พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Business

การเข้าตลาดหุ้นของวอลโว่จะทำให้บริษัทนำหน้าในการแข่งขันด้านรถยนต์ไฟฟ้า

และเป็นการเพิ่มเงินสดให้กับเจ้าของจากประเทศจีนอย่าง Geely ด้วย

Photos by: The Economist

รถยนต์วอลโว่นั้นเป็นสิ่งที่คอยเตือนชาวสวีเดนถึงมรดกประเทศที่ตกทอดกันมา ตั้งแต่ธงน้ำเงินเหลืองที่ประดับประดาอยู่บนบางรุ่น ไปจนถึงไฟหน้าที่คล้ายกับ ฆ้อนของ Thor ที่ส่งสว่างให้กับรถทุกคัน

การออกแบบสไตล์สแกนเท่ห์ๆที่เน้นย้ำความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นทำให้วอลโว่ขยายฐานออกไปไกลเกินกว่าใจกลางของทวีปยุโรปไปถึงฝั่งจีนและอเมริกา ซึ่งพวกเขาก็หวังว่ามันจะไปต่อเรื่อยๆ

การประกาศการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมานั้นจะทำให้ “ความเป็นสวีเดนและความเป็นระดับโลก” นั้นเพิ่มมากขึ้น กล่าวโดย Hakan Samuelsson นายใหญ่ของวอลโว่

ในทางฟากของสวีเดน การนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นในสต็อคโฮล์มจะช่วยเสริมสร้างความเป็นตัวตนของชาวนอร์เวย์ ในระดับโลกแล้ว การเป็นบริษัทจดทะเบียนมหาชนจะช่วยดึงดูดนักลงทุนที่หลากหลายมากขึ้นเนื่องมาจากมันจะช่วยขยายการเข้าถึงบริษัทจากทั่วโลกได้และก็ยังเป็นบริษัทที่เล็กและคล่องตัวพอที่จะสำรวจธุรกิจรถยนต์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้

คุณ Samuelsson นั้นย้ำว่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากจากการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นนี้ในด้านความสัมพันธ์กับ Geely บริษัทจากประเทศจีนที่เป็นเจ้าของวอลโว่ตั้งแต่ซื้อมาจากฟอร์ดในปี 2010 ด้วยราคา 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วน Geely นั้นก็ยังตั้งใจที่จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของวอลโว่ต่อไปและทั้งสองบริษัทก็จะยังคงแบ่งปันต้นทุนและเทคโนโลยีต่อไปเช่นกัน

เมื่อปี 2018 ที่ Geely ล้มเลิกแผนการนำวอลโว่เข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น เหตุผลที่มองเห็นได้ชัดดูเหมือนว่าจะเป็นสงครามการค้าที่กำลังลุ่มๆดอนๆระหว่างจีนกับตะวันตก ในความเป็นจริงแล้ว การตัดสินใจนั้นอาจจะมาจากที่ว่า คงไม่มีใครคิดว่าวอลโว่จะมีมูลค่าถึง 3 หมื่นล้านเหรียญในช่วงเวลานั้น แต่การประเมินมูลค่าบริษัทในตอนนี้นั้นดูเหมือนว่าจะสมเหตุสมผลมากขึ้น

วอลโว่ได้พลิกตัวเองจากบริษัทที่ขาดทุนภายใต้การปกครองของฟอร์ดที่ผลิตรถได้ 374,000 คันในปีสุดท้ายที่อยู่กับฟอร์ด มาเป็น 773,000 คันใน 12 เดือนล่าสุดถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาและก็มีกำไรที่ดีด้วย เป้าหมายการผลิต 1.2 ล้านคันต่อปีภายในปี 2025 นั้นก็ดูเป็นไปได้ขึ้นมาทันที และบริษัทยังเป็นผู้นำในการขายรถแบบเป็นสมาชิกหรือขายตรงไปยังผู้บริโภคด้วยราคาที่กำหนดไว้คงที่แทนที่จะผ่านตัวแทนจำหน่ายอีกด้วย

ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ วอลโว่นั้นค่อนข้างเป็นผู้นำเมื่อเทียบกับคู่แข่งหลายๆรายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความต้องการมากขึ้นจากนักขับและนักลงทุนพอๆกัน บริษัทนั้นให้คำมั่นว่าจะผลิตเฉพาะรถไฟฟ้าเท่านั้นภายในปี 2030 ซึ่งนำหน้าคู่แข่งไปมากเลย และได้แยกส่วนธุรกิจที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปแบบดั้งเดิมเป็นการดำเนินการออกมาต่างหากเพื่อที่จะให้ความสนใจกับรถไฟฟ้าอย่างเต็มที่ และยังเข้าร่วมกับ Northvolt บริษัทสัญชาติสวีเดนที่ผลิตแบตเตอรี่เพื่อที่จะสร้างโรงงานขนาดมหึมาเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีรถเพียงพอ

บริษัทนั้นเป็นเจ้าของ Polestar ด้วยอยู่ครึ่งนึง ซึ่ง Polestar เป็นบริษัทที่มีเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเดียว และเมื่อเดือนที่แล้วก็ประกาศแผนการจะเข้าสู่ตลาดหุ้นในปีหน้าด้วยเช่นกันผ่าน special-purpose acquisition หรือ SPACs (บริษัทที่ร่วมกับบริษัทที่ต้องการเข้าสู่ตลาดหุ้นเหมือนเป็นทางลัด) และคาดว่าจะมีการประเมินมูลค่าบริษัทที่ 20,000 ล้านเหรียญ การที่ Polestar เอียงมาพึ่งพาวอลโว่ทางด้านประสิทธิภาพการผลิต เครือข่ายการบริการและการค้าปลีกทำให้ Polestar นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าที่พึ่งจะเริ่มบริษัทอื่นๆ ที่ไม่มีทั้งกำลังการผลิตและเครือขายดังกล่าว

Geely จะมีกำไรพอสมควรหลังจากที่ได้เป็นเจ้าของวอลโว่หลังจากทศวรรษนึงโดยประมาณผ่านไป บริษัทจากจีนนี้ก็จะยังคงถือหุ้นส่วนใหญ่จากการเข้าสู่ตลาดหุ้นนี้และก็ยังช่วยให้ Geely นั้นสามารถใช้สมาธิกับการปรับโครงสร้างองค์กรจากบริษัทที่ถือหุ้นหลากหลายบริษัทรถยนต์ไปเป็นกลุ่มเทคโนโลยีทางด้านการขนส่งแทนซึ่งก็มีธุรกิจโทรศัพท์มือถือและดาวเทียมรวมอยู่ด้วยซึ่งในท้ายสุดแล้วก็จะสามารถช่วยให้การจัดหาบริษัททางด้านขนส่งมาถึงพาหนะที่ขับเคลื่อนเองด้วย

ส่วนวอลโว่ในส่วนของตัวเองนั้นก็คาดหวังที่จะเพิ่มทุนได้ใกล้เคียงกับ 3,000 ล้านเหรียญในการเข้าตลาดครั้งนี้ ซึ่งเป็นจำนวนเงินสดที่คุณ Samuelsson นั้นบอกว่าบริษัทต้องการเลยที่เดียวที่จะคงแนวโน้มทิศทางรถยนต์ไฟฟ้านี้ไว้ต่อไป ถ้าวอลโว่สามารถทำได้จริง คู่แข่งทั้งหลายก็คงต้องมีอะไรให้ต้องไล่ตามวอลโว่มากขึ้นไปอีก

อ้างอิง:

Volvo’s IPO will keep it ahead in the electric-car race | The Economist

Leave a Reply