พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Finance

The power and the limits of the American dollar (อำนาจและขีดจำกัดของเงินดอลลาห์สหรัฐฯ)


สกุลเงินสีเขียวนี้ยังคงเป็นเจ้าอยู่ แต่ผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงมันก็กำลังพยายามหาทางอื่นอยู๋

A person counts U.S. dollar banknotes. Photographer: Moe Zoyari/Bloomberg

The Economist

มันเกิดขึ้นเป็นระยะๆที่ความอยากได้เงินสำรองทางเลือกอื่นนอกจากเงินดอลลาห์ และช่วงนี้ตลาดก็ขึ้นสู่จุดสูงในการพยากรณ์ถึงความพิการของสกุลเงินเขียวในเร็วๆนี้ เป็นเวลาเกือบ 3 ใน 4 ของศตวรรษแล้ว ที่ดอลลาห์ได้ครอบครองการซื้อขาย การเงิน และเป็นที่พักทุนในวันที่ตลาดเกิดความปั่นป่วนไม่แน่นอนในระดับโลกของธนาคารกลางต่างๆ แต่อัตราเงินเฟ้อในระดับสูง การแตกเป็นฝักเป็นฝ่ายของการเมืองทั่วโลก การคว่ำบาตรโดยอเมริกาและพวกพันธมิตรต่อประเทศต่างๆเช่นรัสเซียเมื่อไม่นานนี้ได้ส่งผลให้คนที่สงสัยในเงินดอลลหา์อยู่แล้วเริ่มเสียงดังขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

บ่อยๆครั้งที่เหตุการณ์เหล่านี้จะถูกเติมเชื้อเพลิงโดยความกระวนกระวายใจของเหล่าผู้นำโลกที่มีต่อเงินดอลลาห์ ในปี 1965 Valéry Giscard d’Estaing รัฐมนตรีกระทรวงการคลังในตอนนั้น ก็ได้โมโหโกรธาต่อ สิทธิพิเศษที่มากเกินไป ของเงินเขียวที่มอบให้กับอเมริกา แต่ในครั้งนี้เป็น Luiz Inácio Lula da Silva ประธานาธิบดีของบราซิล ที่เมื่อยามไปเยือนประเทศจีน ได้เรียกร้องให้เราประเทศตลาดเกิดใหม่นั้นทำการซื้อขายโดยใช้สกุลของตัวเอง และในขณะเดียวกัน การพุ่งขึ้นของราคาทองคำและการลดลงของสัดส่วนเงินสำรองของโลกของเงินดอลลาห์ก็ได้เร่งเร้าคนอื่นๆที่มีความสงสัยอยู่แล้ว และก็มีการชี้ให้เห็นจากในเดือนที่ผ่านมา จาก Janet Yellen เลขาธิการการคลังของสหรัฐฯ ว่าการคว่ำบาตรนั้นเมื่อกินเวลานานๆไปจะบั่นทอนความเป็นเจ้าโลกของสกุลเงินดอลลาห์เอง และมันก็ไม่ใช่เลยที่อเมริกาเองก็กำลังจะมีวิกฤตการคลัง หากสภาคองเกรสไม่สามารถตกลงขยับเพดานหนี้ที่เป็นตัวกำหนดว่ารัฐบาลจะสามารถกู้ยืมเงินได้เท่าไหร่ได้

แต่ความตื่นเต้นของเหล่าผู้เคลือบแคลงสงสัยในสกุลเงินนั้นก็กลายเป็นแยกออกจากความเป็นจริงไปหน่อย เงินเขียวเนี่ยส่งแรงโน้มถ่วงต่อเศรษฐกิจโลกอย่างทรงพลังและก็ยังไม่ได้อ่อนตัวลงอย่างเป็นรูปเป็นร่างเลย แม้ว่าเมื่อไม่นานมานี้อเมริกาเองก็ค้นพบว่ามันมีอุปสรรคอยู่ที่จะใช้ประโยชน์จากความเป็นเจ้าโลกของสกุลเงินตัวเองก็ตาม

จุดเริ่มต้นของความได้เปรียบของดอลลาห์นั้นมากมายนัก ระหว่าง 1 ใน 3 ถึงครึ่งหนึ่งของการซื้อขายทั่วโลกนั้นมีการเรียกเก็บเงินกันในรูปสกุลเงินดอลลาห์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างจะเสถียรมาเป็นเวลานาน และเกือบ 90% ของการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราก็เกี่ยวข้องกับดอลลาห์ นั่นก็คือสภาพคล่องของเงินเขียวที่มี อย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะแลกเปลี่ยนเงินยูโร เป็น เงินฟรังก์ของสวิสฯ มันก็จะถูกกว่าถ้าจะทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนผ่านดอลลาห์ แทนที่จะแลกเปลี่ยนกันตรงๆ การออกตราสารหนี้ระหว่างประเทศประมาณครึ่งหนึ่งก็อยู่ในรูปของเงินดอลลาห์ และแม้ว่าสัดส่วนของเงินสำรองของธนาคารกลางในรูปของดอลลาห์จะค่อยๆลดลงมาก็ตาม แต่มันก็ยังอยู่อยู่ในระดับ 60% ของทั้งหมด และมันก็ยังไม่มีสัญญาณชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้ ซึ่งก็เกิดมาจากการรักษากลไกนั้นไว้โดยธนาคารกลางเพื่อใช้ในการตีมูลค่าพอตโฟลิโอที่ต้องคอยติดตามการเคลื่อนไหวจากอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในอเมริกา

ซึ่งในระบบนิเวศน์นี้ก็ไม่มีสกุลเงินใดๆสามารถทำได้ใกล้เคียงเลยในระดับขนาดนี้ หรือแม้แต่ความน่าดึงดูดของพื้นฐาน เช่น อุปทานของสินทรัพย์ปลอดภัยที่มีให้ต่อนักลงทุนในรูปดอลลาห์ และโซนยูโรก็ค่อนข้างเปราะบาง และตลาดตราสารหนี้ระหว่างกันก็ค่อนข้างกระจัดกระจายระหว่างรัฐสมาชิกด้วยกันเอง และจีนก็ยังไม่สามารถที่จะเติมเต็มความต้องการของโลกที่มีต่อสินทรัพย์ปลอดภัยต่างๆได้หากจีนยังคงควบคุมอย่างแน่นหนาของการไหลของเงินทุนและการต้องการมีเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ (ก็คือต้องการได้เงินจากทั่วโลกเข้ามามากกว่าเอาเงินตัวเองอออกไป) และสำหรับเงินดอลลาห์ที่ถือส่วนแบ่งส่วนใหญ่นี้แล้ว ก็ได้ประโยชน์จากผลกระทบของเครือข่ายด้วย คนก็ต้องการใช้สกุลเงินที่คนอื่นๆเขาใช้กัน

อย่างไรก็ดี มันก็ยิ่งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่าประเทศต่างๆสามารถโอบล้อมระบบที่โดดเด่นอยู่ได้ถ้าพวกเขาต้องการ แม้ว่าระบบเศรษฐกิจสงครามของรัสเซียจะได้รับบาดเจ็บบ้างจากการคว่ำบาตร แต่มันก็ไม่ถึงขั้นพิการ ส่วนนึงเนื่องจากว่า 16% ของการส่งออกของรัสเซียนั้นมีการชำระโดยใช้เงินหยวนแทนเพิ่มขึ้นมาจากแทบไม่เคยใช้เลยเมื่อเทียบกับก่อนที่จะบุกยูเครน

ทางเลือกอื่นของจีนนอกจากระบบส่งข้อความระหว่างธนาคารระหว่างประเทศหรือที่เรียกว่า SWIFT ที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนไปชำระเงินระหว่างสองประเทศในสกุลเงินเรนมินบี แทน ซึ่งมันง่ายกว่าที่จะทดแทนเงินดอลลาห์ในระบบการไหลไปมาในการซื้อขายระหว่างประเทศ แม้แต่บริษัทในประเทศตะวันตกเองก็เริ่มใช้ เรนมินบี ในการทำการซื้อขายกับจีน เทคโนโลยีการชำระเงินแบบดิจิตอล และ สกุลเงินดิจิตอลของธนาคารกลางก็ยังไม่สามารถทำให้การย้ายเงินไปทั่วโลกโดยไม่ผ่านอเมริกาได้ง่ายๆ

ยิ่งไปกว่านั้น นาง Yellen ก็พูดถูกที่ว่าการใช้ดอลลาห์ค่อยผลักประเทศต่างๆไปมานั้นไม่ใช่วิธีที่ดีเลยที่จะสร้างหรือรักษาเพื่อไว้ อเมริกายังไม่ได้ทำการคว่ำบาตรระดับสองกับประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย ที่ยังคงซื้อขายกับรัสเซียอยู่ เนื่องจากกลัวว่าจะการตอบโต้อย่างรุนแรงกลับมา แม้ว่าการเปลี่ยนถ่ายไปยังระบบหลายขั้วของสกุลเงินนั้นยังไม่มาถึงเร็วนัก แต่มันก็อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังในศตวรรษนี้หากสัดส่วนในเศรษฐกิจโลกของอเมริกานั้นหดตัวลง ดังนั้นแล้วมันก็ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อทั้งอเมริกาหรือทั้งโลกเลยที่จะรีบไปเร่งการเปลี่ยนแปลงนี้

อ้างอิง:

The power and the limits of the American dollar | The Economist

Leave a Reply

%d bloggers like this: