พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Investment

What is leveraged buyout: LBO? (อะไรคือ leveraged buyout)

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัทเงินทุกเอกชนรายใหญ่ของโลกนั่งทับเงินทุนที่ไม่ได้ใช้อยู่ 1.9 ล้านล้านเหรียญดอลลาห์ แต่ทว่าเดือนนี้ สามบริษัทที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Blackstone, Carlyle และ Hellman & Friedman นั้นมีรายงานว่าได้จ่ายเงิน 34,000 ล้านเหรียญดอลลาห์เพื่อเข้าซื้อกิจการของ Medline ผู้จัดหาอุปกรณ์เกี่ยวกับทางการแพทย์รายใหญ่ของโลก ซึ่งจะกลายเป็นดีลการเข้าซื้อกิจการแบบ leveraged buyout ที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลกระหว่างปี 2007-2009 เลยทีเดียว

แต่เราจะมาพูดถึงกันว่าอะไรคือ Leveraged Buyout หรือเรียกสั้นๆว่า LBO

Leveraged Buyout (LBO) คืออะไร?

LBO คือการเข้าซื้อกิจการของบริษัทอีกบริษัทนึงโดยมีการกู้ยืมเงินเป็นจำนวนมาก (ไม่ว่าจะเป็นการออกพันธบัตร หรือเงินกู้) เพื่อที่จะให้เพียงพอกับต้นทุนของการเข้าซื้อกิจการนั้นๆ (cost of acquisition) สินทรัพย์ของบริษัทที่กำลังถูกเข้าซื้อกิจการนั้นมักจะถูกใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสำหรับเงินทุนที่กู้ยืมมา รวมไปถึงสินทรัพย์ของบริษัทที่เข้าซื้อกิจการนั้นด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วในการเข้าซื้อกิจการในลักษณะนี้จะมีการกู้ยืมหรือสร้างหนี้ขึ้นมาเป็นสัดส่วน 90% โดยอีก 10% นั้นจะเป็น equity หรือหุ้น

จุดประสงค์ของ LBO นี้ก็เพื่อที่จะช่วยให้บริษัทต่างๆนั้นสามารถเข้าซื้อกิจการที่ใหญ่ๆได้โดยไม่ต้องใช้เงินทุนที่มากๆ

และจากการที่ LBO นี่มีสัดส่วนหนี้ที่สูงถึง 90% พันธบัตรที่ออกมาเพื่อรวบรวมเงินนั้นมักจะไม่ใช่การลงทุนที่เหมาะสมหรือที่เรียกว่า investment grade และมักจะเรียกพันธบัตรเหล่านี้ว่าเป็น junk bonds

LBO มักจะได้รับชื่อเสียงที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ว่ามักจะโหดร้ายและเป็นแทคติคในการล่าบริษัทที่มักจะไม่ค่อยต่อต้านการเข้าซื้อกิจการในลักษณะนี้ โดยปกติแล้วจะมีอยู่ 3 เหตุผลที่จะเข้าซื้อกิจการในลักษณะนี้

  1. เพื่อที่จะเอาบริษัทมหาชนกลับมาเป็นบริษัทเอกชน
  2. เพื่อที่จะพยายามขายธุรกิจบางส่วนของบริษัทออกไป
  3. และเพื่อที่จะโอนถ่ายกรรมสิทธิในทรัพย์สินเอกชน อย่างที่มักจะทำกันในความเป็นเจ้าของของธุรกิจที่เล็กๆ

อย่างไรก็ดี สิ่งจำเป็นโดยทั่วไปสำหรับบริษัทที่กำลังเข้าซื้อกิจการในแต่ละกรณีก็คือธุรกิจหรือกิจการนั้นๆต้องมีกำไรและกำลังเจริญเติบโต ข้อได้เปรียบหลักของบริษัทที่เข้าซื้อกิจการบริษัทอื่นก็คือพวกเขาสามารถใช้เงินทุนหรือหุ้นเพียงเล็กน้อยและใช้หนี้เป็นตัวเสริมในการเพิ่มเงินทุนเพื่อให้เกิดการเข้าซื้อกิจการที่มีราคาแพงนั่นเอง

LBO มักจะมีประวัติศาสตร์ที่ฉาวโฉ่โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1980 เมื่อการเข้าซื้อกิจการหลายๆอย่างนั้นสุดท้ายแล้วนำไปสู่การล้มละลายของบริษัทที่ถูกเข้าซื้อกิจการ เหตุผลหลักก็เนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า LBO นั้นมีการใช้เงินกู้หรือหนี้เกือบ 100% ซึ่งส่งผลให้มีดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายที่สูงลิ่วทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทนั้นมีปัญหาและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่คาดหวัง

การที่บริษัทใช้หนี้ในการเข้าซื้อกิจการก็เนื่องมาจากว่าหนี้นั้นมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าการใช้เงินทุนหรือหุ้นของตัวเองและสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยรวมจากการเข้าซื้อกิจการได้ ต้นทุนของหนี้นั้นต่ำกว่าเนื่องมาจากว่าดอกเบี้ยที่จ่ายนั้นจะช่วยลดภาษีของบริษัทแต่ในขณะที่เงินปันผลนั้นไม่สามารถช่วยลดภาษีได้ ต้นทุนที่ต่ำลงทางการเงินนี้จะช่วยให้ได้ประโยชน์มากขึ้นต่อหุ้นในบริษัทและหนี้ก็สามารถเป็นตัวช่วยในการเพิ่มผลตอบแทนต่อหุ้นได้นั่นเอง

อ้างอิง:

https://www.economist.com/business/2021/06/12/does-the-medline-mega-deal-herald-the-return-of-giant-buyouts

Leveraged buyout – Wikipedia

Leveraged Buyout (LBO) Definition (investopedia.com)

Leave a Reply