พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

The Price of Happiness (ความสุขราคาเท่าไหร่)

อาเธอร์ โชเพนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer) นักปรัชญาชาวเยอรมันเคยกล่าวไว้ว่า “เงินเป็นความสุขของมนุษย์ในทางนามธรรมเท่านั้น ผู้ที่ไม่สามารถแสวงหาความสุขจากสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นรูปธรรมก็จะอุทิศตัวเองทั้งหมดให้กับเงิน”

เดือนมีนาคม 1968 เป็นเวลา 3 เดือนก่อนที่โรเบิร์ต เคนเนดี้ (Robert Kennedy) จะถูกยิงตาย เขาเคยวิจารณ์อย่างแสบๆไว้อย่างนึงถึงประเด็นที่ว่าประเด็นชาติของเขายึดติดกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากเกินไป

Gross National Product (GNP: ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น เป็นมาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศแบบหนึ่งที่ใช้แสดงมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ) นับมลพิษทางอากาศ นับการโฆษณาบุหรี่ นับรถพยาบาลที่วิ่งผ่านทางด่วนสำหรับหายนะต่างๆ นับกุญแจล็อคพิเศษสำหรับบ้านของเราและก็จับคนที่พังกุญแจนั้นขังคุก นับการทำลายป่าไม้และการสูญเสียแหล่งท่องเที่ยงทางธรรมชาติที่สำคัญเต็มไปหมด

แต่เจ้า GNP เนี่ย กลับไม่ได้นับสุขภาพของลูกหลานเรา ไม่ได้นับคุณภาพการศึกษาหรือความสุขจากการได้เล่นของลูกหลานเรา มันไม่รวมความสวยงามของกวีหรือความเข้มแข็งของการสมรสอยู่ด้วยกันของเรา มันไม่ได้นับความฉลาดของการถกเถียงทางสาธารณะกันอย่างเปิดเผย มันไม่ได้นับความซื่อตรงบริสุทธิ์ของเจ้าหน้าที่รัฐของเรา มันไม่ได้วัดทั้งปัญญาหรือความกล้าหาญของเรา ไม่ได้วัดความฉลาดหลักแหลมหรือการเรียนรู้ของเรา ไม่ได้วันความเห็นใจหรือความทุ่มเทให้กับประเทศของเรา หรือสั้นๆก็คือ มันวัดทุกอย่าง ยกเว้นสิ่งที่ทำให้ชีวิตเราคุ้มค่า

ภูฐาน ประเทศเล็กๆที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในเทือกเขาหิมาลัย ได้ขยายไอเดียนี้มากขึ้นไปอีกด้วยการตั้งตัววัดนึงขึ้นมาที่เรียกว่า “gross national happiness” หรือดัชนี้วัดความสุขของคนในประเทศ ซึ่งดัชนีนี้จะประเมินนโยบายและติดตามเฝ้าดูถึงความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศว่าเป็นอย่างไร

กษัตร์ยจิ๊กมี่ วังชุก ได้ตั้งคำนี้ขึ้นมาในปี 1972 แต่มันเป็นจริงขึ้นมา 36 ปีถัดมาเมื่อภูฐานมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก และชาวภูฐานก็ได้อนุมัติรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมาและตั้งดัชนีวัดความสุขเป็นที่แรกของโลก

ความสุขคืออะไร (what happiness is)

นักจิตวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสุขนั้นเห็นด้วยกันว่าควรจะเรียกมันว่า “ความเป็นอยู่แบบนามธรรม” ซึ่งประกอบไปด้วยสามส่วนคือ ความพึงพอใจในชีวิต ว่าผู้คนมองชีวิตตนเองกันเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับสิ่งที่อยากจะเป็น ความรู้สึกด้านบวก เช่น ความสนุกสาน และการไม่มีความรู้สึกด้านลบ เช่น ความโกรธ สิ่งเหล่านี้สามารถวัดคุณภาพของชีวิตแบบเป็นรูปธรรมได้ ประเทศที่ประชากรมีความสุขกว่า จะมีค่าเฉลี่ยของระดับความดันในเลือดที่ต่ำกว่าประเทศที่มีความสุขน้อยกว่า

นักจิตวิทยาชื่อดัง ซิกมุน ฟลอยด์ ได้กล่าวไว้ว่า ผู้คนจะแสวงหาความสุข พวกเขาต้องการมีความสุข และต้องการที่จะรักษาความสุขนั้นไว้ ในทางเศรษฐศาสตร์จะแปลคำว่าความสุขเป็น “utility” หรือความพึงพอใจจากการกระทำหรือจากเหตุการณ์ต่างๆ

ความสุขบนพื้นคอนกรีต

แน่นอนว่าความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินอย่างเดียว คนที่ไม่มีเซ็กซ์มักจะบอกว่ามีความสุขน้อยกว่าคนที่มีเซ็กซ์อยู่เรื่อยๆ ในพื้นที่ที่มีอัตราว่างงานสูง อาชญากรรมสูง เงินเฟ้อสูง หรือมลพิษสูง ก็มักจะไม่มีความสุข คนที่มีความสุขกว่ามักจะเป็นคนที่แต่งงาน มีโอกาสหย่าน้อย และมีเพื่อนมาก อะไรแบบนี้

ในปี 2000 รัฐนึงในประเทศเม็กซิโกได้ทำการทดลองด้วยการวัดความสุขระหว่างผู้ที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน กับผู้ที่อาศัยอยู่บนพื้นคอนกรีต ปรากฏว่าพื้นคอนกรีตทำให้มีโรคน้อยกว่า สุขภาพเด็กๆดีกว่า พัฒนาการเด็กๆดีกว่า และแม่ๆก็มีความสุขมากกว่า ในกรณีนี้การเทพื้นคอนกรีตด้วยต้นทุนแค่ 150 เหรียญต่อครอบครัวก็ทำให้คนมีความสุขมากกว่าเดิมได้จริงๆ เมื่อเห็นว่าประสพความสำเร็จแบบนี้ รัฐบาลเม็กซิโกจึงได้ขยายโปรแกรมนี้ไปทั่วประเทศเลย

สายพานแห่งความสุข

มันมีข้อจำกัดของการเชื่อมโยงระหว่างเงินและความสุข ซึ่งมันก้อสืบสันดานมาจากลักษณะเฉพาะของมนุษย์อย่างนึงนี่แหละ ซึ่งก็คือความสามารถในการปรับตัวของเรานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์จากการสูญเสียอวัยวะส่วนสำคัญ การที่คนรักตายจากไป การเกี้ยวพาราสีไปจนถึงหลังแต่งงาน (ซึ่งความสุขมักจะขึ้นสูงสุดในปีที่แต่งงาน แล้วก้อจะตกลงมาระดับเดิม) และสิ่งเหล่านี้ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นมันก็จะทำให้ความสุขหดหาย แต่พอใช้เวลาแล้วมนุษย์เราก็จะสามารถปรับตัวได้ ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ก็จะเกิดขึ้นกับคนที่รวยขึ้นเช่นกัน คนที่ถูกหวยเป็นล้าน ในช่วงหกเดือนแรกก็มักจะมีความสุขล้นเหลือ แต่สักพักก้อจะกลับไปสู่ระดับเดิมๆอยู่ดี

ในปี 1970 นักเศรษฐศาสตร์ ริชาร์ด อีสเตอร์ลิน แห่งมหาลัย เซ้าท์เทินแคลิฟอเนีย ได้ค้นพบสิ่งที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์แห่งความสุขไว้ว่า แม้ว่าอเมริกาจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย แต่คนอเมริกันนั้นไม่ได้มีความสุขมากกว่าตอนสงครามโลกครั้งที่สองจบลงอย่างมากมายแบบมีนัยสำคัญ

การปรับตัวนี้ก็จะอธิบายถึงแนวโน้มนี้ได้ อีสเตอร์ลินได้แนะว่าแม้ว่าความสุขอาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับความเป็นอยู่แบบโดดๆด้วยตัวของมันเอง แต่ชอบเอาไปเปรียบเทียบกับความเป็นอยู่ของคนรอบข้างตัวเรามากกว่า เรามักจะมีความสุขกว่าถ้าเรามีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเพื่อนบ้านรอบๆเรา

