การที่บริษัทบังหน้าต่างๆ (shell companies) เสนอตัวอีกชั้นเป็นเส้นทางลัดเข้าสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทต่างๆนั้นก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน มาวันนี้จากนิตยสารชั้นนำ The Economist explains อธิบายให้ฟังดังนี้
การลงทุนที่กำลังบูมในบริษัทที่มีจุดประสงค์พิเศษในการเข้าซื้อกิจการ หรือ special-purpose acquisition companies (SPACs) นั้นค่อนข้างเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นประเภทหนึ่งของธุรกิจบังหน้าต่างๆรึเปล่ากำลังขึ้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้นอีกแล้ว
วันที่ 13 เมษายน 2021 ก็มีการทำลายสถิติบันทึกใหม่อีกแล้วเมื่อ Grab บริษัทที่เราสั่งให้ไปซื้อข้าวซื้อขนม เรียกรถ จ่ายเงิน แทนเรา ที่เป็นตัวแทนของ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู้กับ Uber นั้นก็ยอมตกลงที่จะเข้าร่วมกับ SPAC ที่ก่อตั้งโดย Altimeter ที่เป็นบริษัทผู้จัดการการลงทุนสัญชาติอเมริกันที่มีมูลค่าถึง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯเลยทีเดียว
การเข้าร่วมกิจการกันในครั้งนี้เสมือนเป็นทางลัดให้กับ Grab สามารถเข้าสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด Nasdaq ของอเมริกาซึ่งก็เป็นดีลล่าสุดทำนองนี้ที่เกิดขึ้น (Lucid บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง)
เมื่อปีที่ผ่านมาในอเมริกานั้น มีบริษัทที่เข้าสู่ตลาดหุ้นทำนองนี้ผ่าน SPAC ประมาณ 250 บริษัทซึ่งมีมูลค่ารวมกันประมาณ 8 หมื่น 3 พันล้านเหรียญเลยทีเดียว และตั้งแต่นั้นมาก็มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัทบังหน้าต่างๆเหล่านี้ถือมูลค่ารวมกันถึง 1 แสนล้านเหรียญหรือมากกว่านั้นซึ่งก็สามารถเข้าซื้อกิจการของบริษัทใดๆก็ได้ที่มีมูลค่าราวๆ 5 แสนล้านเหรียญได้เลยทีเดียวภายในระยะเวลาสองปี ลักษณะของฟองฟู่แบบนี้ ผู้สนับสนุน SPAC นั้นผสมผสานไปด้วยนักธุรกิจต่างๆ นักกีฬาชื่อดัง และแม้แต่ลูกชายของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ แม้แต่นักลงทุนรายย่อยก็เริ่มสมทบเข้าไปด้วยเช่นกัน พวกเขานั้นนับได้ที่ประมาณ 46% ของยอดการซื้อขายใน SPAC ผ่านทางแพลตฟอร์มของ Bank of America ในเดือนมกราคม เลยทีเดียว ซึ่งเดือนก่อนนั้นยังอยู่ที่ 30% เท่านั้น
ความบ้าคลั่งเหล่านี้ก็ไหลไปทางฝั่งยุโรปแล้วตอนนี้ ที่ๆ อัมสเตอดัมนั้นเป็นแหล่งเพาะของกิจกรรมเหล่านี้เลย แต่ก็เริ่มมีการโต้เถียงกันในลอนดอนว่าจะทำให้ข้อกำหนดในการเข้าจดทะเบียนนั้นเป็นที่น่าต้อนรับมากขึ้น ส่วนฝั่งคนที่ไม่เห็นด้วยกับ SPAC นั้นก็เน้นย้ำถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับนักลงทุนที่อาจจะมือใหม่สักหน่อย
แล้วตกลง SPAC นั้นทำงานยังไง? อะไรเป็นพื้นฐานมาทำให้เกิดความนิยมที่กะทันหันแบบนี้? และความเสี่ยงของมันคืออะไร?
