐที่มีสุขภาพการเงินที่ดีโดยที่ไม่ต้องลดมาตราฐานการใช้ชีวิตของเราลง นั่นเพราะว่าการพัฒนาประสิทธิผลนั้นเป็นเพียงทางเดียวที่รายได้จะเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าใช้จ่ายและนั่นเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อที่จะบริหารจัดการหนี้ได้อย่างดี ทำไมทั้งสองฟากของการแบ่งแยกทางการเมืองไม่เพ่งความสนใจไปที่ประสิทธิผลหละ? เนื่องจากว่าคนส่วนใหญ่นั้นให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาจะได้มากกว่าสิ่งที่พวกเขาจะผลิตมันขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนกับคนอื่นเพื่อที่เขาจะได้สิ่งที่จำเป็นกัน การพัฒนาประสิทธิผลและการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อที่คนส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์นั้นเป็นเพียงเส้นทางเดียวที่มันจะได้ผล และนั่นก็ต้องมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในทางด้านต้นทุนด้วยเพื่อที่จะบรรลุเส้นที่ต่ำที่สุดให้สูงขึ้นมา ซึ่งเป็นการลงทุนที่ทั้งเป็นไปได้ทางการเงินและสร้างสิ่งดีๆให้กับสังคมด้วย มันมีการลงทุนที่ดีที่จะยกระดับมาตราฐานขึ้นมาสองเท่าอย่างในการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน การต่อสู้ปัญหายาเสพติด การจัดการกับความป่วยทางจิต และโครงการอื่นๆที่สร้างโอกาสโดยทั่วๆไป และแน่นอน แผนการบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหนี้ ก็จำเป็นที่จะต้องเป็นส่วนนึงคงแผนใดๆที่เข้าท่า แต่อย่างที่ผมกล่าวไป สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเราต้องมีแผนระหว่างสองฟากที่ชาญฉลาดเพื่อที่ว่าพายเศรษฐกิจจะใหญ่ขึ้นและมีการแบ่งปันกันอย่างดี
อ้างอิง:
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.