นักเศรษฐศาสตร์คนอื่นๆก็พบตัวอย่างคล้ายๆกันตั้งแต่นั้นมาถึงความสุขโดยธรรมชาติที่มาจากการเปรียบเทียบนี้ คนมักจะไม่รู้สึกมีความสุขเมื่อเห็นเพื่อนบ้านมีเงินเยอะกว่า หรือพูดแบบหยาบๆ แม้การเสียเงินหนึ่งพันเหรียญก็จะรู้สึกไม่ค่อยพอใจอยู่ละ แต่หากเห็นเพื่อนบ้านได้เงินเพิ่มขึ้นมาหนึ่งพันเหรียญก็จะไม่มีความสุขมากกว่า (เรื่องมากเนาะมนุษย์)

อัตราการฆ่าตัวตายก็มักจะสูงในพื้นที่ที่มีความแตกต่างระหว่างคนทำเงินได้สูงๆกับคนปกติทั่วไป นักเศรษฐศาสตร์ก็ยอมรับกันว่า เงินนั้นอาจจะทำให้คนจนมากๆมีความสุขได้หากเงินนั้นมันสามารถเปลี่ยนชีวิตหรือทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เขาดีขึ้นมากๆ แต่เมื่อมันเลยจุดๆหนึ่งไปแล้ว มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะมีมากเพิ่มไปอีก

คนรวยอาจจะมีความสุขกว่าคนจน แต่การที่รวยขึ้นไม่ได้ทำให้เขามีความสุขขึ้น อย่างน้อยก็ได้อีกไม่นาน เพราะว่าสุดท้ายพวกเขาก็ต้องปรับตัวกับสิ่งใหม่ๆอยู่ดีแม้ว่ารายได้จะขยับเพิ่มไปอีกขึ้นก้อตาม และก็จะเริ่มเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่รวยกว่ารอบตัวอยู่ดี

อย่างไรก็ดี ความสามารถในการปรับตัวก็เป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์เหมือนกัน นักเศรษฐศาสตร์ แกรี่ เบคเกอร์ และ ลูอิส ราโย ก็แย้งว่าความสามารถในการปรับตัวของเราทำให้เกิดวิวัฒนาการด้วยเช่นกัน ถ้าความก้าวหน้าเป็นตัวกระตุ้นให้เรามีความสุขแม้แค่ชั่วราว เราก็จะมีการถูกกระตุ้นให้มีการพัฒนาตลอดเวลา แรงผลักดันที่ไม่หมดสิ้นจะทำให้เรามีโอกาสในการอยู่รอดมากกว่า

แหม่ จริงๆการจะตีราคาความสุขว่ามีราคาเท่าไหร่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆอยู่ละ เพราะแต่ละคนมีวิถีชีวิตมีรูปแบบ มีความชอบที่ไม่เหมือนกัน แต่หลังจากอ่านแล้ว ดูเหมือนว่าสิ่งที่ทุกๆคนคงหนีไม่พ้นก็คือต้องมีเงินจำนวนนึงเพื่อที่จะให้อยู่ในสังคมได้อย่างไม่ลำบากทางกายหรือทางใจจนเกินไปนัก และเมื่อพอมีเงินถึงระดับนึง เงินก็จะมีความสำคัญน้อยลงหรือจนถึงขั้นที่ว่าไม่เกี่ยวข้องกับความสุขเลย

จากการประชุมผู้ถือหุ้นของ Berkshire Hathaway เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปู่วอเรนก็บอกว่ามันไม่มีความเกี่ยวข้องกันเท่าไหร่เลยจากจำนวนเงินที่คุณมี กับความสุขที่คุณจะได้ หากคุณมีเงินห้าหมื่น (เหรียญ) แล้วคุณยังไม่มีความสุข ต่อให้คุณมีห้าสิบล้าน (เหรียญ) คุณก็น่าจะไม่มีความสุขอยู่ดี

อ่านแล้วฟังแล้วก็ต้องสะท้อนตัวเราเองว่าเรามีความสุขกับอะไรและแบบไหนอ่ะเนาะ

อ้างอิง: Chapter Three: The Price of Happiness จากหนังสือ The Price of Everything By Eduardo Porter

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply