สำหรับท่านที่เคยอ่านข่าวการเงินหรือข่าวเศรษฐกิจอยู่เรื่อยๆ ก็น่าจะเคยเห็นหรือเคยได้ยินเขาพูดกันถึงเรื่องความผันผวนของตลาดหุ้นกันมาไม่มากก็น้อย
ซึ่งไอ่ความผันผวนนี้ ฝรั่งก็พยายามหาและวัดออกมาให้ได้ว่าความผันผวนเนี่ยมันคือยังไง ก็เลยมีการสร้างดัชนี้ความผันผวนขึ้นมาโดย Chicago Board Options Exchange (CBOE) โดยเรียกดัชนีนี้ว่า Volaililty Index หรือ VIX
โดย VIX นี้จะเป็นการวัดดัชนีของตลาดหุ้นแบบทันทีหรือ real time โดยดัชนีนี้จะแสดงถึงความคาดหวังที่มีต่อความผันผวนของตลาดหุ้นใน 30 วันข้างหน้า
ดัชนีนี้จะได้มาจากการใส่ราคาของออพชั่น (options) ของดัชนี S&P 500 ของสหรัฐ มันจะวัดถึงความเสี่ยงของตลาดและความอ่อนไหวของนักลงทุน (investors’ sentiments) นั่นเอง
หลายๆคนก็อาจจะรู้จักในนาม “Fear Gauge” หรือว่า “Fear Index” นักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้จัดการการลงทุนต่างก็มองไปที่ค่าของ VIX เพื่อหยั่งดูความเสี่ยงของตลาด ความกลัว และความกังวลต่างๆก่อนที่พวกเขาจะทำการตัดสินใจลงทุน
จากกราฟข้างล่างจะเห็นได้ว่าช่วงวิกฤติการเงินแฮมเบอร์เกอร์ในช่วงปี 2007-2008 ก็จะมีค่า VIX ที่โดดสูงขึ้นมามากกว่าปกติมาก
คอนเซปเรื่องการคำนวณค่าความผันผวนหรือ volatility นี้ก็จะต้องย้อนกลับไปถึงการประเมิณมูลค่าของออพชั่นโมเดลโดย Black และ Scholes ในปี 1973
โดย VIX นั้นถูกสร้างโดย Robert E. Whaley แห่งโรงเรียนธุรกิจ Fuqua ที่มหาวิทยาลัยดุค (Duke University) ในปี 1992 CBOE นั้นก็ได้ว่าจ้างให้โรเบิตร์ออกแบบสูตรคำนวณความผันผวนของตลาดหุ้นโดยยืนพื้นอยู่บนราคาจากตลาดออพชั่นของดัชนี S & P
และจากสูตรคำนวณของเขาและบันทึกราคาของดัชนีออพชั่นของ CBOE, ทำให้โรเบิตร์สามารถคำนวณระดับ VIX รายวันย้อนกลับไปได้ถึงเดือนมกราคมปี 1986 และก็ยาวมาเป็นดัชนีนึงที่นักลงทุนใช้เป็นตัววัดความกังวลและบรรยากาศการลงทุนมาจนถึงทุกวันนี้
อ้างอิง:
https://www.investopedia.com/terms/v/vix.asp
https://en.wikipedia.org/wiki/VIX
blenlit
hakwamroo.com
1 Pingback