เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สองผู้ก่อตั้งบริษัท search engine ที่ใหญ่และครอบครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในโลกอย่าง Google ทั้ง Sergey Brin และ Larry Page ก็ได้ประกาศลงจากตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดและประธานของ Alphabet ที่เป็นบริษัทแม่ของ Google นั่นเอง โดย Sundar Pichai ผู้ครองตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของ Google ก็จะดำรงตำแหน่งแทน
แต่เราไม่ได้จะมาศึกษาผลกระทบอะไรจากเหตุการณ์นี้ แต่ก็มีคนตั้งคำถามว่าแม้ว่าสองผู้ก่อตั้งนี้จะลงตำแหน่งบริหารสูงสุด แต่ก็ยังคงเป็น “ที่ปรึกษา” อยู่ในบอร์ดบริษัทของบริษัทอยู่ดี และในเมื่อทั้งสองคนนี้ยังถือหุ้นในลักษณะ “Dual class stock” รวมกันประมาณ 51% อยู่ดี เราก็จะมาหาข้อมูลกันว่าไอ่ “Dual class stock” อะไรนี่มันคืออะไร
Dual class stock คือการออกหุ้นของบริษัทใดบริษัทนึง (และบริษัทเดียว) แต่ออกหุ้นมาหลายแบบ ตัวอย่างเช่น มีการแบ่งเป็น Class A และ Class B โดยสองคลาสนี้อาจจะแตกต่างกันในเรื่องของสิทธิในการออกเสียง (voting rights) และสิทธิในการได้รับเงินปันผล (dividend) เป็นต้น
เมื่อมีการออกหุ้นในหลายๆคลาสแบบนี้ โดยปกติแล้วคลาสนึงก็จะขายให้กับคนทั่วไป แต่อีกคลาสนึงก็มักจะเสนอขายหรือให้กับผู้ก่อตั้ง ผู้บริษัท หรือครอบครัวของคนในบริษัทเอง โดยที่หุ้นที่ออกขายให้กับคนทั่วไปนั้นมักจะมีสิทธิจำกัดหรือไม่มีสิทธิอันใดในการออกเสียง ในขณะที่หุ้นที่ออกให้กับผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารในบริษัทนั้นก็จะมีสิทธิและอำนาจในการออกเสียงและเป็นผู้คุมอำนาจเสียงส่วนใหญ่ในบริษัท (ยังไงก็ยังเป็นบริษัทเขาอ่ะเนาะ)
มาทำความเข้าใจกันเรื่อง dual call stock กันอีกนิด
บริษัทที่เรารู้จักกันดีอย่าง Ford และ Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett นั้นก็มีโครงสร้างการถือหุ้นแบบ dual class เช่นกัน ซึ่งก็จะมอบอำนาจการบริหารและการออกเสียงให้กับผู้ก่อตั้ง ผู้บริหาร และครอบครัวของคนในบริษัทเพื่อควบคุมเสียงส่วนใหญ่ แต่ว่าจะเป็นสัดส่วนการถือหุ้นที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหุ้นทั้งหมด (มีสิทธิออกเสียงมาก แต่อาจจะถือหุ้นน้อย) ตัวอย่างเช่นของ Ford ที่ครอบครัวของ Ford นั้นมีสิทธิอำนาจในการออกเสียงถึง 40% แต่ว่ากลับถือหุ้นของบริษัทแค่ 4% เท่านั้นจากหุ้นทั้งหมดของบริษัท ตัวอย่างสุดโต่งอีกอันก็คือ Echostar Communications ที่ CEO อย่าง Charlie Ergen นั้นถือหุ้นบริษัทเพียงแค่ 5% จากหุ้นทั้งหมด แต่มีสิทธิออกเสียงถึง 90% เนื่องจากการถือครองหุ้น Class A นั่นเอง
แม้ว่าโครงสร้างการถือครองหุ้นแบบนี้เหมือนว่าพึ่งมาได้รับความนิยมเมื่อไม่นานมานี้ แต่ว่าโครงสร้างแบบนี้ก็มีมานานแล้วในหลายรูปแบบ ตลาดหุ้นนิวยอร์ค (NYSE) ได้แบนการถือครองหุ้นในลักษณะ dual class นี้ในปี 1926 เนื่องจากการโวยวายเรื่องที่บริษัทรถยนต์ Dodge ที่เสนอขายหุ้นให้กับคนทั่วไปนั้นไม่มีสิทธิออกเสียงใดๆเลย แต่ว่าตลาดหุ้นนิวยอร์คนั้นก็นำกลับมาใช้ใหม่ในช่วงปี 1980 เนื่องมาจากการแข่งขันจากตลาดหุ้นแห่งอื่นๆ เมื่อหุ้นได้มีการประกาศขายโดยสาธารณะแล้ว ห้ามมิให้บริษัทมีการยกเลิกหรือแก้ไข หรือออกหุ้นประเภทอื่นๆที่มีอำนาจการออกเสียงอีก
ในช่วงไม่นานที่ผ่านมานั้น มีจำนวนบริษัทที่มีการออกหุ้นหลายๆคลาสแบบนี้เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณเมื่อมีการจดทะเบียนในตลาดหุ้น หากจะมองเจาะจงลงไปอีกก็จะเป็นพวกบริษัท Startup ทั้งหลายทางด้านเทคโนโลยีที่จะชอบใช้กลยุทธ์แบบนี้เพื่อคงอำนาจการบริหารไว้
Gooogle ก็เป็นตัวอย่างที่โด่งดังและชัดเจนจากแนวโน้มนี้ มีหลายคนที่หงุดหงิดใจตอนที่ Google ประกาศออกหุ้นขายให้กับคนทั่วไป (IPO) ซึ่งตอนนี้ก็มีมูลค่าตลาด (market capitalization) อยู่ในระดับต้นๆของโลกเลยที่เดียว แต่ตอนออกหุ้นนั้นได้ออกหุ้น Class B ให้กับผู้ก่อตั้งโดยมีอำนาจการออกเสียงที่มากกว่าหุ้นทั่วไป Class A ที่ขายให้กับคนทั่วไปมากกว่าถึง 10 เท่าเลยทีเดียว นอกเหนือจาก Google ที่เป็นบริษัทลูกของ Alphabet แล้วก็ยังมีบริษัทที่มีโครงสร้างลักษณะนี้เช่น Facebook, Zynga, Groupon และก็ Alibaba
ดัชนีตลาดหุ้นหลายๆแห่งได้เอาบริษัทที่มีการถือหุ้นในลักษณะนี้ออกจากดัชนี้ของตัวเอง S&P500, FTSE Russell ก็เช่นกัน ตลาดหุ้นในเอเชียก็ได้ไปในแนวทางนี้และเริ่มผ่อนผันกฏเกณฑ์สำหรับการจดทะเบียนในตลาด ตลาดหุ้นฮ่องกงก็เริ่มมีการให้บริษัทจดทะเบียนสามารถมีโครงสร้างแบบ dual class นี้ได้ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ก็เช่นกันเนื่องจากต้องพยายามแข่งขันกับทางฝั่งตะวันตกในเรื่องนี้เพื่อให้บริษัทมาจดทะเบียนกับตลาดหุ้นตัวเองมากขึ้น
อ้างอิง:
https://www.bbc.com/news/technology-50653345
https://www.nytimes.com/2019/12/03/technology/google-alphabet-ceo-larry-page-sundar-pichai.html
https://www.investopedia.com/terms/d/dualclassstock.asp
blenlit
hakwamroo.com
1 Pingback