เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวการเข้าซื้อ Slack (ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งรับข้อความหรือ instant message) โดยบริษัท Salesforce (บริษัททางด้านซอฟต์แวร์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก) โดยดีลนี้มีมูลค่าการซื้อขายถึง 27,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 840,000 ล้านบาท) ซึ่งในช่วงปี 2000 นั้น Salesforce นี่เองที่เป็นผู้คิดค้นบริการที่เรียกว่า บริการทางด้านซอฟต์แวร์ หรือ Software as a Service สั้นๆก็คือการเข้าถึงโปรแกรมการใช้งานหรือซอฟต์แวร์ได้จากระยะทางไกลๆแทนที่จะต้องลงโปรแกรมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบที่เราคุ้นเคยกันดี
Software as a Service (SaaS) หรือบริการการเข้าถึงซอฟต์แวร์จากที่ไหนก็ได้นั้นคืออะไร?
SaaS นั้นเป็นบริการออกใบอนุญาติการเข้าถึงซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้บริการซึ่งปกติแล้วจะเป็นในลักษณะของสมาชิก หรือบางครั้งจะเรียกว่า “on-demand software” หรือก็คืออยากใช้เมื่อไหร่ก็ใช้ โดยมีเซิฟเวอร์รองรับจากภายนอกบริษัท ไม่ใช่ภายในบริษัท
โปรแกรมต่างๆของ SaaS นั้นมักจะมีการพัฒนาบนพื้นฐานของเว็บไซท์ (web-based) การเข้าถึงเมื่อไหร่ก็ได้ (on-demand) หรือคล้ายๆการนำโปรแกรมไปฝากไว้ที่ใดที่หนึ่ง (hosted software) ซึ่ง SaaS นี้ก็เป็นส่วนนึงที่มักจะเรียกกันว่า Cloud Computing เหมือนบริการหลายๆอย่างที่เราต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ตลอดเวลานั่นแหละโดยที่เราอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้
แอพของ SaaS นั้นปกติแล้วผู้ใช้อย่างเราๆก็จะเข้าถึงผ่านทางเว็บบราวเซอร์แล้วมีการใส่รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านตามปกติทั่วไปนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์เกี่ยวกับ productivity ต่างๆ หรือเกี่ยวกับข้อความ หรือพวกดาต้าเบส ซอฟต์แวร์การบริการจัดการ การพัฒนาต่างๆ การบริหารการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า การจัดการทรัพยากรบุคคล การบริหารข้อมูล ซึ่ง SaaS นั้นมีการถูกรวมเข้าไว้กับกลยุทธ์ของบริษัทชั้นนำต่างๆมากมาย ซึ่งจาก Gartner นั้นมีการคาดการณ์ไว้ว่า มูลค่าของ SaaS ในปี 2018 นั้นจะเติบโต 23% เป็น 72,000 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว
การมาของ SaaS นั้นก็ประจวบเหมาะกับการมาของการใช้บริการผ่านคลาวด์นั่นแหละ (cloud-based computing) ซึ่ง Cloud Computing ก็คือขั้นตอนการนำบริการทางเทคโนโลยีมานำเสนอต่อลูกค้าผ่านการใช้งานทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมไปถึงการฝากข้อมูล การสร้างเครือข่าย และบริการทางเซิฟเวอร์ ก่อนที่จะมี SaaS ให้ใช้นั้น บริษัทต่างๆต้องอัพเดทซอฟต์แวร์ของตัวเองผ่านคอมพิวเตอร์ ต้องมีการซื้อแผ่นดิสก์ที่บันทึกอัพเดทไว้และก็ต้องมาดาวโหลดลงเครื่องคอมพิวเตอร์อีกที (จริงๆแล้วบ้านเราก็ยังมีหลายๆบริษัทที่ยังทำแบบนี้อยู่)
การอัพเดทซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรใหญ่ๆนั้นต้องใช้ความพยายามพอสมควร เมื่อเวลาผ่านไปการอัพเดทผ่านอินเตอร์เน็ตก็ทำให้ชีวิตสะดวกรวดเร็วขึ้น ด้วยการซื้อใบอนุญาตแทนที่จะซื้อแผ่นดิสก์แทน อย่างไรก็ดีการอัพเดทซอฟต์แวร์ก็ยังคงต้องมีการลงโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการใช้งานอยู่ดี
แต่การมาของ SaaS นั้นผู้ใช้งานไม่มีความจำเป็นต้องลงโปรแกรมหรืออัพเดทโปรแกรมเลย แต่ว่าผู้ใช้งานสามารถล็อคอินผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรือเว็บบราวเซอร์และเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการผ่านทางเน็ตเวิคเพื่อเข้าถึงบริการนั้นๆ
SaaS นั้นมีการถูกพูดถึงในแง่ที่ว่าเป็นตัวอย่างของทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยความเชื่อที่ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นสามารถเพิ่มขึ้นได้ผ่านทางการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตดีขึ้น บริษัททางเทคโนโลยี บริษัทที่ให้บริการด้านการเงิน และบริษัททางโครงสร้างพื้นฐานต่างๆในโลกธุรกิจนั้นก็ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ SaaS ทั้งนั้น การมี SaaS นั้นทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์ผ่านทางเว็บบราวเซอร์จากหลายๆที่รวมถึงนอกสำนักงานอีกด้วย
ข้อดีของ SaaS เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ลักษณะดั้งเดิมก็คือเนื่องจากโปรแกรมต่างๆนั้นไม่ได้อยู่บนเครื่องเซิฟร์เวอร์ของบริษัท ดังนั้นบริษัทก็ไม่มีความต้องการที่จะลงทุนในฮาร์ดแวร์ต่างๆมากมาย มันสามารถง่ายที่จะดำเนินการได้ ง่ายต่อการอัพเดทและแก้ไข bug ต่างๆ และก็ถูกกว่าเดิมอีกด้วย (หรืออย่างน้อยต้นทุนที่ต้องจ่ายทันทีนั้นก็ต่ำกว่า) เนื่องจากผู้ใช้นั้นจ่าย SaaS เมื่อต้องการใช้เท่านั้น แทนที่จะต้องจ่ายค่าซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง ประเภทของซอฟ์ทแวร์ที่สามารถย้ายไปสู่โมเคลแบบ SaaS ได้นั้นมักจะโฟกัสที่บริการระดับองค์กร์อย่างเช่นทรัพยากรบุคคล งานประเภทนี้มักต้องการความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายจากพนักงานหลายๆคนจากหลายๆแผนกเพื่อที่ต้องแชร์ แก้ไข และส่งงานซึ่งกันและกันโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ภายในสำนักงานเดียวกัน
อย่างไรก็ดี SaaS ก็มีข้อด้อยเช่นกัน โดย SaaS นั้นต้องการความปลอดภัยอย่างสูงรวมไปถึงการเข้าถึงโปรแกรมต่างๆต้องมีความรวดเร็วมากเนื่องจากข้อมูลนั้นถูกเก็บไว้ที่เซิฟร์เวอร์ภายนอกบริษัท บริษัทจึงต้องแน่ใจว่ามันมีความปลอดภัยและไม่สามารถเข้าถึงได้จากบุคคลภายนอก ความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่ต่ำก็ส่งผลกระทบต่อความสามารถเข้าถึงข้อมูลเช่นกัน เครือข่ายในบริษัทนั้นมีโน้มโน้มที่จะเร็วกว่าการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว
อ้างอิง:
https://www.economist.com/business/2020/12/05/salesforce-gets-some-slack
https://en.wikipedia.org/wiki/Software_as_a_service
https://www.investopedia.com/terms/s/software-as-a-service-saas.asp
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.