อย่างแรกก่อนเลยก็คือ พื้นฐาน หน้าที่ของ SPAC ก็คือเพื่อที่จะเป็นทางเลือกให้บริษัทอีกบริษัทหนึ่งสามารถเข้าสู่กันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างง่ายๆ วงจรชีวิตของมันก็เริ่มจากการที่กลุ่มนักลงทุนนั้นปล่อยบริษัทบังหน้าในตลาดสาธารณะเพื่อสร้างกองเงินสดที่สามารถนำไปลงทุนกับธุรกิจจริงๆที่ต้องการจะเพิ่มทุนและเข้าสู่การเป็นบริษัทมหาชน
ในขั้นตอนต่อไป เช็คเปล่าๆ (เช็คที่ไม่ใส่ตัวเลข) ก็จะค้นหาบริษัทที่เป็นเป้าหมายที่ยังไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้วก็เสนอตัวเพื่อควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน บริษัทที่เป็นเป้าหมายก็มักจะเป็นบริษัทที่อยู่ในสถานะขั้นตอนสุดซึ่งก็คือบริษัทที่ค่อนข้างเติบโตเต็มที่แล้วซึ่งเจ้าของและผู้ที่อยู่เบื้องหลังการลงทุนต้องการจะขายบริษัทแล้วนำเงินออกไปใช้ละ ซึ่งสปอนเซอร์เหล่านี้ก็อาจจะมีอุตสาหกรรมในใจอยู่แล้วตั้งแต่แรกเริ่ม
โดยทั่วไปแล้ว เหล่าบอสๆของ SPAC จะต้องพยายามปิดดีลให้ได้ภายในสองปีแรกตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมา ไม่งั้นต้องคืนเงินให้กับนักลงทุนแล้วก็ปิดบริษัทไป ในกรณีที่การควบรวมกิจการนั้นสำเร็จผล เงินก็จะได้เพิ่มมาอีกจากนักลงทุนสถาบันจำนวนหนึ่ง แปลว่ากองเงินนั้นก็จะพองขึ้นประมาณห้าเท่าจากจำนวนเงินก้อนแรกที่ลงขันกัน ซึ่งเงินก้อนนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้โดยบริษัทมหาชนบริษัทใหม่ สปอนเซอร์จะได้รับหุ้นส่วนหนึ่งของบริษัทที่ควบรวมกิจการแล้วและก็มักจะได้ที่นั่งบอร์ดผู้บริหารด้วย
ฟังดูแล้วอาจจะดูเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนไปหน่อย แต่ SPAC นั้นก็ช่วยอำนวยความสะดวกกับบริษัทที่อยากเป็นมหาชนด้วยความรวดเร็วและเป็นเส้นทางที่ง่ายกว่าในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์มากกว่าการออก IPO แบบดั้งเดิม ความนิยมนี้จะมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับความหงุดหงิดกับเส้นทางเดิมๆในการออก IPO ด้วยขั้นตอนที่ยาวเป็นหางว่าว ค่าธรรมเนียมที่สูงลิ่ว ที่ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายมักจะโอดครวญมานาน มากไปกว่านั้นการออก IPO แบบดั้งเดิมนั้นการประเมินมูลค่าของบริษัทในขั้นตอนสุดท้ายนั้นก็มีความไม่แน่นอน แต่บริษัทที่ควบรวมกับ SPAC นั้นจะรู้ว่าตัวเองจะได้เงินทุนเท่าไหร่ที่แน่นอนกว่า ยิ่งไปกว่านั้น SPAC นั้นเป็นที่ปรารถนาต่อเหล่าผู้ก่อตั้งบริษัทมากกว่าเนื่องจากพวกเขาจะได้หุ้นในราคาที่ถูกกว่า ซึ่งก็จะได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกว่าหากบริษัทที่เกิดใหม่นั้นร่วงลง เหล่าผู้สนับสนุนยุคแรกจะได้รับวอแรนท์ (warrant – สิทธิในการซื้อหุ้นในราคาที่กำหนดไว้ในอนาคต) ซึ่งก็สามารถลดทอนผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นภายนอกบริษัทได้
ข้อเสนอที่ดูใจกว้างเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถโน้มน้าวเหล่าผู้มีใจเคลือบแคลงได้ จากการศึกษาบางรายงานนั้นพบว่า ผลตอบแทนต่อนักลงทุนของ SPAC นั้นจริงๆแล้วแย่กว่าคนอื่นๆในตลาดในวงกว้างและน้อยกว่าบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยวิธีดั้งเดิมอย่าง IPO ด้วยซ้ำไป ซึ่งก็ไม่ได้มีวิธีไหนที่จะเป็นทางเลือกการเข้าสู่ตลาดหุ้นที่ถูกอย่างที่มีคนนำเสนอนัก ค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายหุ้นก็ยังคงมีอยู่ การบูมของ SPAC นั้นอาจจะได้รับการกระพือฟูฟ่องอยู่
แต่อย่างไรก็ดี หากมีการวางแผนนออกแบบอย่างเหมาะสมแล้ว SPAC ก็อาจจะเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่มีประโยนชน์เช่นกัน ราคาที่แน่นอน และความรวดเร็วที่พวกเขานำมาให้กับบริษัทที่ต้องการจดทะเบียนนั้นก็เป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มการแข่งขันให้กับสถาบันจากเหล่าบริษัทใน Wall Street ทั้งหลาย ด้วยการเปิดกว้างการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี SPAC นั้นก็สามารถเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนรายย่อยด้วยเช่นกันรวมไปทุกเศรษฐกิจในวงกว้างด้วย เหล่าบริษัทที่รวมตัวกับ start up ทั้งหลายอาจจะช่วยให้เข้าถึงโอกาสการลงทุนในระยะแรกได้ง่ายขึ้นซึ่งปกติจะเป็นพวก venture capitalist หรือนายทุนต่างๆเป็นผู้ได้ไปมากกว่า ความคืบหน้าก็สามารถเร่งขึ้นได้ในอุตสาหกรรมอย่างรถที่ขับเคลื่อนได้เอง เทคโนโลยีชีวิภาพ หรือควอนเตอร์คอมพิวเตอร์ นักลงทุนรายย่อยที่โชคร้ายอาจจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตบ้างเมื่อมูลค่าตลาดของเหล่าบริษัทที่จดทะเบียนในลักษณะนี้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แต่โดยภาพรวมแล้วเหล่า SPAC ก็ยังไม่ได้พิสูจน์อะไรถึงความคุ้มค่าของตัวเอง
อ้างอิง:
What is a SPAC, Grab’s path to a $40bn listing? | The Economist
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.