พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Finance

Siclicon Valley Bank (SVB) มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่?

NOAH BERGER / AFP

จากลิงก์ตอนท้ายด้านล่าง ก็ได้เรื่องเล่ามาดังนี้

Silicon Valley Bank หรือธนาคาร SVB เป็นบ้านของเหล่าบรรดาบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทั้งหลาย เป็นธนาคารผู้ให้กู้ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของอเมริกา และถือครองสินทรัพย์ประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมันได้ล่มสลายลงเมื่อวันที่ 10 มีนาคมเมื่อค้นเดือนที่ผ่านมานี่เอง ซึ่งเป็นผู้ให้กู้รายใหญ่ที่สุดตั้งแต่วิกฤตการเงินทั่วโลกในปี 2008

เงินฝากของธนาคารหลายๆรายนั้นมีจำนวนมากกว่าถึง 250,000 เหรียญที่คุ้มครองเงินฝากโดยประกันภัยของรัฐ เหล่าผู้กำกับดูแลก็ได้ก้าวเข้ามาเพื่อผ่อนปรนให้ความเสียหายนั้นมีน้อยลง

“ชาวอเมริกาควรมั่นใจได้ ว่าเงินฝากของเขาจะอยู่ที่นั่นเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาต้องการ”…กล่าวโดยประธานาธิบดี โจ ไบเดน

แต่ SVB ก็ได้แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องใหญ่หลวงของระบบโครงสร้างของธนาคารในอเมริกา นักข่าววอลสตรีทของเราได้อธิบายดังนี้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นและจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

  1. ทำไม SVB ถึงล่มสลาย?

“ธนาคาร SVB นั้นส่วนใหญ่แล้วจะมีลูกค้าหรือดูแลอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของอเมริกา และเมื่อช่วงเวลาสามปีที่ผ่านมา อุตสากรรมเทคโนโลโยของอเมริกานั้นก็อยู่ในช่วงเติบโต พวกเขาได้เงินทุนเพิ่มขึ้นมากสำหรับการลงทุนโดย Venture Capital และพวกเขาแทบทั้งหมดก็ใช้เงินจากธนาคาร SVB นี้ และลูกค้าทั้งหมดนี้ก็เป็นลูกค้าเชิงพาณิชย์และเนื่องจากพวกเขาฝากเงินจำนวนมากไว้กับ SVB ซึ่งก็แปลว่าเงินฝากทั้งหมดนั้นจะรับประกันโดยโครงการการประกันเงินฝากที่ปกป้องผู้ฝากเงินจากความสูญเสียในกรณีที่ธนาคารเกิดล้มเหลวขึ้นมา ซึ่งนั่นก็เป็นปัญหานึง”

“อีกปัญหานึงก็คือ เขานำเงินก้อนใหญ่ของเงินฝากจากเหล่าบริษัทด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ในช่วงเวลาสามปีที่ผ่านมาและก็มีความยากลำบากในการที่จะปล่อยกู้กับกลุ่มบริษัทเทคฯเหล่านี้ที่เป็นกลุ่มเดียวกัน ธนาคารเลยใช้เงินฝากเหล่านี้เอาไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยรัฐบาลอเมริกัน (ที่อเมริกาเรียก Treasuries) รวมไปถึงหนี้ที่มีเงินจำนองเป็นตัวค้ำเช่นกัน และสินทรัพย์หนี้เหล่านั้นมีความไวต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างมาก (คือจะสะท้อนและปรับตัวต่อการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยอย่างทันท่วงที)”

“ดังนั้นแล้วเมื่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางมีการปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มูลค่าของสินทรัพย์หนี้ต่างๆที่ SVB ซื้อสะสมมานั้นมีการปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแล้ว เมื่อคนเริ่มรู้ตัวว่ามูลค่าของสินทรัพย์นั้นลดตัวต่ำลงและอาจจะล้มละลายได้ ทำให้ลูกค้าต่างๆก็มีแรงจูงใจที่จะวิ่งไปเอาสินทรัพย์นั้นออกมาจากธนาคารโดยเร็วที่สุดและนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น”

2. เหล่าผู้กำกับดูแลมีการตอบโต้อย่างไรบ้าง?

“ฝ่ายการคลังก็ประกาศว่าผู้ฝากเงินทั้งหมดกับธนาคาร SVB และอีกธนาคารหนึ่งชื่อว่าธนาคาร Signature ก็ล้มเช่นเดียวกันก็จะได้รับการดูแลซึ่งแม้แต่เงินฝากที่ไม่ได้มีการรับประกันที่บริษัทได้ฝากไว้กับธนาคาร SVB กับ Signature จะสามารถไปเรียกคืนมาได้เต็มจำนวน ซึ่งนั่นเป็นการแทรกแซงที่การคลังไม่เคยทำมาก่อนในกรณีที่เคยมีธนาคารล้ม และในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ได้เปิดศูนย์ให้ธนาคารสามารถฝากสินทรัพย์ที่ดีมีคุณภาพสูงเช่น Treasuries กับศูนย์รับฝากนี้เพื่อกู้เงินได้ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างใจดีมาก และการผสมผสานระหว่างสองมาตราการนี้ก็เพื่อจะพยายามหยุดการระบาดของการวิ่งไปถอนเงินไม่ให้ลามไปยังธนาคารอื่นๆในระบบด้วย”

3. แล้วมันแปลว่าอะไรสำหรับธนาคาร?

“เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดคำถามใหญ่ขึ้นมาสองคำถามเกี่ยวกับระบบการเงิน คำถามแรกก็คือ เครื่องมือกำกับดูแลอันนี้ที่ธนาคารมีอยู่ในปัจจุบันนี้มันเหมาะสมหรือไม่ ธนาคาร SVB และธนาคารอื่นๆในขนาดใหญ่แบบนี้ได้รับการยกเว้นจากกฏเกณฑ์หลายๆข้อที่มีอยู่หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจนั้นส่วนนึงก็เพราะว่าการล้มของมันจะไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงจากตัวระบบเอง (หรือที่่ฝรั่งชอบใช้คำว่า systemic risk) ต่อระบบการเงิน แต่อย่างที่เราเห็นกันแล้วเมื่อไหร่ก็ตามที่คนแห่กันไปถอนเงินโดยเฉพาะธนาคารที่ใหญ่ๆอย่าง SVB นั้น จะนำไปสู่ความกลัวการแห่ถอนเงินกับสถาบันการเงินอื่นๆด้วย นั่นทำให้เห็นว่า มันมีความเสี่ยงในตัวระบบจริงๆที่เกี่ยวข้องกับธนาคารที่กำลังล้มและบางทีจุดที่ว่านั้นควรได้รับการคิดใหม่อีกครั้ง ส่วนคำถามใหญ่คำถามที่สองคือว่าเราจะเห็นปัญหาที่อื่นๆในระบบการเงินนี่อีกไหม คุณได้เห็นแล้วว่าสถาบันการเงินในกลุ่มที่เศรษฐกิจกำลังร้อนแรงอย่างคริปโตที่ FTX ก็ล้ม และตอนนี้ก็กลุ่มเทคฯที่ธนาคาร SVB ล้ม คุณก็ได้เห็นแล้วว่าสถานบันเหล่านั้นโดนก่อนเลยเมื่ออัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวขึ้น และมันก็ยังไม่ชัดเจนว่าผลกระทบที่แท้จริงจากอัตราดอกเบี้ยที่กำลังขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบไปทั่วระบบการเงินและเปิดเผยให้เห็นถึงสถาบันอื่นๆที่กำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกันจากผลกระทบนี้หรือไม่”

ท่านสามารถเข้าชม youtube ต้นฉบับจากลิงก์ด้านล่างได้เช่นเคยครับ

อ้างอิง:

Silicon Valley Bank: what really went wrong? – YouTube

Leave a Reply