พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

บทสรุปบทที่ 5 วงจรเศรษฐกิจใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและเงินดอลลาห์สหรัฐ ตอนที่ 2 (Ch 5: The Big Cycle of the United States and the Dollar, Part 2 )

https://www.principles.com/the-changing-world-order/#introduction

ระเบียบของโลกใหม่ตั้งแต่ปี 1945 จนถึงปัจจุบัน

และก็เป็นธรรมดาหลังสงครามที่ผู้ชนะสงครามจะเป็นผู้กำหนดทิศทางของโลกต่อไป ซึ่งผู้ที่ชนะสงครามโลกครั้งที่สองในครั้งนั้นก็คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และโซเวียตในตอนนั้น หรือที่เรียกกันว่า “the Big Three” หรือพี่ใหญ่ทั้งสาม ก็ได้นัดประชุมกันเพื่อสร้างระเบียบโลกขึ้นมาใหม่ซึ่งได้รวมพื้นที่ต่างๆทางภูมิศาสตร์เพื่อการควรคุมและปกครองรวมไปถึงการสร้างระบบเครดิตและการเงินขึ้นมาใหม่

แต่มันก็ไม่ได้ใช้เวลานานนักที่โลกจะถูกแบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่ายอีกครั้งระหว่าง สหรัฐอเมริกาที่เป็นผู้นำทางทางทุนนิยมและประชาธิปไตย และก็ฝั่งโซเวียตที่เน้นทางคอมมูนิสต์และเผด็จการ แต่ละฝ่ายก็มีระบบเศรษฐกิจการเงินของตัวเอง แม้ว่าในตอนนั้นจะมีจำนวนประเทศอื่นๆที่สำคัญน้อยกว่าก็ไม่ได้ไปในทางเดียวกัน

ระบบการทหารและภูมิศาสตร์การเมืองหลังสงคราม

ทั้งสามผู้มีอำนาจรวมไปถึงประเทศอื่นๆนั้นก็มีการร่วมประชุมกันอีก แต่ที่จะเป็นที่จดจำมากที่สุดก็คือ การประชุม Yalta, การประชุม Postsdam, และการประชุม Bretton Woods ซึ่งก็ยิ่งแบ่งชัดเจนขึ้นระหว่างสองโลกคือฝั่งสหรัฐอเมริการแบบทุนนิยมประชาธิปไตย และฝั่งโซเวียตแบบคอมมิวนิสต์เผด็จการซึ่งแต่ละฝั่งก็มีระบบการเงินของตนเอง เยอรมันก็ถึงแยกเป็นชิ้นๆ โดยอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสนั้นควบคุมเยอรมันตะวันตก และรัสเซียควบคุมเยอรมันตะวันออก ญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้อำนาจอเมริกา และจีนก็มีสงครามกลางเมืองระหว่างคอมมิวนิสต์และทุนนิยม (หรือก็คือชาตินิยม) เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอเมริกานั้นค่อนข้างจะแยกตัวอยู่ต่างหาก แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นอเมริกานั้นรับบทบาทผู้นำในโลกเนื่องมาจากความพร้อมทางอำนาจทางเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์และการทหาร

ในเชิงอุดมคติแล้ว การเป็นผู้นำของอเมริกานั้นเป็นทุนนิยมและประชาธิปไตย ในขณะที่การนำของโซเวียตนั้นเป็นแบบคอมมิวนิสต์และปกครองแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ ระบบการเงินที่นำโดยอเมริกานั้นก็จะยึดเงินดอลลาห์และทองคำเป็นหลัก และสกุลเงินของประเทศอื่นๆก็จะยึดอยู่กับดอลลาห์อีกที

การกำกับดูแลระหว่างประเทศนั้นแตกต่างจากการกำกับดูแลภายในประเทศเอง เนื่องจากว่าในประเทศนั้นจะมีกฏหมายและมาตราฐานการประพฤติปฏิบัติที่เป็นการกำกับดูแลเองอยู่ ในขณะที่ระหว่างประเทศนั้นอำนาจดิบๆนั้นสำคัญสุด และกฏหมาย กฏเกณฑ์ หรือแม้แต่สนธิสัญญาระหว่างองค์กร สหประชาชาติ หรือองค์กรการค้าระหว่างประเทศนั้นก็ไม่ได้สำคคัญนัก การปฏิบัติการใดๆระหว่างประเทศนั้นเหมือนกับการปฏิบัติการในป่าใหญ่ที่ซึ่งการอยู่รอดของผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดนั้นสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นที่มาว่าการมีกองกำลังทางทหารที่แข็งแกร่งนั้นสำคัญมาก

ทั้งอเมริกาและโซเวียตนั้นลงทุนอย่างหนักในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์และบางประเทศก็ทำตาม อาวุธเหล่านี้มักไม่เคยถูกใช้เนื่องจากความเสียหายในวงกว้างที่จะเกิดขึ้นร่วมกันระหว่างประเทศที่ใช้แน่ๆ เนื่องจากการใช้จ่ายในทางทหารนั้นรัฐบาลก็จะมีเงินน้อยลงในการใช้จ่ายโครงการต่างๆของสังคม และเมื่อเทคโนโลยีทางทหารนั้นก็ไปในทางเดียวกับเทคโนโลยีทางเอกชน ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดสำหรับอำนาจของผู้นำก็คือเมื่อเวลาผ่านไป พวกเขาจะสูญเสียความได้เปรียบทางการแข่งขันทั้งทางเศรษฐกิจและทางเทคโนโลยี

ระบบการเงินและเศรษฐกิจหลังสงคราม

เงินและธุรกรรมต่างๆระหว่างประเทศนั้นยังคงแตกต่างจากเงินและธูรกรรมภายในประเทศด้วยกันเองในเวลานั้น เนื่องมาจากว่าภายในประเทศนั้นรัฐบาลสามารถควบคุมแง่หลักเกี่ยวกับเงินและธุรกรรมได้ ในขณะที่ธุรกรรมระหว่างประเทศนั้นปัจจัยหลักของเงินและธุรกรรมนั้นต้องมีการตกลงร่วมกัน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมทองและสกุลเงินสำรองนั้นมีความสำคัญสำหรับธุรกรรมระหว่างประเทศ ภายในประเทศนั้นบุคคลนั้นไม่สามารถเป็นเจ้าของหรือทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับทองคำได้ เนื่องจากรัฐบาลต้องการจะควบคุมอุปทานและมูลค่าของเงินของประชาชนในการแจกจ่ายความมั่งคั่งของประชาชน

ข้อตกลงของ Bretton Woods นั้นใช้สกุลเงินดอลลาห์เป็นสกุลเงินสำรอง เนื่องมาจากการชนะสงคราม การส่งออก อเมริกาก็รวยมากในตอนนั้นเมื่อเทียบกันแล้วประเทศอื่นๆก็ดูเหมือนจะถังแตกด้วยซ้ำไปที่จะซื้อสิ่งที่ประเทศเหล่านั้นต้องการจากอเมริกาและประเทศอื่นๆ

ทางออกก็คือ เพื่อที่จะหยุดการแผ่ขยายของคอมมิวนิสต์ อเมริกาเลยเสนอแพคเกจช่วยเหลือประเทศยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น ก็คือจะดีต่อประเทศที่ย่อยยับเหล่านี้ ดีต่ออเมริกาในทางเศรษฐกิจเนื่องมาจากว่าประเทศเหล่านี้ก็จะใช้เงินดอลลาห์ในการซื้อสินค้าจากอเมริกาเอง ดีต่อความมีอิทธิพลในแง่ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ และดีต่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเงินดอลลาห์ในโลกในฐานะสกุลเงินสำรองของโลกเพราะมีคนใช้กันมากขึ้น ซึ่งในอดีตนั้นหลายๆประเทศก็ไปในแนวนี้ แต่ล่าสุดจีนก็ได้ดำเนินการโครงการ Belt and Road ที่จะสร้างถนนเชื่อมต่อหลายๆประเทศเพื่อให้จีนก็ได้เปรียบทางนี้ด้วยเช่นกัน

ช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 การอ่อนตัวลงของพื้นฐานนำไปสู่จุดจบของระบบการเงินแบบ Bretton Woods

ในช่วงปี 1950-1970 นั้นมีการเจริญเติบโตของหนี้ที่สูงและมีการพัฒนาของตลาดทุนที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อนวัตกรรมทางการเงินและการพัฒนา ในช่วงทศวรรษ 1960 นั้นชาวอเมริกันมีการใช้จ่ายอย่างมาก และเยอรมันและญี่ปุ่นก็ค่อยๆฟื้นจากสงครามก็เป็นคู่แข่งทางการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเช่น การผลิตรถยนต์ ดังนั้นงบดุลการค้าของอเมริกาก็เริ่มที่จะแย่ลง และในช่วงเวลาเดียวกันรัฐบาลอเมริกาก็มีการทำสงครามเวียดนามไปด้วย ทำให้ต้องมีเงินมากสำหรับใช้จ่ายในสงครามและก็สังคม

ทางธนาคารกลางของอเมริกาจึงมีการปล่อยให้สร้างเงินที่อ้างอิงกับทองคำมากขึ้นเกินกว่าที่จะสามารถแปลงกลับเป็นทองได้ที่ 35 เหรียญ ปริมาณทองคำในธนาคารกลางของอเมริกานั้นก็ลดลงเรื่อยๆมาจากการเคลมนี้ สุดท้ายแล้วระบบ Bretton Woods นั้นก็พังลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1971 เมื่อประธานาธิบดีนิกสัน เหมือนกันประนาธิบดีรูสเวลท์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1933 ก็ได้ฉีกคำปฏิญาณที่จะยอมให้ผู้ถือเงินดอลลาห์แปลงกลับเป็นทองคำ เมื่ออเมริกานั้นมีการใช้จ่ายมากกว่ารายรับ การแปลงเงินเป็นทองคำนั้นก็ทำให้ทองคำสำรองลดลงจนจะหมดได้ รัฐบาลอเมริกาจึงหยุดไม่ให้มีการแปลงอีกต่อไป ทำให้ดอลลาห์มีมูลค่าที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับทองคำและเทียบกับอีกสองสกุลเงินก็คือเงินดอยช์มาร์กของเยอรมันและเงินเยนของญี่ปุ่น

การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อและช่วงทศวรรษ 1970 ที่มีปัญหา

หลังจากที่เลิกผูกเงินดอลลาห์กับทองคำและสกุลเงินอื่นๆหลังปี 1971 แล้วนั้น โลกก็เดินต่อไปเป็นเงินเฟียต (fiat – ก็คือเงินกระดาษแบบที่เราใช้กันทุกวันนี้แหละ) ซึ่งก็ทำให้เกิดการพุ่งขึ้นของเงินและเครดิต อัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และมีการเทขายพันธบัตรและสินทรัพย์หนี้อื่นๆผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น มีการเทขายสินทรัพย์เช่น ที่ดิน ทองคำ และของสะสมทั้งหลายแหล่อีก 10 ปีต่อมาตั้งแต่ 1971 ถึง 1981 ทำให้ดูเหมือนว่าดอลลาห์ด้อยค่าลงจนเหมือนจะไม่เป็นที่ยอมรับในการสะสมความมั่งคั่งอีกต่อไป และในขณะเดียวกันที่จีนนั้น เหมา เจอตุงที่เสียชีวิตในปี 1976 ทำให้ เดง เซียวปิง ขึ้นสู่อำนาจในปี 1978 นั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายทางเศรษฐกิจที่รวมความเป็นทุนนิยมเข้าไปบ้างเช่น การครอบครองเป็นเจ้าของธุรกิจของภาคเอกชน การพัฒนาตลาดทุนและตลาดหนี้ นวัตกรรมทางการค้าและเทคโนโลยีต่างๆ และการเพิ่มขึ้นอย่างมากของนักทุนนิยมที่รวยเป็นพันล้าน แต่ทั้งหมดนี้ก็ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของพรรคคอมมิวนิสต์ การเปลี่ยนแปลงของผู้นำในจีนรวมไปถึงวิธีการปกครองประเทศในครั้งนั้น ซึ่งอาจจะดูเหมือนไม่สำคัญอะไรในเวลานั้น ก็ส่งผลให้จีนจะเป็นแรงผลักดันแรงเดียวที่จะส่งผลต่อความเป็นรูปเป็นร่างของศตวรรษที่ 21 นี้

เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและช่วงทศวรรษที่รุ่งเรือง 1980

การขึ้นๆลงๆของวงจรนี้ในช่วง 1971-1991 ที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อผู้คนทั่วโลกนั้นก็เป็นผลมาจากที่อเมริกาเลิกใช้มาตราฐานทองคำนั่นแหละ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ตามมาและวิธีการที่เจ็บปวดที่ต้องระงับอัตราเงินเฟ้อนั้น ในตลาดนั้น วงใหญ่ใหญ่ๆจะเกิดขึ้นเมื่อ มีการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และตลาดพันธบัตรที่ซึมๆในช่วงทศวรรษ 1970 และช่วง 1979-1981 นั้น ความเข้มงวดทางการเงินทำให้เงินสดเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด และสุดท้ายการลดลงของอัตราเงินเฟ้อและผลตอบแทนที่ดีในช่วง 1980s จากพันธบัตร หุ้น และสินทรัพย์ที่ไม่เฟ้ออื่นๆ

1990-2008: โลกาภิวัฒน์ การเข้าสู่ยุคดิจิตอล และช่วงรุ่งเรืองที่ใช้หนี้เป็นตัวผลักดัน

ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 นั้นจะมีวงจรเศรษฐกิจอยู่สามวงจรที่นำพาเรามาสู่ปัจจุบันนี้ อันแรกคือที่ขึ้นจุดสูงสุดในช่วงฟองสบู่แตกในปี 2000 หรือที่เรียกว่า dot-com bubble ที่นำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำตามมา อีกอันก็ที่ขึ้นสูงสุดในปี 2007 ที่นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2008 และอีกอันก้อล่าสุดในปี 2019 ก่อนที่จะมีโคโรน่าไวรัสมาทำให้เกิดภาวะตกต่ำ

ในช่วงปี 1990-2000 นั้นเราก็ได้เห็นการเสื่อมถอยของโซเวียต การมาของจีน โลกาภิวัฒน์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆที่ทดแทนคน ซึ่งส่งผลดีต่อกำไรของบริษัทแต่ก็ทำให้ช่องว่างของโอกาสและความมั่งคั่งนั้นเพิ่มสูงขึ้น

มันจะมีนโยบายทางการเงินอยู่สามอย่างก็คือ 1. นโยบายการเงินที่ใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นตัวผลักดัน 2. การพิมพ์เงินและการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน ส่วนใหญ่ก็คือพันธบัตร (ปัจจุบันเรียก QE) และ 3. ความร่วมมือระหว่างนโยบายทางการคลังและนโยบายทางการเงินในแง่ที่ว่ารัฐบาลกลางนั้นมีการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายและธนาคารกลางก็เป็นคนเข้าสู่หนี้เหล่านั้นเอง

2008-2020 ช่วงบูมของนักทุนนิยมที่ถูกผลักดันส่งเสริมโดยเงิน

ช่วงวิกฤติหนี้ในปี 2008 นั้นทำให้อัตราดอกเบี้ยลงลงไปที่ 0% ทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่มีสกุลเงินเป็นสกุลเงินสำรองด้วยได้เปลี่ยนนโยบายไปเป็นการพิมพ์เงินและเข้าซื้อสินทรัยพ์ทางการเงินแทน ซึ่งเงินก็จะไปอยู่ในมือนักลงทุนที่ซื้อสินทรัยพ์ทางการเงินอีกที ส่งผลให้ราคาสินทรัยพ์สูงขึ้นซึ่งก็จะช่วยพยุงเศรษฐกิจ แต่คนซื้อมันก็ต้องรวยระดับนึงถึงเป็นเจ้าของสินทรัพย์เหล่านี้ได้ ยิ่งส่งผลให้ช่องว่างความมั่งคั่งสูงขึ้นไปอีก

