พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Investment

Stock Splits หรือ การแตกหุ้นนั้นมีประโยชน์อะไรมั้ย?

Stock splits หรือ การแตกหุ้นนั้นกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งระหว่างบริษัทอเมริกันใหญ่ๆ ทำให้เกิดการถกเถียงกันอีกครั้งหนึ่งว่าการแตกหุ้นนี้ที่เคยหลุดนอกวงโคจรไปพักนึงนั้นมีประโยชน์อะไรมั้ย

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Nvidia Corp (บริษัทที่ทำชิปกราฟฟิกที่เราๆท่านๆใช้เล่นเกมส์กันนี่แหละครับ) ได้กลายเป็นบริษัทลำดับที่ 8 ในดัชนี S&P 500 (ดัชนีบริษัทใหญ่ที่สุด 500 บริษัทของอเมริกา) ที่ได้ประกาศการแตกหุ้นในปีที่ผ่านมาตามหลังชื่อดังอย่าง Apple และ Tesla ซึ่งถือว่ามากที่สุดในปีที่เปรียบเทียบกันในระยะเวลา 6 ปี จากข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg

การเพิ่มขึ้นของการแตกหุ้นนั้นเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาของหุ้นเกือบ 600 ตัวของดัชนี Russell 3000 ที่ราคาสูงกว่า 100 เหรียญ แต่นั่นก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปข้อถกเถียงที่มีกันมาแต่ไหนแต่ไรในกลุ่มบรรดานักลงทุนทั้งหลายว่าการเล่นแร่แปรธาตุการแตกหุ้นนี้มันส่งผลอะไรดีต่อผลงานหรือผลประกอบการอะไรมั้ย และยิ่งช่วงหลังๆที่มีการเพิ่มขึ้นของการเทรดหุ้นจากรายย่อยจากส่วนย่อยของหุ้น (fractional share) ลงไปอีกยิ่งทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นร้อนขึ้นไปอีก

“โดยทางคำนวณทางคณิตศาสตร์แล้ว มันไม่มีประโยชน์อันใดจากการแตกหุ้นเลย” กล่าวโดย Mark Lehmann ประธานบริหารของบริษัท JMP Securities LLC “แต่มันก็มีความลังเลที่มองเห็นได้ว่าหุ้นบางตัวที่ระดับราคาระดับนึงและบางกลุ่มของนักลงทุนทั่วไปที่มันจะไม่เปลี่ยนแปลงไป”

มันมีการแตกหุ้นของหุ้นอยู่ 8 ตัวจากดัชนี S&P 500 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากสุดในรอบ 6 ปีเลยทีเดียว ตามกราฟด้านล่าง

Bloomberg

จากแรงจูงใจหลักของเหล่าบริษัทที่ทำการแตกหุ้นนั้นก้อแค่ง่ายๆก็คือ การทำให้หุ้นนั้นมีราคาถูกพอที่จะซื้อได้

ราคาหุ้นของ Nvidia นั้นได้เพิ่มขึ้นมาถึงสี่เท่าตั้งแต่ต้นปี 2019 วิ่งไปถึงเกือบ 650 เหรียญต่อหุ้น การประกาศแผนการแตกหุ้น 4 หุ้นเก่าต่อ 1 หุ้นใหม่ นั้นก็เพื่อที่จะ “สามารถทำให้การครอบครองหุ้นนั้นเข้าถึงได้สำหรับนักลงทุนและพนักงาน” ตัวแทนจากผู้ผลิตชิปนั้นปฏิเสธที่จะให้ความเห็นมากไปกว่านี้

จากที่มันเคยเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความร้อนแรงของตลาดกระทิง การแตกหุ้นนั้นก็ได้หายไปจากวงโคจรมาพักนึงจะกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ในปี 2006 และ 2007 เมื่อหุ้นกำลังทำสถิติใหม่ๆ มันเคยมีการแตกหุ้นถึง 47 ตัวจากดัชนี S&P500 โดย 3 บริษัทอย่าง Nvidia, Paccar และ Cummins Inc นั้นมีการแตกหุ้นถึงสองครั้ง ในปี 2019 นั้นมันมีการแตกหุ้นแค่ 2 หุ้นเท่านั้น

สำหรับ Julian Emanuel หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ด้านหลักทรัพย์และอนุพันธ์จาก BTIG นั้นบอกว่ามันยากขึ้นที่จะทำให้การแตกหุ้นเป็นประเด็นขึ้นมาในทุกวันนี้เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของการเทรดแบบไร้ค่าธรรมเนียมและเหล่าโบรกเกอร์ก็เริ่มเสนอการซื้อขายหุ้นแบบส่วนย่อยของหุ้น การมาของสิ่งเหล่านี้นั้น “ทำให้มูลค่าของราคาหุ้นของบริษัทนั้นแทบไม่เกี่ยวข้องกันเลย” เขากล่าวไว้ตอนสัมภาษณ์

โบรกเกอร์อย่าง Robinhood นั้นตอนนี้ก็ยอมให้นักลงทุนมีการซื้อเพียงเสี้ยวนึงของหุ้นเพียงแค่ 1 เหรียญแทนที่จะต้องควักเงิน 2,300 เหรียญเพื่อที่จะซื้อหุ้นเพียงหุ้นเดียวของบริษัทแม่ของ Google อย่าง Alphabet Inc

ผลประโยชน์ที่มีข้อจำกัด

หากไปดูข้อมูลก็จะเห็นว่าการแตกหุ้นนั้นไม่ส่งผลดีต่อผลประกอบการของหุ้นในระยะยาว หุ้นของบริษัทที่ทำการประกาศการแตกหุ้นนั้นทำผลงานได้ดีกว่า S&P500 4 ปีจาก 5 ปี จากข้อมูลของ Bloomberg อย่างไรก็ดี หุ้นเดียวกันนั้นในปีถัดไปกลับตามหลัง S&P500 4 ปีจาก 5 ปีเช่นกัน

การแพร่กระจายของการแตกหุ้นนั้นได้ก่อให้เกิดการคาดการณ์ว่าบริษัททางเทคโนโลยีใหญ่ๆอย่าง Amazon ที่มีราคาหุ้นถึง 4 ตำแหน่งนั้นอาจจะเป็นหุ้นตัวต่อไปที่ทำการแตกหุ้น Amazon นั้นมีการแตกหุ้น 3 ครั้งระหว่างปี 1998 และ 1999 และยังไม่เคยแตกหุ้นอีกเลยตั้งแต่นั้นมา หุ้นของยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิซนั้นมีการซื้อขายกันที่ 3,200 เหรียญ และได้เพิ่มมูลค่าขึ้นถึง 5,000% ตั้งแต่มีการแตกหุ้นครั้งสุดท้าย

ไม่ว่าผลงานในอดีตจะแสดงออกมาอย่างไร การเพิ่มขึ้นของการซื้อขายของรายย่อยในปีที่ผ่านมานั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงการวิเคราะห์คำนวณของบริษัทต่างๆเมื่อต้องการจะประเมินการแตกหุ้น

นักลงทุนรายย่อยของอเมริกานั้นเป็นรองต่อผู้นำตลาดและนักเทรดแบบ high-frequency (เทรดด้วยหลัก alogorithm ด้วยความเร็วสูงและมีการเปลี่ยนมือไปมาด้วยอัตราที่สูง) เท่านั้น กล่างโดย Larry Tabb ผู้อำนวยการด้านการค้นคว้าทางโครงสร้างของตลาดจาก Bloomberg Intelligence ด้านเซคเม้นท์รายย่อยในตอนนี้นั้นมีขนาดที่ใหญ่กว่า quantitative investor (นักลงทุนที่เทรดบนพื้นฐานสถิติ) hedge fund และนักลงทุนดั้งเดิมที่ถือยาวๆเท่านั้น

“การลงทุนโดยมากนั้นถูกผลักดันด้วยจิตวิทยา” กล่าวโดย Kevin Walkush ผู้จัดการพอร์ตลงทุนจาก Jensen Investment Management “ในตอนนี้ แทนที่นักลงทุนรายย่อยจะพบกับความท้าทายจากการซื้อส่วนเสี้ยวของหุ้น แต่การแตกหุ้นนั้นแปลว่าพวกเขาสามารถซื้อหุ้นนั้นได้ทันที มันก็แค่เปิดตลาดให้กว้างขึ้นสำหรับนักลงทุนรายย่อยนั่นเอง”

อ้างอิง:

Stock Splits Are Back. So Is the Debate Over Whether They Matter – Bloomberg

Leave a Reply