พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Investment

อะไรคือ Shadow Pricing?

คำว่า ‘shadown pricing’ หรือแปลตรงๆก็คือราคาเงาเนี่ยมักจะถูกใช้อ้างถึงอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งก็คือ 1. มูลค่าตลาดที่แท้จริงของหุ้นกองทุนในตลาดเงินแม้ว่าจะเขียนไว้ว่ามีมูลค่าที่ 1 เหรียญก็ตาม หรือ 2. การกำหนดมูลค่าเป็นเม็ดเงินของสินค้าที่ซื้อขายกันที่ปกติจะไม่สามารถกำหนดค่าได้เนื่องจากไม่มีราคาตลาดแต่จำเป็นต้องมีมูลค่าเพื่อการทำการประเมินการวิเคราะห์ต้นทุนกำไร (cost-benefit analysis)

เรามักจะพบเห็นประเด็นในข้อที่ 2 มากกว่าที่เกี่ยวข้องกับ shadow price ที่มักจะถูกกำหนดค่าให้กับสินค้าที่ไม่ค่อยได้มีการซื้อขายในตลาด เช่น ต้นทุนการผลิต หรือ สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (intangible assets)

สรุปง่ายๆก็คือ shadown price คือราคาที่มีการประเมินบางสิ่งบางอย่างที่ปกติแล้วจะไม่มีราคาตลาดหรือไม่ค่อยมีการซื้อขายกันในตลาด โดย shadow pricing นั้นจะช่วยให้ธุรกิจนั้นมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับด้านต้นทุนกำไรที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่พิจารณาอยู่

อย่างไรก็ดี shadown pricing นั้นไม่ได้มีความชัดเจน 100% เนื่องจากมันต้องพึ่งพาสมมุติฐานที่เป็นนามธรรมและอาจจะขาดข้อมูลที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ โดยส่วนมากแล้วมันมักจะถูกใช้ในการกำหนดต้นทุนกำไรทางบัญชีของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถใช้เป็นตัวที่เปิดเผยซึ่งราคาหุ้นที่แท้จริงในตลาดเงิน หรือโดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ใช้กำหนดมูลค่าผลกระทบภายนอก (externaltiies)

Shadow pricing นั้นก็มักจะถูกใช้บ่อยๆโดยนักเศรษฐศาสตร์ที่จะกำหนดมูลค่าของโครงการโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะต่างๆ เช่น สวนสาธารณะและการขนส่ง

Shadow Pricing ทำงานยังไง?

Shadow pricing ที่เกี่ยวของกับกองทุนในตลาดเงินนั้นก็จะอ้างอิงถึงวิธีการปฏิบัติที่จะกำหนดราคาของหุ้นทางบัญชีบนพื้นฐานของต้นทุนค่าเสื่อมมากกว่าที่จะยึดถือมูลค่าที่ถูกกำหนดมูลค่าทางตลาด

หุ้นของกองทุนในตลาดเงินนั้นมักจะถูกกำหนดค่าไว้ที่ net asset value (NAV) หรือมูลค่าหุ้นของกองทุนไว้ที่ 1 เหรียญ แม้ว่ามูลค่าที่แท้จริงอาจจะต่ำกว่าตัวเลขนี้นิดหน่อยก็ตาม กองทุนเหล่านั้นต้องเปิดเผยมูลค่าของสินทรัพย์ที่แท้จริงตามกฏหมาย ก็คือ ราคาหุ้นเงา เพื่อที่จะแสดงให้นักลงทุนเห็นถึงผลประกอบการของกองทุนอย่างถูกต้องมากที่สุด อย่างไรก็ดี การใช้คำว่า ‘shadow price’ เพื่อสื่อถึงกองทุนตลาดเงินนั้นก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมที่จะใช้นัก มันถูกประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการประเมินวิเคราะห์ต้นทุนกำไรในการตัดสินใจทางธุรกิจมากกว่า

ในการใช้โดยทั่วไปแล้ว shadow price ก็คือราคาเทียมที่ถูกกำหนดให้กับสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเพื่อการกำหนดมูลค่าทางบัญชี โดยมักจะมีสมมุติฐานที่กำหนดไว้แล้วทางใดทางหนึ่งเกี่ยวกับต้นทุนหรือมูลค่าของมัน โดยทั่วไปแล้วมันก็จะค่อนข้างเป็นนามธรรมและไม่ถูกต้อง 100% เพื่อที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมใดๆเกี่ยวกับโครงการหรือการลงทุน ธุรกิจมักจะมีการทำการวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบเกี่ยวกับโครงการและต้นทุนการลงทุนเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้จากการดำเนินโครงการหรือการลงทุนนั้นๆ

ในการวิเคราะห์ต้นทุนกำไรนั้น บ่อยครั้งธุรกิจก็มักจะต้องคำนวณต้นทุนหรือผลประโยชน์ของสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนเข้าไปด้วย ซึ่งก็มักจะเป็นการอย่างที่จะกำหนดมูลค่าแต่เพื่อจุดประสงค์ของการวิเคราะห์แล้วมันก็ถือว่าสามารถที่จะประเมินได้ในทางการเงิน

นักเศรษฐศาสตร์ก็มักจะกำหนด shadow price เพื่อที่จะประเมินต้นทุนของผลกระทบภายนอกที่เป็นลบเช่นกัน อย่างเช่น มลภาวะที่ถูกปล่อยออกมาโดยบริษัทต่างๆเป็นต้น

อ้างอิง:

Shadow Pricing Definition (investopedia.com)

Leave a Reply