JP Morgan Chase ธนาคารเพื่อการลงทุนเสียค่าปรับ 920 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากข้อหาเล่นกลโกงตลาดหุ้นในอเมริกาเนื่องมาจากการส่งคำสั่งซื้อที่ไม่เป็นจริง (spoof orders) เป็นพันๆครั้งสำหรับสัญญาซื้อขายโลหะและอื่นๆจากสามตลาดแลกเปลี่ยน
ซึ่งผู้ที่ซื้อขายสัญญาเหล่านี้มีการถูกกล่าวหาว่าใช้วิธีการ ‘spoofing’ เพื่อที่จะคดโกงตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนต่างๆนั้น เหตุการณ์ฉาวโฉ่ในอดีตเกี่ยวกับความพยายามที่จะโกงระบบการซื้อขายในตลาดซื้อขายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาโลหะต่างๆในทศวรรษที่ผ่านมานั้นมักจะมีสิ่งที่เหมือนๆกันอยู่ก็คือ มีการสั่งปรับเป็นเงินก้อนโตๆสำหรับพวกธนาคารเพื่อการลงทุน มีการตั้งข้อหาทางอาญาสำหรับผู้ที่ทำการซื้อขายและมีการเปิดเผยร่องรอยของเอกสารเพื่อที่จะเปิดเผยว่าพนักงานของธนาคารไหนทำอะไรเพื่อให้เกิดความอับอาย
ผู้ที่ซื้อขายอัตราดอกเบี้ยที่พยายามปั่นและโน้มน้าว LIBOR หรือ London Interbank Offered Rate หรืออัตราดอกเบี้ยที่ซึ่งธนาคารต่างๆไว้ใช้อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยระหว่างกัน ก็ส่งข้อความหากันเพื่อขอร้องให้ได้อัตราที่อยู่ในช่วงอัตราต่ำๆ หรืออย่างผู้ที่ซื้อขายเงินตราต่างประเทศก็มีการสร้างแชทรูม เพื่อที่จะถกถึงการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน (คล้ายๆสมาคม OPEC) นั่นเอง
ส่วนในของกรณี JPMorgan Chase นั้นก็มีลักษณะคล้ายๆกันคือพยายามที่จะโน้มน้าวหรือกระทำการกำหนดราคา วันที่ 29 กันยายน จากคำอ้างอิงของเจ้าหน้าที่ว่าทางธนาคารก็ยอมรับว่ามีการกระทำผิดจริงจากพนักงานของบริษัทเองเป็นพันๆครั้งระหว่างปี 2008 ถึง 2016
ธนาคารจึงตกลงที่จะจ่ายค่าปรับจำนวน 920 ล้านเหรียญเพื่อที่จะชดเชยความเสียหายในครั้งนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องที่ทำการซื้อขายนั้นก็จะได้รับการตั้งข้อหาทางอาญาด้วย หากพบว่ามีความผิดจริงก็มีโอกาสที่จะต้องไปนอนในคุกเลย
นักเทรดเหล่านี้มีการคาดการณ์ว่าใช้เทคนิคที่เรียกว่า ‘spoofing’ เป็นวิธีการที่ฝั่งคนสร้างราคาพยายามหาทางซื้อหรือขายสินทรัพย์ เช่น ทอง หรือ พันธบัตร โดยการพยายามส่งคำสั่งอย่างต่อเนื่องในทางตรงกันข้ามกับตลาด เพื่อที่จะทำให้อีกฝั่ง (ที่เป็นคนเข้ามาซื้อขายปกติ) เกิดอาการงงงวยและส่งผลให้มีราคาเข้าทางคนที่สร้างราคา
งงสินะ! เอาใหม่!
ตัวอย่างเช่น คนที่พยายามจะขายทอง จะพยายามส่งคำสั่งซื้อทอง (ตรงข้ามกับที่ตัวเองอยากจะทำ) อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างดีมานด์แบบหลอกๆ และก็จะเป็นการหลอกให้คนอื่นๆ (บ้านเราเรียกแมงเม่าสินะ) เห็นราคาขยับขึ้น ก็จะเข้ามาซื้อตาม ส่งผลให้ราคาสูงขึ้น ทำให้คนที่พยายามจะขายทองในตอนแรกก็จะสามารถส่งคำสั่งขายทองได้ในราคาที่ถูกปั่นให้ยกสูงขึ้นนั่นเอง และเมื่อขายได้แล้ว ไอ่คนปั่นราคาขายทองที่สร้างคำสั่งซื้อหลอกๆไว้ตอนแรกก็ยกเลิกคำสั่งซื้อนั่นเอง (เพราะตัวเองได้ขายทองออกไปตามที่ต้องการแล้ว)
Spoofing เป็นวิธีการปฏิบัติในการส่งคำสั่งซื้อหรือยกเลิกคำสั่งซื้ออย่างรวดเร็วเพื่อที่จะหลอกตลาดเกี่ยวกับความต้องการของสินทรัพย์นั้นๆในตลาด แทคติคนี้ไม่เคยถูกปรับเยอะขนาดนี้มาก่อน ทำให้ค่าปรับในครั้งนี้เยอะสุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียวสำหรับแทคติคนี้
วิธีการนี้ถือว่าผิดกฏหมายในอเมริกาตั้งแต่ปี 2010 แต่การมาของ อัลกอเทรดเดอร์ (เทรดหุ้นด้วยอัลกอริธึ่ม) ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วว่าจากคำสั่งซื้อนั้นราคาจะพึ่งไปทางไหนต่อเนี่ยมันก็ยั่วยวนให้มนุษย์ที่ทำการซื้อขายนั้นใช้วิธีการ spoof นี่แหละ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา Deutsche Bank, Merril Lynch และ UBS ต่างก็เคยเสียค่าปรับจากข้อหานี้กันมาแล้ว
แม้ว่าในกรณีของ JPMorgan นั้นจะมีลักษณะคล้ายๆกับการละเมิดในอดีตที่ผ่านมา แต่อัยการก็โหดขึ้นด้วย กระทรวงยุติธรรมนั้นบอกว่าเมื่อพวกเขาพิจารณาแล้วว่า JPMorgan เคยยอมรับผิดมาแล้วครั้งหนึ่งในการปลุกปั่นตลาดเงินตราต่างประเทศมาแล้วในปี 2015 มันก็เหมือนกับว่านางไม่เข็ดไม่หลาบ ดังนั้นก็ควรโดนปรับให้หนักมากกว่าเดิม
อ้างอิง:
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.