ในตอนนี้ประเทศจีนมีเงินสำรองมากที่สุดในโลก แต่อเมริกาแม้ว่าไม่ได้มีเงินสำรองมาก แต่สามารถพิมพ์เงินได้เนื่องจากดอลลาห์เป็นสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศ ความสามารถในการพิมพ์เงินและเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก คือความสามารถที่มีเพียงประเทศที่มีสกุลเงินเป็นสกุลเงินสำรองโดยเฉพาะอเมริกานั้นเป็นอำนาจทางเศรษฐกิจที่ประเทศนึงพึงจะมีได้ ในขณะเดียวกันประเทศที่มีเงินสำรองน้อย (ซึ่งก็คืออเมริกาในขณะนี้) นั้นอยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบางมากเพราะมีเงินที่โลกใช้ไม่เพียงพอ นั่นแปลว่าตอนนี้ที่อเมริกายังดูทรงพลังอยู่เพราะเนื่องจากสามารถพิมพ์เงินที่โลกใช้ออกมาเองได้ แต่ก็จะเปราะบางมากหากอเมริกาสูญเสียสถานะทางสกุลเงินสำรองอันนี้ไป

ณ ปัจจุบันนี้ หากนับรวมสกุลเงินสำรองจากหลายๆประเทศหลัก (USD, EUR, JPY, GBP, CNY และ ทองคำ) เงินสกุลดอลลาห์นั้นถูกใช้เป็นสกุลเงินสำรองถึง 50% EUR ประมาณ 20-25% GBP และ YEN ประมาณ 5% ในขณะที่จีน ทั้งๆที่มีส่วนแบ่งทางการค้าทั่วโลกในสัดส่วนที่สูง กลับมีคนใช้สกุลเงินหยวนหรือ RMB นี้เป็นสกุลเงินสำรองแค่ 2% เท่านั้น ซึ่งแม้แต่ทองคำยังมีส่วนแบ่งสกุลเงินสำรองที่ประมาณ 10%

แล้วอเมริกาอยู่ตรงไหนในวงจรใหญ่นี้?

อย่างที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ถึงวงจรใหญ่ของการมาและการจากไปของอาณาจักรต่างๆรวมไปถึงสกุลเงินสำรองที่เป็นวงจรที่เริ่มต้นด้วย ‘new world order’ หรือการจัดระเบียบโลกใหม่โดยผู้ที่ชนะสงคราม ซึ่ง

1. สภาพแวดล้อมจะเป็นไปในลักษณะที่มีความสงบสุข ความเจริญรุ่งเรือง การมีประสิทธิภาพในแง่ที่มีการเจริญเติบโตของหนี้ที่มีการจัดสรรอย่างดีและยั่งยืน (ยั่งยืนก็คือ หนี้ที่สร้างขึ้นสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างรายได้ที่มากกว่าหนี้ที่กู้ยืมมาและสามารถใช้หนี้คืนได้) ตลาดทุนก็ไปได้ดี และสังคมก็มีความร่ำรวยขึ้นโดยที่ระดับบุคคลนั้นได้ประโยชน์จากความรุ่งเรืองนี้ แต่มันก็ไม่ได้มีการได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันจึงนำไปสู่ข้อ

2. ก็คือมีการเจริญเติบโตของหนี้ที่มากเกินควรมีการเก็งกำไรทางการเงินมากเกินไป และมีการบริโภคที่มากเกินไป ซึ่งส่งผลให้มีรายได้ที่ไม่เพียงพอที่จะชดใช้นี้ ก็จะนำไปสู่ข้อ

3. ก็คือธนาคารกลางต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงและเพิ่มเครดิตให้มากขึ้นก็ยิ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างความมั่งคั่งเข้าไปอีกเป็นหนี้มากเกินควรไปอีกจนกระทั่งเกิดข้อต่อไป

4. การเป็นหนี้ที่มากเกินไปและธนาคารกลางสูญเสียความสามารถที่จะสร้างการเจริญเติบโตของเครดิตที่สามารถนำมาใช้หนี้คืนภายหลังได้ ซึ่งทำให้เกิดข้อถัดไป

5. ช่องว่างทางความมั่งคั่งห่างกันมากเกินไปจากเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความขัดแย้งภายในและนำไปสู่

6. การพิมพ์เงินออกมามากๆ มีการปรับโครงสร้างหนี้ การกระจายความมั่งคั่งผ่านทางการเปลี่ยนแปลงทางการเรียกเก็บกาษี ซึ่งทำให้เกิดข้อ 7.

7. สร้างความเปราะบางทางการเงิน เศรษฐกิจ และการเมืองสำหรับผู้ที่อยู่ในอำนาจเมื่อเทียบกับอำนาจที่กำลังเกิดใหม่ นำไปสู่สงครามที่มีผู้ชนะและผู้แพ้ แล้วก็สร้างระเบียบของโลกขึ้นมาใหม่

จากสถิติที่เห็นดูเหมือนว่าอเมริกากำลังอยู่ในวงจรประมาณ 75% บวกลบ 10% แล้ว

แล้วมันพลิกกลับได้มั้ย?

พวกมหาอำนาจของโลกที่เคยมีประสพการณ์แบบนี้ในวงจรแบบนี้ก็คือมีเวลาอยู่ใต้ดวงอาทิตย์มาแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นได้ก็เพราะความเฉพาะตัวของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและลักษณะธรรมชาติและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ (ตัวอย่างเช่นก็คือ ต้องมีองค์ประกอบสำคัญอย่างการทำงานหนัก ความฉลาด มีวินัย มีการศึกษา และอื่นๆ) และเมื่อช่วงรุ่งเรืองผ่านไปก็จะมีช่วงถดถอยซึ่งก็จะค่อยๆลดความสำคัญลงไป บางมหาอำนาจก็ผ่านไปอย่างเจ็บปวด บางประเทศก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี

จากที่ปู่เรย์และทีมได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์มาแล้วนั้นก็จะสามารถเห็นได้ว่าการเสื่อมถอยของอำนาจนั้นมันยากที่จะทำให้พลิกกลับมาได้ เนื่องจากมันต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำไปแล้ว ซึ่งก็ยากที่จะทำได้ก็เพราะมันทำไปแล้ว ตัวอย่างเช่น เมื่อประเทศใช้จ่ายเกินตัวไปแล้วมากกว่ารายได้ที่หามา ถ้าจะให้กลับมาสู่จุดที่รายได้มากกว่ารายจ่าย ก็ต้องทำงานมากขึ้นหรือใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งมันก็ไม่ได้ง่ายนัก

อย่างไรก็ดี วงจรนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในทางนี้หากพวกที่อยู่ในสถานะที่มีอำนาจและร่ำรวยมากนั้นพยายามมีประสิทธิภาพตลอดเวลาและปลอดภัยโดยพยายามทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง มีความฉลาด และใช้จ่ายน้อยกว่าเงินที่หามาได้ เก็บเงินเยอะๆ และก็ทำให้ระบบนั้นใช้งานได้ดีสำหรับประชากรส่วนใหญ่ อาณาจักรหลายๆอาณาจักรและราชวงศ์ต่างๆนั้นสามารถคงอยู่มาได้เป็นร้อยๆปี และสำหรับอเมริกาแล้ว 244 ปีก็ถือว่าพิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในอาณาจักรที่ทนทานมาได้

คำถามที่สำคัญที่สุดที่ปู่เรย์มองก็คือว่าอเมริกาจะปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยถามตัวเองและตอบอย่างซื่อตรงคำถามที่ไม่น่าฟังต่างๆได้

อ้างอิง:

Principles by Ray Dalio – Promotion for the new Changing World Order series

2 Comments

  1. Pruetty2419

    ขอบคุณมากสำหรับบทความครับ รอตอนต่อไปอยู่ครับ

  2. saiong

    ดีมากครับ รอติดตามตอนต่อไปอยู่นะครับ

Leave a Reply