พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

ข้อดีและข้อเสียของการดำเนินนโยบายการขาดดุลทางการค้า (Trade Deficit)

เมื่อเห็นหัวข้อก็เกิดอาการงงว่าการขาดดุลทางการค้านั้นมีข้อดีด้วยเหรอ จากเว็บไซท์ investopedia ยอดนิยมเกี่ยวกับการลงทุนนั้นก็มีอธิบายข้อดีข้อเสีย (pros and cons) ของการดำเนินนโยบายแบบขาดทุนการค้าไว้แล้วใช่กัน

ขนาดนักเศรษฐศาสาตร์ยังไม่สามารถตกลงกันได้ด้วยซ้ำไปสำหรับคำถามง่ายๆนี้ว่าไอ่การขาดดุลทางการค้าเนี่ย มันดี มันแย่ มันมีผลต่อประเทศและเศรษฐกิจของประเทศมากน้อยแค่ไหน

นั่นก็เป็นเพราะว่ามันมีตัวแปรอื่นๆมาเกี่ยวข้องด้วยอย่างมากมาย กระทั่งที่ว่าตัวแปรที่มากมายเหล่านั้นสามารถทำให้เกิดการขาดดุลทางการค้าที่มีหลายๆทางที่อาจจะช่วยหรือเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจหรือสะท้อนแง่มุมของเศรษฐกิจนั้นๆออกมาทั้งด้านดีและไม่ดี

การขาดดุลทางการค้า (Trade Deficit) เนี่ยมันคืออะไร

การขาดดุลการค้าจะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าของการนำเข้า (import) ทั้งหมดของประเทศนั้นๆมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าการส่งออก (export) ทั้งหมด โดยการนำเข้าและส่งออกนั้นจะหมายถึงสินค้าที่จับต้องได้และบริการ ว่ากันง่ายๆก็คือการขาดดุลทางการค้าก็คือประเทศนั้นซื้อสินค้าและบริการมากกว่าขายนั่นแหละ (ในระดับบุคคลก็เหมือนใช้จ่ายเงินมากกว่ารายได้ที่มี) ซึ่งอาจจะเข้าใจได้ว่าเหตุการณ์แบบนี้มักจะส่งผลต่อการสร้างงานและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศที่มีการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี การขาดดุลทางการค้านั้นไม่ถึงกับว่าดีหรือแย่ไปทั้งหมด และมันก็สามารถสื่อถึงเศรษฐกิจที่แข็งแรง และภายใต้เงื่อนไขบ้างอย่างสามารถนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ในอนาคตสำหรับประเทศที่ดำเนินนโยบายขาดดุลทางการค้าก็ตาม

ยิ่งอ่านก็ยิ่งงงเนาะว่าการซื้อสินค้าและบริการมากกว่าการขายสินค้าและบริการทำให้เกิดการขาดดุลนั้นจะนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างไร

สำหรับหลายๆประเทศในโลกแห่งเศรษฐกิจนี้แล้ว การขาดดุลทางการค้าก็เป็นเหมือนความไม่สมดุลระหว่างเงินออม (savings) และอัตราการลงทุน (investment rates) ในประเทศ หมายความว่าประเทศนั้นใช้จ่ายเงินในการนำเข้าสินค้าและบริการมากกว่ารายได้ที่ประเทศทำได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ และภายในกฏทางบัญชีของระบบเศรษฐกิจแล้วประเทศก็ต้องหาเงินมาเติมสำหรับส่วนต่างที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาที่มีการขาดดุลทางการค้ากับประเทศจีนอย่างมากจนเกิดสงครามทางการค้าระหว่างสองประเทศนี้ (trade war) โดยประธานธิบดีทรัมป์ก็ใช้เป็นข้ออ้างในการทำสงครามทางการค้ากับจีนต่างๆนาๆอย่างที่เราเห็นกันเพราะอ้างว่าจีนเอาประเทศอเมริกามากเกินไปทางด้านการค้า ทำให้ประเทศอเมริกาเสียเปรียบทางการค้าอย่างมาก ดังนั้นอเมริกาก็ต้องหาเงินมาเติมด้วยการยืมเงินจากต่างประเทศหรืออนุญาติให้ต่างช่าตินำเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ของอเมริกานั่นเอง

การกู้ยืม (borrowing) และการลงทุนจากต่างประเทศ (foreign investment) นี้อาจมองได้ว่าเป็นสร้างความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศอเมริกาและเป็นแหล่งการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ถ้าเงินที่ถูกยืมมาหรือการลงทุนจากต่างประเทศนั้นมีการใช้ประโยชน์อย่างฉลาดแล้ว เช่น การลงทุนในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นี่เป็นกรณีเดียวกับที่เกิดขึ้นในอเมริกามาหลายทษวรรษในช่วงปี 1800 เงินถูกนำไปสร้างทางรถไฟและสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆที่ช่วยให้อเมริกานั้นมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้

ประเทศเกาหลีใต้ก็มองเห็นการลงทุนในลักษณะคล้ายๆกันนี้เช่นกันและได้มีการดำเนินนโยบายการขาดดุลทางการค้าเช่นกันในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990

แต่สำหรับประเทศที่เล็กๆที่มีการดำเนินนโยบายการขาดดุลทางการค้า และมีการลงทุนจากต่างประเทศ (capital inflow) และมีการเข้าถือครองหนี้ของรัฐบาลโดยต่างชาตินั้นก็อาจจะมีความเสี่ยง

หลายๆประเทศในเอเซียตะวันออกอย่างไทยเรา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย นั้นมีการขาดดุลทางการค้าที่ค่อนข้างมากในช่วงทศวรรษ 1990 และมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามามาก และเงินลงทุนนั้นก็ไม่ได้มีการใช้ หรือมีการจัดการอย่างฉลาดหรือมีประสิทธิภาพมากมาย (คงรู้ๆกันเนาะว่าทำไม) และเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 1997 และ 1998 นักลงทุนจากต่างประเทศนั้นก็พากันหนีออกไปอย่างว่องไว ซึ่งก็ค่อนข้างจะเจ็บปวดสำหรับคนที่ได้รับผลกระทบเต็มๆในตอนนั้น

การขาดดุลทางการค้าและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน การมีการเกินดุลทางการค้านั้นก็ไม่ได้จำเป็นว่าต้องมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่นนั้นมีการเกินดุลทางการค้า (นำเข้าน้อยกว่าส่งออก) มาตลอดหลายๆทศวรรษที่ผ่านมาก แต่ว่าเศรษฐกิจก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้นมากอย่างที่เห็นกันมา เยอรมันก็เช่นกัน มีการเกินดุลทางการค้าแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นก็ค่อนข้างจะเป็นไปอย่างธรรมดา

นักเศรษฐศาสาตร์บางคนบอกว่าการขาดดุลทางการค้านั้นจะส่งผลเสียต่ออัตราการจ้างงาน อย่างน้อยก็บางเซคเตอร์ แต่บางคนก็บอกว่ามันจะไปช่วยชดเชยการเจริญเติบโตของงานในด้านอื่นๆแทน

นักเศรษฐศาสตร์นั้นค่อนข้างจะมีความเห็นไม่ตรงกัน (เป็นปกติ) ถึงผลกระทบของการขาดดุลทางค้าที่มีต่ออัตราการจ้างงาน บางคนบอกว่าการนำเข้านั้นลดการจ้างงานภายในประเทศ แต่บางคนบอกว่ามันจะช่วยให้มีการจ้างงานมากขึ้นในเซคเตอร์ที่มีความเชื่อมต่อ (จากการนำเข้า) ของการค้านั้นๆเอง การสูญเสียงานนั้นก็จะจำกัดอยู่ใเฉพาะบางเซคเตอร์

จากการค้นคว้าของสำนักนโยบายทางเศรษฐกิจ (Economic Policy Institute) นั้นพบว่าการพุ่งขึ้นอย่างมากของการนำเข้าสินค้าและบริการจากจีนนั้นส่งผลต่ออเมริกาประมาณ 3.4 ล้านตำแหน่งงานที่เสียไประหว่างปี 2001 ถึง 2015 และ 75% ของงานเหล่านั้นอยู่ในภาคการผลิต นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่นักการเมืองอเมริกานั้นจึงเอาประเด็นการขาดดุลทางการค้ามาเล่นกับจีนบ่อยๆครั้ง

อ้างอิง:

https://www.investopedia.com/articles/investing/051515/pros-cons-trade-deficit.asp

Leave a Reply

%d bloggers like this: