พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

การเก็บภาษีคนรวยนั้นถูกต้องจริงเหรอ? (tax on the rich)

หลังจากที่ประเทศเราจะมีการใช้จริงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีหน้า 2020 นั้น หลายๆคนก็คงทราบรายละเอียดกันดีอยู่แล้วซึ่งก็คงจะมีความเห็นต่างๆนาๆกันไป บางคนบอกเพิ่มภาระ บางคนบอกดีแล้วเก็บภาษีคนรวยเยอะๆ

ประจวบเหมาะกับฝั่งตะวันตกก็มีการยกประเด็นเรื่องทำนองจะเอาเงินจากพวก “คนรวย” เยอะๆยังไงดี จาก The Economist ประจำสัปดาห์นี้ก็ได้มีการเขียนบทความอยู่ 2 บทความเกี่ยวกับการเก็บภาษีคนรวยเยอะๆว่ามันมีผลดีหรือผลเสียมากแค่ไหน

เราก็ไปอ่านกระตุ้นความคิดกัน จากบทความนั้นจั่วหัวขึ้นมาก็บอกเลยว่า “บีบคนรวย” และ “เศรษฐีพันล้านเป็นผลพวงมาจากการมีนโยบายที่ล้มเหลว”

การไล่ทุบเศรษฐีพันล้านทั้งหลายกำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะระหว่างพวกที่กำลังลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดีของอเมริกา เอลิซาเบธ วอเรน ต้องการจะเก็บภาษีจากพวกเศรษฐีพันล้านนั้นถึง 6% ในแต่ละปี

เบอร์นี่ แซนเดอร์ บอกว่าเศรษฐีพันล้านนั้น “ไม่ควรมีตัวตน” (แรงสสส) “การที่มีเศรษฐีพันล้านนั้นเป็นผลพวงมาจากนโยบายที่ล้มเหลว” ซึ่งเป็นสโลแกนของพวกฝั่งซ้ายไปซะแล้ว ในอังกฤษก็ไม่แพ้กัน พวกที่โคตรรวยนี่กำลังตกเป็นเป้า เจเรมี่ คอร์บิน ผู้นำพรรคแรงงานก็บอกว่า สังคมที่มีความเท่าเทียมกันนั้นจะต้องไม่มีเศรษฐีพันล้าน

การที่พวกฝั่งซ้ายจะโจมตีเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในสังคมนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การที่จะมองว่าการที่คนจะรวยมาได้นั้นมาจากการที่รัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาดนั้นมันก็เกินเลยไปหน่อยและก็ค่อนข้างไปผิดทาง

การกล่าวหาของฝั่งซ้ายนั้นก็มาจากความจริงอยู่บ้าง เมื่อการแข่งขัน(ทางธุรกิจ) นั้นรุนแรงและยุติธรรม กำไรสูงๆนั้นมันก็ยากที่จะมีอยู่ไปเรื่อยๆ แต่ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม บริษัทต่างๆก็มักจะทำกำไรมาจากการกระจุกตัวของตลาดทั้งนั้น เศรษฐีบางคนก็ดิ้นรนกระเสือกกระสนในที่ๆการแข่งขัน (อย่างยุติธรรม) นั้นล้มเหลว

แม้ว่า Facebook และ Google นั้นครอบงำการโฆษณาออนไลน์ วอเรน บัฟเฟต์ชอบบริษัทที่มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (moat) ที่คู่แข่งเข้าไม่ได้ง่ายๆ และประมาณ 1 ใน 5 ของเศรษฐีในอเมริกานั้นทำเงินมาจากอุตสาหกรรมในที่ซึ่งรัฐบาลหรือระบบตลาดนั้นล้มเหลวเป็นปกติ

