พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

การลดบทบาทของเงินดอลล่าห์สหรัฐในตลาดโลก (de-dollarisation)

ในยุคที่มีการใช้เงินดอลลาห์สหรัฐเป็นเงินสกุลกลางมากเป็นอันดับหนึ่งในโลกมายาวนานหลายสิบปีมานี้ การที่จะไปลดบทบาทของเงินสกุลนี้ในตลาดโลกก็คงจะไม่ใช่ง่ายๆ

อย่างไรก็ดี บทความจาก The Economist ฉบับล่าสุดก็มีการวิเคราะห์ถึงโอกาสที่เงินสกุลนี้จะโดนลดบทบาทลงจะด้วยเหตุผลอะไร เราก็ไปอ่านกัน

จากหัวเรื่องบทความ การที่อเมริกามีมาตราการคว่ำบาตรทางการค้าชาติอื่นๆมากขึ้นเรื่อยๆอย่างแข็งกร้าวนั้นก็จะส่งผลเสียต่อการที่เงินสกุลดอลล่าห์นั้นจะคงอยู่ต่อไปอย่างยาวนาน ทั้งพันธมิตรและคู่แข่งของอเมริกาเองก็กำลังมองหาทางเลือกอื่นอยู่เช่นกัน

ตั้งแต่ปีช่วงปี 1950 เป็นต้นมาที่สกุลเงินดอลล่าห์มีบทบาทสำคัญในบทบาทของโลกนั้นทำให้อเมริกามีอิทธิพลทางการเงินที่สำคัญต่อชะตากรรมของเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆในโลก แต่มีเพียงแค่ประธานธิบดีทรัมป์คนนี้เท่านั้นที่อเมริกามีการใช้พลังทางด้านนี้อย่างเป็นประจำและค่อนข้างจะเต็มที่ด้วยการก่อสงครามทางการเงินแบบนี้ ทำให้ประเทศอื่นๆก็เริ่มหาทางหลุดจากอำนาจของอเมริกาในด้านนี้อยู่

ในขณะนี้อเมริกามีมาตราการคว่ำบาตรทางการค้าและการเงินที่มากกว่า 30 โครงการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา ก็ได้ประกาศว่าอิรักอาจจะสูญเสียการเข้าถึงเงินสำรองเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้อิรักนั้นมีข้อจำกัดในการใช้เงินจากรายได้จากน้ำมัน และอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจของอิรักด้วย

อเมริกานั้นอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างดีในการใช้การสงครามทางการเงินในลักษณะของนโยบายต่างประเทศ เงินสกุลดอลล่าห์นั้นมีการใช้ในระดับโลกในลักษณะที่เป็น การนับหน่วยได้ การเก็บค่าได้ และเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน (ตามคุณสมบัติของเงินที่ควรจะพึงมีเลยอ่ะนะ) อย่างน้อย การซื้อขายข้ามพรหมแดนนั้นมากกว่าครึ่งก็กระทำกันในเงินสกุลดอลล่าห์ นั่นคิดเป็นถึงห้าเท่าของมูลค่าการนำเข้าของอเมริกาเองและสามเท่าของมูลค่าส่งออกเมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้าส่งออกของโลกเลยทีเดียว สกุลเงินดอลล่าห์นั้นเป็นสกุลเงินที่ธนาคารกลางและตลาดทุนทั่วโลกใช้ในการออกหลักทรัพย์หรือเป็นเงินตราสำรองระหว่างประเทศถึงสองในสามเลยทีเดียว

อเมริกาเริ่มที่จะใช้ประโยชน์ทางการเงินอย่างจริงตังหลังจากการก่อการร้ายเมื่อ 9/11 ปี 2001 ด้วยการเริ่มมีค่าปรับที่สูงมากสำหรับแบงค์ต่างชาติที่มีการฟอกเงินหรือการคว่ำบาตรทางการค้า คุณทรัมป์ได้มีการใช้การเงินเป็นอาวุธขึ้นไปอีกระดับ (ดูกราฟ) ด้วยการใช้มาตราการทางการเงินนี้บี้อิหร่าน เกาหลีเหนือ และรัสเซีย มีตุรกีช่วงสั้นๆ รวมไปถึงเวเนซูเอล่าและประเทศอื่นๆด้วย

คลังอาวุธของทรัมป์ก็รวมไปถึงกำแพงภาษี หรือการโจมตีด้วยกฏหมายกับบริษัทต่างๆอย่างที่หัวเหว่ยโดนกันไปที่ถูกกล่าวหาว่าคอยสอดแนมให้กับทางจีน

การใช้เงินดอลล่าห์ในการขยายขอบเขตทางกฏหมายและนโยบายของอเมริกาอาจจะเหมาะกับคำประกาศกร้าวทางลัทธิและมูลค่านิยมของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ว่า “อเมริกามาก่อน” แต่ประเทศอื่นๆนั้นก็มองว่าเป็นการใช้อำนาจในทางที่ผิด ซึ่งรวมไปถึงคู่ปรับอย่างจีนและรัสเซีย

ประธานธิบดีปุตินของรัสเซีสนั้นบอกว่าการใช้เงินดอลล่าห์นั้นเป็น “อาวุธทางการเมือง” พันธมิตรอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสก็กังวลเช่นกันว่าอเมริกานั้นอาจจะมีบทบาทน้อยลงในความเป็นระเบียบเรียบร้อยในวงการการค้าโลก และท้ายที่สุดแล้วอาจนำไปสู่การถอยหลังของการเป็นมหาอำนาจโลกในด้านการเงิน หากประเทศอื่นๆเริ่มหาทางที่จะเอาเงินสกุลดอลล่าห์ลงจากบังลังก์นี้

ลักษณะการทดลองใหม่ๆของการเงินระหว่างประเทศในยุคใหม่นี้ก็คือการลดการถือครองหลักทรัพย์ที่อยู่ในรูปของเงินสกุลดอลล่าห์ ด้วยการลองใช้สกุลเงินท้องถิ่นและ สวอป (swaps) รวมไปถึงกลไกการจ่ายเงินระหว่างธนาคารถึงธนาคารเลย และรวมไปถึงสกุลเงินแบบดิจิตอล

รัสเซียดูเหมือนจะวุ่นวายที่สุดในการลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลล่าห์ในระบบการเงินของประเทศ ตั้งแต่ปี 2013 ธนาคารกลางของรัสเซียได้ลดส่วนแบ่งสกุลเงินดอลล่าห์ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลงจากมากกว่า 40% เหลือเพียง 24% และเมื่อไม่นานมานี้กระทรวงการคลังของรัสเซียก็ได้ประกาศแผนที่จะลดส่วนแบ่งเงินดอลล่าห์ลงในกองทุนของประเทศที่ตอนนี้มีมูลค่า 125 พันล้านเหรียญ “เราไมไ่ด้พยายามที่จะทิ้งเงินสกุลดอลล่าห์ แต่เงินดอลล่าห์ต่างหากที่กำลังทิ้งเรา” ประธานาธิบดีปุตินได้กล่าวไว้

หนี้ของรัสเซียก็กำลังพยายามลดเงินดอลล่าห์ลงเช่นกัน การออกหนี้ใหม่ๆนั้นจะอยู่ในรูปรูปรูเบิ้ล หรือ ยูโร และรัฐบาลก็กำลังศึกษาที่จะออกหนี้ในรูปสกุลเงินหยวนเช่นกันสำหรับตราสารหนี้หรือพันธบัตร แต่ในทางกลับกัน บริษัทรัสเซียและครัวเรือนต่างๆก็ยังจะชอบเงินดอลล่าห์อยู่เมื่อพูดถึงหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ พวกเขาถือมูลค่ารวมกันที่ 8 หมื่นล้านเหรียญเลยทีเดียวซึ่งมากกว่าปี 2014 อีก แต่ก็อาจเป็นได้ว่าดอกเบี้ยที่ได้จากการถือครองหลักทรัพย์ในรูปของเงินดอลล่าห์อาจจะได้มากกว่ายูโร ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าจะโดนอเมริกาออกมาตราการคว่าบาตรมาภายหลัง ทำให้คนยังถือครองหลักทรัพย์ในรูปของเงินดอลล่าห์มากขึ้นกว่าเดิม

แล้วจีนจะตามรัสเซียไปแนวนี้มั้ย? ท่านทรัมป์ได้ทำให้ทุกคนเห็นถึงจุดอ่อนของจีนในด้านนี้แล้วว่าระบบการเงินของจีนนั้นยึดติดและพึ่งพาเงินดอลล่าห์มากเกินไป ความสามารถของอเมริกาในการที่จะขึ้นบัญชีดำหรือทำให้บริษัททางด้านเทคโนโลยีจากจีนเกิดอาการโขยกเขยก อย่างเช่นหัวเหว่ยได้นั้น สุดท้ายแล้วก็ลงโทษผู้ผลิตและคู่ค่าต่างๆที่ทำธุรกิจกับหัวเหว่ยไปด้วย

ความพยายามแรกของจีนที่จะก้าวข้ามการพึ่งพาสกุลเงินดอลล่าห์นั้นก็ผิดพลาดและบุ่มบ่ามไปหน่อย หลังจากวิกฤตการเงินในปี 2007-2009 จีนก็ได้พยายามโปรโมทการใช้เงินสกุลหยวนในระดับนานาชาติและก้อพยายามกดดันให้เงินหยวนกลายเป็นส่วนนึงของ IMF “Special Drawing Rights” (สิทธิที่ IMF มีให้ประทศในการเคลมสกุลเงินสำหรับประเทศสมาชิก) แต่ในปี 2015 ที่ตลาดหุ้นเกิดอาการตื่นตระหนกและรัฐบาลก็คุมการไหลของทุนอย่างเฟอะฟะ ทำให้ส่วนแบ่งเงินหยวนในตลาดโลกสำหรับการใช้จ่ายนั้นก็นิ่งอยู่ที่ 2% อยู่หลายปี แม้กระทั่ง ซู เสียวฉวน ผู้ว่าคนก่อนของธนาคารกลางจีนก็บอกว่าการผลักดันให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลของโลกที่เขาพยายามโปรโมทระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งอยู่นั้นก็ค่อนข้างเร็วเกินไป

มีหลุมหลบภัยอยู่ข้างบนมั้ย?

การทดสอบที่แท้จริงของการเป็นสกุลเงินสำรองนั้นต้องวัดกันเมื่อถึงเวลาวิกฤตการเงิน เอ็ดสวอร พลาซาด จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลได้เขียนไว้ในหนังสือ “The Dollar Trap” ว่าเงินอเมริกันนั้นจะมีประโยชน์ในช่วงเวลาที่มีความโกลาหล วิกฤตการเงิน 2007-2009 นั้นเริ่มมาจากอเมริกา ซึ่งก็ดูเหมือนจะขัดๆกัน แต่ว่าก็ช่วยส่งเสริมสถานะว่ามีหลุมหลบภัยที่ปลอดภัยจริงๆสำหรับเงินสกุลนี้

เมื่อการค้าระหว่างประเทศ การออม การกู้ยืม และการตั้งสำรองนั้นเกิดขึ้นจากสกุลเงินเดียวกัน จุดแข็งเหล่านี้ยิ่งจะส่งเสริมซึ่งกันและกัน ไม่มีตลาดทุนไหนที่สามารถทำได้เท่ากับอเมริกาสำหรับความลึกและสภาพคล่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญหลักเลยเมื่อถึงเวลาต้องเลือกว่าจะใช้เงินสกุลไหนสำหรับการค้าขาย

เจฟฟรี แฟรงเคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิดนั้นบอกไว้ว่า แม้ว่าการมีอำนาจทางการเงินนั้นจะขึ้นอยู่กับส่วนผสมต่างๆไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลทางเศรษฐกิจ หน้าที่ตามสมควร หรือว่าความถูกต้องตามกฏหมายนั้น และวิธีการสไตล์การต่อสู้ของอเมริกาในกำลังใช้อยู่นี้ก็เริ่มจะคุกคามและเป็นภัยต่ออำนาจของดอลล่าห์ในตอนนี้

ในปี 2016 ในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการการคลังของอเมริกานั้น แจ๊ค ลูว์ ได้บอกกับผู้ฟังในวอชิงตันว่า “มันเป็นความผิดพลาดที่จะคิดว่าการคว่ำบาตรทางการค้านั้นมีต้นทุนที่ต่ำ และถ้ามันทำให้บรรยากาศการลงทุนนั้นซับซ้อน หรือไม่สามารถทำนายได้ หรือมีการแทรกแซงกับการไหลของเงินทุนทั่วโลกที่มากเกินไปนั้น ธุรกรรมทางการเงินต่างๆก็อาจจะย้ายออกไปนอกประเทศอเมริกาเลยก็ได้ ซึ่งนั่นก็จะทำให้บทบาทการเป็นสูญเสียทางระบบการเงินของโลกของอเมริกานั้นสั่นคลอนได้ นี่ยังไม่รวมถึงประสิทธิภาพของมาตราการการคว่ำบาตรในอนาคตอีกด้วยนะ”

ในขณะที่รัฐบาลทรัมป์นั้นมีการใช้มาตราการการคว่ำบาตรต่อไปเรื่อยๆอย่างแข็งกร้าวนั้น ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงดอลล่าห์ก็ยิ่งจะมีมากขึ้น อเมริกาไม่ได้มีอำนาจผูกขาดในด้านความฉลาดความช่างคิดทางด้านการเงิน (นะครับ)

Reference:

https://www.economist.com/briefing/2020/01/18/americas-aggressive-use-of-sanctions-endangers-the-dollars-reign

https://www.investopedia.com/articles/forex-currencies/092316/how-us-dollar-became-worlds-reserve-currency.asp

https://en.wikipedia.org/wiki/Special_drawing_rights

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply