อริสโตเติลเป็นบุคคลแรกที่ตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งใดก็ตามที่แม้ว่าจะมีประโยชน์แต่ถ้าหากว่าสิ่งนั้นมีมากเกินไปมันก็กลายเป็นไร้ประโยชน์มากกว่า
จากความคิดที่ว่ายิ่งเราบริโภคสินค้ามากขึ้นเท่าไหร่ ความพึ่งพอใจที่เราจะได้รับจากการบริโภคนั้นก็จะเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่ลดลง ความคิดนี้เป็นหนึ่งในทฤษฏีสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า กฏแห่งการลดลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (law of diminishing marginal utility)
คำว่าส่วนเพิ่ม (marginal) นี้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงจากจุดหรือของของสถานะปัจจุบัน เช่น การกินชอคโคแลตมากขึ้นอีกหนึ่งแท่ง (หลังจากกินชอคโกแลตไปแล้วอย่างน้อยหนึ่งแท่ง)
อรรถประโยชน์ (Utility) นั้นคือ ความพึงพอใจ หรือ ความเจ็บปวด จากการตัดสินใจที่จะบริโภคมากขึ้นอีกหนึ่งหน่วย ซึ่งจากทฤษฎีเศรษฐกิจการเมือง (1871) ของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษนามว่า วิลเลี่ยม เยวอน ได้แสดงให้เห็นว่า อรรถประโยชน์นั้นสามารถวัดได้ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับปริมาณของสินค้าที่มีอยู่
เส้นอุปสงค์ (demand curves)
แนวคิดของกฏการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มนี้เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์มีความยากลำบากในตอนนั้นที่จะเข้าใจว่าอะไรเป็นตัวกำหนดราคาของสินค้าต่างๆกันแน่
ถ้าทุกๆคนยอมรับกันในวงกว้างว่า ชอคโกแลตแต่ละแท่งที่เราจะบริโภคเพิ่มขึ้นไปนั้นจะทำให้มีเราความพึงพอใจลดน้อยลง มันก็ค่อนข้างจะเข้าท่าและดูเป็นเหตุเป็นผลว่าการที่เราจะต้องการชอคโกแลตเพิ่มอีกหน่วยนั้น (หลังจากที่กินไปหลายๆแท่ง ก็เริ่มจะไม่อยากกินแล้ว) ชอคโกแลตก็ต้องมีราคาที่ถูกลง เพราะว่าชอคโกแลตที่เพิ่มมาอีกแท่งนั้นจะให้ความพึงพอใจน้อยลง ดังนั้นเราก็จะซื้อเพิ่มเมื่อราคามันต่ำกว่าเดิมเท่านั้น
ดังนั้นผลลัพธ์ของมันก็คืออุปสงค์ (demand) จะมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้าม (inverse relationship กับราคา (price) เพราะราคาสูงขึ้น ก็จะมีความต้องการสินค้านั้นน้อยลง และเมื่อนำไปรวมกับอุปทาน (supply) ก็จะได้จุดสมดุล (equilibrium) หรือราคาของชอคโกแลตโดย “ธรรมชาติ”
อย่างไรก็ดี อาจจะมีข้อยกเว้นในหลายๆกรณีของกฏการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มนี้ก็คือเหมือนตอนหาจิ๊กซอชิ้นสุดท้ายเวลาที่เราต่อกัน ซึ่งชิ้นสุดท้ายนั่นมันจะค่อนข้างน่าพอใจเลยทีเดียวที่จะหา
ยาเสพติดหรือแอลกอฮอลก็ดูเหมือนจะเป็นข้อยกเว้นกลายๆ แบบว่ายิ่งบริโภคจะยิ่งเอ็นจอย (แต่ก็คงไปได้ถึงจุดนึงเช่นกันที่เสพยาต่อก็อาจจะตายได้ หรือกินแอลกอฮอลต่ออีกแก้วก็อาจจะอ้วกแตกแล้ว อะไรแบบนี้) และกฏนี้ก็มีข้อสมมุติฐานด้วยเช่นกัน เช่น การบริโภคนั้นควรจะต่อเนื่องในคราวเดียว เช่น การกินชอคโกแลตทั้งกล่องในคราวเดียวก็เป็นไปได้มากกว่าที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของกฏการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มนี้ มากกว่าการที่กินแล้วเว้นไปเป็นวัน หรือกินในหลายๆคราว
อย่างไรก็ดี กฏอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มนี้ก็มีการนำไปประยุกต์ใช้ที่สำคัญ ไม่ใช่เพียงแค่การกระจายรายได้เพื่อให้สังคมมีสวัสดิการโดยรวมที่มากขึ้นและเท่าเทียมกันมากขึ้นเท่านั้น ถ้ารัฐบาลเอาเงินหนึ่งร้อยบาทจากคนรวยที่รวยมากๆและเอาไปให้กับคนที่จนมากๆ ความพึงพอใจโดยรวมของสังคมนั้นก็ควรที่จะเพิ่มมากขึ้นด้วย
(ในกรณีนี้ผมว่าอาจจะมีคนไม่เห็นด้วยว่าไม่ควรไปบังคับเอาเงินจากคนรวยมาให้คนจน แต่นั้นเป็นอีกประเด็น และกฏนี้พูดถึงความพึงพอใจโดยรวมของสังคมว่า คนที่รวยมากๆ (แสนล้านแบบเจ้าของธุรกิจดิวตี้ฟรีในบางประเทศ) เสียเงินไปแค่หนึ่งร้อยบาทคงไม่เสียความพึงพอใจเท่ากับคนที่จนมากๆได้เงินหนึ่งร้อยบาท)
กฏความพึงพอใจนี้ก็ได้ใช้ขยายไปถึงสถานการณ์ในระดับบุคคลจะตัดสินใจในเหตุการณ์ต่างๆที่มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเกิดขึ้น พวกเขาก็จะตัดสินใจโดยยึดพื้นฐานจากความชอบ (preferences) ต่อสิ่งนั้นๆและมีการประเมินถึงผลลัพธ์ที่จะออกมาจากการตัดสินใจที่แตกต่างกันออกไป
ในช่วงทศวรรษ 1950 นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน ลีโอนา์ด เจ ซาเวจ ได้แสดงให้เห็นว่า ในขณะที่ต่างคนต่างตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ต่างๆกัน การตัดสินใจนั้นนอกจากจะมีผลกระทบในหลายๆระดับของความพึงพอใจที่แต่ละคนมีให้กับสินค้านั้นๆแล้ว (ชอบไม่เหมือนกัน) ยังรวมไปถึงระดับความอดทนต่อความเสี่ยงของแต่ละคนด้วย คนที่ไม่ชอบความเสี่ยงก็มักจะเลือกหรือตัดสินใจไปในทางที่ลดความเสี่ยงที่เขาจะเจอหรือต้องรับให้น้อยที่สุด
อ้างอิง:
The Economics Book: YOU ENJOY THE LAST CHOCOLATE LESS THAN THE FIRST
hakwamroo.com
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.