แต่อย่างไรก็ดี คนอื่นๆอีกหลายคนก็ยังต้องทำธุรกิจในที่ๆตลาดนั้นมีการแข่งขันกันสูง เจ้าของร้านค้าปลีกอย่าง ไมค์ แอชลีย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าของ คุณคอร์บิน ก็อยู่ในธุรกิจที่ราคาต่ำและแข่งขันกันอย่างเหี้ยมโหด ไม่ใช่ธุรกิจที่กำไรงามๆหรือเป็นผลพวงมาจากนโยบายหรือระบบตลาดที่ล้มเหลวอะไรเลย

ทุกๆครั้งที่มีคนอย่าง พี่มาร์ค ซัคเคอร์เบิก มันก็จะมีผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายมาคอยแข่งขันแย่งชิงกัน ลองนึกถึง แอนโธนี่ วู้ด คนสร้าง Roku (สตรีมมิ่งวิดีโอ) หรือ ทิม สวีนนี่ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่สร้างเกมส์ฮิตอย่าง “Fortnite” สิ

คงจะไม่มีใครกล้าพูดอย่างเต็มปากหรอกมั้งว่านักบุกเบิกเหล่านี้เติบโตขึ้นมาได้เพราะตลาดของพวกเขาขึ้นอยู่กับการอำนวยความสะดวกจากรัฐบาล และก็เรื่องเดียวกันกับ ไมเคิล จอร์แดน นักบาสระดับโลกในอดีต และ เจย์ ซี นักดนตรี ซึ่งทั้งคู่ก็เศรษฐีพันล้านเช่นกัน หรือแม้แต่พวกเฮดจ์ฟันธ์ทั้งหลายก็ต้องพบกับการแย่งชิงเงินจากนักลงทุนอย่างไม่ปราณีใคร ซึ่งหลายๆบริษัทก็ยอมแพ้ไปแล้วด้วยซ้ำ

เมื่อระบบทุนนิยมมันทำงานได้ดี การแข่งขันมันก็จะทำให้กำไรที่มากเกินควรหายไปสำหรับบางคน แต่มันก็ไปสร้างกำไรให้คนอื่นที่คอยยึดโอกาสจากตลาดมาจากคนเดิมที่อาจจะหลับไหลไปบ้าง ความสำเร็จของพวกเขาสุดท้ายแล้วก็จะไปล้มล้างหรือ disrupt วงจรอื่นๆไปเรื่อยๆเช่นกัน และในขณะเดียวกันความร่ำรวยมันก็เกิดขึ้นได้ระหว่างนั้น

ผู้ก่อตั้ง Myspace ก็รวยขึ้นจากการขายบริษัทให้ News Corp แต่สุดท้ายก็มาถูก Facebook ครอบครองตลาดไป Blockbuster อาจจะช่วยให้ เวร์น ฮุยซิงก้า เป็นเศรษฐีก็จริง แต่สุดท้าย Netflix ก็มา ขั้นตอนเหล่านี้ได้สร้างผลดีต่อสังคมอย่างมากมาย

จากการประเมินของ วิลเลี่ยมส์ นอร์ดเฮ้าส์ นักเศรษฐศาสตร์ ได้บอกไว้ว่า ช่วงระหว่างปี 1948 และ 2001 นักปฏิรูปเหล่านี้ได้กินประโยชน์ไปแค่ 2% ของมูลค่าที่พวกเขาสร้างด้วยซ้ำไป สวีเดนและนอรเวย์มีจำนวนเศรษฐีต่อคนมากกว่าอเมริกาด้วยซ้ำ

การเก็บภาษีควรเป็นการเก็บแบบอัตราก้าวหน้า (progressive) แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าอยากจะเก็บใครก็ได้ตามใจชอบ ภาษีความร่ำรวยที่คุณวอเรนเสนอนั้นได้เพิ่มเป็นสองเท่ามาแล้วระหว่างช่วงเธอหาเสียง โทมัส พิเกตติ นักเศรษฐศาสตร์ที่ถูกใช้อ้างอิงทางสถิติมากที่สุดในเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ต้องการให้เก็บภาษีความร่ำรวยนี้ขึ้นไปถึง 90% ของคนที่รวยที่สุดเลยทีเดียว

การขู่กรรโชกแบบนี้จะทำให้แรงจูงใจในการพัฒนาและการจัดสรรทุนเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ในระบบเศรษฐกิจที่มีผู้ประกอบการน้อยลงอาจจะทำให้มีเศรษฐีพันล้านน้อยลง แต่ท้ายที่สุดแล้วมันก็จะไม่ค่อยมีความแตกต่างมากนัก (ในแง่ของประเภทของธุรกิจ) ซึ่งก็จะส่งผลให้ทุกคนในสังคมแย่ลงมากกว่า

ความร่ำรวยนั้นมันอาจจะดูเป็นสิ่งที่น่ากังวลและถูกพูดถึงเมื่อมันถูกบีบคั้นหรือปกป้องจากความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามา (แปลง่ายๆก็ประหนึ่งคนรวยมักจะตกเป็นเป้าเมื่อมีประเด็นปากท้องคนส่วนใหญ่เข้ามานั่นแหละ) และเมื่อความร่ำรวยเริ่มผุกร่อน รัฐบาลก็ควรจะเข้ามาแก้ปัญหาให้ตรงจุดมากกว่า

อะไรก็ตามที่คุณคอร์บินพูดไป เกาะอังกฤษนั้นแทบจะไม่เรียกว่าทุจริตเลยเมื่อเทียบกับมาตราฐานโลก เช่น การติดสินบนนั้นจะไม่พบเห็นง่ายๆ แต่มันก็ยังมีปัญหาเกี่ยวข้องกับความร่ำรวยที่ส่งต่อกันมาเป็นมรดก ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของแหล่งที่มาของความร่ำรวยนั้น การเก็บภาษีมรดกให้มากขึ้นก็ดูน่ายินดีในอังกฤษและอเมริกา ซึ่งเป็นสองที่ที่ง่ายเกินไปที่จะส่งต่อความร่ำรวยระหว่างคนรุ่นต่อๆไป

หากมองให้กว้างขึ้นหากเราจะโจมตีธุรกิจที่ได้กำไรมากเกินไปในขณะที่ยังพยายามรักษาความแตกต่างทางธุรกิจให้มีมากๆนั้นจะทำให้การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และลิขสิทธิ์ต่างๆนั้นอ่อนลงบ้าง ซึ่งปกติแล้วก็จะกินเวลายาวนานมั้ย (ลองนึกถึงการขายหนังจาก ลูคัสฟิลม์ มามากกว่าสามสิบปีหลังจาก “Star Wars” แล้วนั้นก็ไม่ควรจะทำให้ จอร์จ ลูคัสได้เงินถึง 4 พันล้านเหรียญมั้ย)

สิ่งนี้จะช่วยให้มีการเขย่าการผูกขาดในการส่งเสริมการแข่งขันในธุรกิจที่เก่าและใหม่เหมือนๆกัน การทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ประสพผลความสำเร็จมากกว่าในการไปเลือกโจมตีเฉพาะคนรวยโดยไม่สนใจอะไรเลย ท้ายสุดแล้ว ไม่ว่าโยบายจะล้มเหลวหรือไม่แต่การพุ่งเป้าไปที่เศรษฐีพันล้านทั้งหลายนั้นก็มักจะเป็นเป้าที่ผิดไป

และเพื่อที่จะวิเคราะห์คำกล่าวหาที่ว่า คนรวยเป็นผลพวงมาจากระบบหรือนโยบายที่ล้มเหลวนั้น ทาง The Economist ก็ได้ไปเอาข้อมูลจากนิตยสารธุรกิจ Forbes ที่กล่าวถึงเศรษฐีต่างๆในประเทศที่ร่ำรวย และก็ได้อัพเดทดัชนีทุนนิยมที่เน้นพวกพ้อง (Crony Capitalism) ที่เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2014 แล้วก็พบว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานั้น ความร่ำรวยจากเศรษฐีประมาณ 2,200 คนทั่วโลกนั้น (0.0001%) นั้นพบว่าเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ย GDP ของโลกก็จริง แต่อย่างไรก็ดีเศรษฐีส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้นั้นก็ได้เงินมาอย่างค่อนข้างจะตรงไปตรงมาและยุติธรรม

