พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Finance

What is quantitative tightening?

ธนาคารกลางต่างๆกำลังลดขนาดของงบดุลของพวกเขา

FRANKFURT AM MAIN, GERMANY - FEBRUARY 03: The headquarters of the European Central Bank (ECB) pictured on February 03, 2022 in Frankfurt, Germany. Inflation in the Eurozone, driven by rising energy prices and consequences of supply chain bottlenecks, has outpaced ECB forecasts. (Photo by Thomas Lohnes/Getty Images)

The Economist May 4th 2023

เมื่อช่วงเริ่มต้นของวิกฤติการเงินทั่วโลกระหว่างปี 2007 ถึง 2009 เหล่านักลงทุนและนักการเมืองก็เริ่มคุ้นชินกับความคิดที่เรียกว่า quantitative easing (QE) ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ของนโยบายทางการเงิน (คือการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆโดยธนาคารกลางเพื่ออัดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อให้มีสภาพคล่องที่มากขึ้น) QE ได้ถูกนำไปใช้ก็เนื่องจากว่าการตัดทอนของระดับอัตราดอกเบี้ยจนติดพื้นใกล้เคียงกับ 0% นั้นไม่เพียงพอที่จะแก้ไขความฝืดเคืองและการหดตัวของสภาพคล่องที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการเงินนั้น

เหล่าธนาคารกลางจึงใช้ QE เพื่อที่จะเพิ่มขนาดงบดุลของตัวเอง ด้วยการสร้างเงิน (ในรูปแบบของเงินสำรองของธนาคาร) เพื่อที่จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์อื่นๆจากภาคเอกชน เป้าหมายของการกระทำนี้ก็เพื่อที่จะลดต้นทุนการกู้ยืมเงินในระยะยาวโดยเฉพาะในตลาดพันธบัตร แต่เมื่อไม่นานมานี้เอง เหล่าธนาคารกลางก็ได้เริ่มเอื้อมมือไปลองดึงคันโยกนโยบายทางการเงินที่แตกต่างออกไป นั่นก็คือ quantitative tightening (QT) ซึ่งธนาคารกลางของยุโรปก็ได้เริ่มต้นขั้นตอนนี้ไปแล้วในเดือนมีนาคม 2023 แล้วนโยบายนี้มันเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง?

QT ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับ QE ก็คืองบดุลของธนาคารกลางจะมีการหดตัวแทนที่จะขยายตัว ซึ่งมันก็สามารถทำได้อยู่สองทาง การลดขนาดของงบดุลลงแบบตั้งรับก็คือธนาคารกลางจะถือพันธบัตรไปจนถึงวันครบกำหนดอายุ และก็ไม่ลงทุนต่อเนื่องอีกจากเงินที่ได้คืนมาจากพันธบัตรนั้น ส่วนการลดขนาดอีกแบบนึงก็คือ active (เชิงรุก) ก็คือการขายพันธบัตรที่ถืออยู่ออกไปเลยในตลาดรอง (secondary market) โดยในทั้งสองกรณีนั้นภาคเอกชนจะต้องถือครองพันบัตรรัฐบาลมากขึ้นเอง และในทางทฤษฏีแล้วก็จะมีความอยากน้อยลงที่จะปล่อยเงินกู้ที่อื่น และเมื่อธนาคารกลางขายพันธบัตรออกไป งบดุลของพวกเขาก็จะหดตัวลง

อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางต่างๆก็ค่อนข้างระมัดระวังว่าจะทำการ QT มากระดับไหนและรวดเร็วแค่ไหนอยู่เหมือนกัน เนื่องจากว่าถ้า QE ส่งผลให้ผลตอบแทนของพันธบัตรนั้นลดต่ำลง มันก็เป็นเหตุสมควรที่จะคาดหวังว่า QT จะผลักดันให้ผลตอนแทนสูงขึ้น ในปี 2013 เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เสนอเพียงแค่ลดความรวดเร็วในการเข้าซื้อธนบัตร ตลาดก็ได้รับผลกระทบกับ ‘taper tantrum’ แล้ว ก็คือ ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (บางคนอาจจะแย้งว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะความคาดหวังของตลาดที่มีต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยแบบดั้งเดิมนั้นทำให้เกิดขึ้นจากการประกาศอยู่แล้ว) Fed ได้เริ่ม QT เมื่อปี 2017 แล้วก้อหยุดนโยบายในปี 2019 ด้วยขนาดงบดุล (ที่ประมาณ 4,000 ล้านเหรียญ) ซึ่งก็ยังคงเป็นระดับที่สูงกว่าก่อนเกิดวิกฤต และช่วงโรคระบาดก็ยิ่งทำให้ต้องมีนโยบายทางการเงินแบบขยายตัวที่มากขึ้นไปอีก และ QT ก็พึ่งจะมาเริ่มอีกครั้งเมื่อเดือนมิถุนายน 2022

จนถึงบัดนี้ มันก็เป็นการยากที่จะประเมินผลกระทบของ QT เนื่องจากว่าทางธนาคารกลางก็ค่อนข้างที่จะไฟแรงกับนโยบายการเงินแบบหดตัวด้วยการทำแบบดั้งเดิมในการผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นนั้นสูงขึ้น พวกเขาก็พยายามตอบโต้กับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นตามที่รัสเซียรุกรานยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของต้นทุนพลังงาน ผลตอบแทนพันธบัตรจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบผลกระทบระหว่างอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยระยะสั้นนั้น ผลกระทบของ QT ที่มีต่อผลตอบแทนพันธบัตรนั้นก็ดูเหมือนว่าจะเล็กน้อย แต่ธนาคารกลางก็ยังคงต้องมีความระมัดระวังเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ QT อาจจะนำไปสู่ความเข้มงวดทางการเงินที่มากเกินควรและทำให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจต่อไปด้วย ผลลัพธ์ก็คือมันเป็นไปได้ที่จะใช้เวลาอีกนานก่อนที่ QT จะเริ่มทำให้งบดุลของธนาคารกลางหดตัวกลับไปสู่ระดับใกล้เคียงกับก่อนวิกฤต

อ้างอิง:

What is quantitative tightening? | The Economist

Leave a Reply