เช่น โอปรา วินฟรี่ มีทรัพย์สินประมาณ 3 พันล้านเหรียญ การที่มีเงินมากขนาดนี้ในมุมนึงมันก็อาจจะดูน่าเกลียด แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องที่จะไปกล่าวหาว่าคนเหล่านี้สะสมความร่ำรวยมาอย่างผิดกฏหมายและควรไปยึดทรัพย์เขามาให้หมด

แต่แน่นอนว่าเศรษฐีพันล้านบางคนก็อาจจะไม่ได้ตรงไปตรงมาขนาดนั้น และก็ได้กำไรที่มากเกินควรอยู่ (Rent-Seeking – การที่เจ้าของปัจจัยการผลิต เช่น แรงงาน เครื่องจักร ทรัพย์สินทางปัญญา ทุน สามารถเก็บเกี่ยวกำไรมากเกินกว่าที่เขาจะทำได้ หากมีการแข่งขันในตลาดอย่างถูกต้อง)

แม้ว่าการกระทำเหล่านั้นอาจจะไม่ผิดกฏหมาาย แต่ก็มักจะเกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มกัน (cartel) เพื่อกำหนดราคาสินค้า การล้อบบี้ (lobbyist) เพื่อเปลี่ยนแปลงกฏหมายเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ต่อกลุ่มของตัวเองและทำให้คู่แข่งขันหรือลูกค้าเสียประโยชน์

จากการวิเคราะห์ของ The Economist นั้นบอกว่าธุรกิจที่มี Rent-Seeking นี้มักจะเป็นกลุ่มทำเหมือง การป้องกันประเทศ การก่อสร้าง และ คาสิโน และในการสำรวจครั้งนี้ก็รวมไปถึงบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ซึ่งหลายๆบริษัทนั้นเกี่ยวข้องกับการป้องกันการผูดขาดทางการแข่งขัน

สามในสี่ของความร่ำรวยของเศรษฐีพันล้านในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วนั้นก็ค่อนข้างจะได้มาอย่างยุติธรรม แม้ว่าความร่ำรวยที่เกินควรนั้นมันจะเพิ่มขึ้นสูงกว่า GDP แต่บางประเทศก็มีความเป็นพวกพ้องมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ไม่ใช่ที่สวีเดนและเยอรมัน แต่ในอเมริกานั้นอุตสาหกรรมที่ได้กำไรเกินควรนั้นมีถึงหนึ่งเศรษฐีต่อเศรษฐีห้าคน และยังคิดเป็นหนึ่งในสามของความร่ำรวยของเศรษฐีทั้งหมดเลยทีเดียว

แล้วควรจะทำยังไงดีล่ะ? รัฐบาลควรพยายามให้มากขึ้นในการแตกการรวมกลุ่มเพื่อให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น หรือก็ควรมีภาษีที่สูงขึ้นสำหรับการโอนถ่ายความร่ำรวยไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือเงินทอง การที่ทำให้เศรษฐกิจมีการแข่งขันที่เท่าเทียมกันมากขึ้นน่าจะช่วยให้คนทั่วไปได้ประโยชน์มากกว่าการที่ไปไล่ตามคนรวยด้วยนโยบาย (การเก็บภาษ๊) เดียวกันนี้

อ้างอิง:

https://www.prachachat.net/finance/news-382555

https://www.economist.com/leaders/2019/11/09/billionaires-are-only-rarely-policy-failures

https://www.economist.com/finance-and-economics/2019/11/07/have-billionaires-accumulated-their-wealth-illegitimately

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply