พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Finance

เงินทุนสำรอง (Reserves)

โดยทั่วไปแล้วเงินทุนสำรองจะถูกแบ่งออกเป็นสามอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือเงินทุนสำรองสำหรับเพื่อการจ่ายหนี้ อย่างสองคือเงินทุนสำรองสำหรับการหักหรือชดเชยกับทรัพย์สินบางอย่าง และอย่างที่สามคือเงินทุนสำรองที่เป็นเงินส่วนเกิน (surplus)

เงินทุนสำรองส่วนแรกนั้นก้อมีไว้เพื่อการจ่ายภาษี การเคลมประกันภัยจากอุบัติเหตุต่างๆและสำหรับเหตุการณ์ต่างๆที่อาจจะอยู่ในขั้นตอนของการฟ้องร้องกันอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วรายจ่ายเหล่านี้จะเป็นภาระหนี้ที่จะเกิดขึ้นจริงๆ แม้ว่าในบางกรณี มันจะถูกแยกออกมาจาก ส่วนหนี้สินหมุนเวียน (current liabilities) ในงบดุล (balance sheet) ก็ตาม

เงินทุนสำรองเพื่อการหักหรือชดเชยกับทรัพย์สินนั้นโดยที่สำคัญที่สุดแล้วก็คือ การเสื่อมค่า (depreciation) และการหมดไป (depletion) ซึ่งอาจจะพบได้ทั้งสองด้านของงบดุลทั้งด้านทรัพย์สิน (assets) และ หนี้สิน (liabilities) ซึ่งก็อาจจะเป็นหักหรือชดเชยจากบัญชีทรัพย์สิน (property account) หากเจอฝั่งทรัพย์สิน หรือจะอยู่ฝั่งหนี้สินก็ได้

การหักลบกลบหนี้ที่ทำกันบ่อยๆอีกอย่างหนึ่งก็คือการตั้งสำรองเงินทุนเผื่อหนี้เสียสำหรับบัญชีลูกหนี้ที่อาจจะไม่สามารถเก็บเงินได้แล้ว ซึ่งปกติก็มักจะหักจากเงินค้างรับ (notes receivables) และบัญชีลูกค้า และก็มักจะไม่ได้มีการเขียนแสดงไว้

การชดเชยอีกอย่างหนึ่งของเงินทุนสำรองก็คือการลดลงของสินค้าคงคลัง (inventories) การจัดการกับเงินทุนสำรองประเภทนี้นั้นต้องรู้ก่อนว่าการลดลงของสินค้าคงคลังนั้นได้มีการบันทึกหรือสะท้อนไปในรายการอื่นแล้วรึยัง หรือว่าเป็นตั้งสำรองเพื่อการลดลงนี้โดยเฉพาะ

ถ้าเป็นการลดลงแบบแรก การลดลงของสินค้าคงคลังนั้นก็จะต้องมีจำนวนยอดที่เท่ากับเงินทุนสำรองนี้ แต่หากว่าเงินทุนสำรองนี้เป็นการลดลงของมูลค่า (value) ของสินค้าคงคลังมันควรจะได้รับการปฏิบัติเหมือนกับว่าเป็นเงินทุนสำรองจริงๆ (Reserve) หรือเป็นเงินทุนสำรองเผื่อฉุกเฉิน (contingencies) ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นส่วนนึงของเงินส่วนเกิน (Surplus) ดังนั้นแล้วมันเป็นสิ่งสำคัญว่าการด้อยค่าหรือการลดลงของสินค้าคงคลังนั้นเป็นการลดลงจริงๆของสินค้า หรือเป็นการลดลงทางมูลค่าของตลาดของสินค้านั้นๆ

เงินทุนสำรองฉุกเฉิน (Contingency Reserves) และเงินทุนสำรองที่คล้ายๆกันอื่นๆ อาจทำให้รายงานทางการเงินดูสับสนและซับซ้อนและค่อนข้างจะบดบังช่วงเวลาและผลกระทบของเงินที่เสียหลายๆประเภท

ถ้าภายในหนึ่งปี บริษัทนั้นได้มีการตั้งเงินทุนสำรองเผื่อสำหรับเหตุการณ์ที่มูลค่าของสินค้าคงคลังนั้นจะลดลง มันก็ดูเป็นการเหมาะสมที่จะแยกตัวเลขเงินทุนสำรองนี้ออกจากเงินทุนสำรองส่วนเกิน (Surplus) มากกว่าการที่จะหักออกจากกำไร (earnings) เนื่องจากว่าการสูญเสียนั้นยังไม่เกิดขึ้นจริงหรือยังไม่ได้มีการบันทึก

แต่หากว่าปีหน้าการลดลงของมูลค่าของสินค้าคงคลังเกิดขึ้นจริง มันก็เป็นการเหมาะสมที่จะหักหนี้เสียส่วนนี้ออกจากเงินทุนสำรองที่ตั้งไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินนี้ เนื่องจากว่าหนี้เสียนี้ได้เกิดขึ้นจริงๆแล้ว ไม่ควรหักออกจากรายได้ในปีใดก็ตาม เพราะมันจะทำให้กำไรดูมีมากเกินจริง (งง!)

ตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทแสดงว่ามีกำไร 2 ล้านบาทในบัญชีรายรับ แต่งบดุลตอนสิ้นปีไม่ได้แสดงว่ามีเงินทุนสำรองหนี้เสีย 6 ล้านบาทในปีก่อนหน้านั้น มันก็อาจจะดูสมเหตุสมผลว่าบริษัทในปีนั้นเสียเงินไป 4 ล้านบาท แต่ในบางครั้ง เงินทุนสำรองก็อาจถูกโอนย้ายไปอยู่ในเงินทุนสำรองส่วนเกิน และถ้าเงินทุนสำรองนี้ถูกโอนย้ายไปอยู่ในเงินทุนสำรองส่วนเกินจริงๆ เงินทุนสำรองส่วนเกินก็จะแสดงยอด 6 ล้านนี้ และกำไรสุทธิบริษัทที่ 2 ล้านนี้ก็จะเป็นอะไรที่ถูกต้อง

เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ดูหลอกล่อและงงงวยนี้ นักลงทุนแบบเราๆควรจะตรวจสอบรายละเอียดทั้งฝั่งรายได้และฝั่งเงินทุนสำรองส่วนเกินโดยนำมาเทียบกันหลายๆปีและลงลึกรายละเอียดดูว่ายอดทุนสำรองที่เกิดขึ้นจากเงินทุนสำรองปกติหรือเงินทุนสำรองส่วนเกิน อันไหนกันแน่ที่แสดงถึงหนี้เสียที่เกิดขึ้นจากธุรกิจในช่วงเวลานั้นๆ

อ้างอิง: Interpretation of Financial Statements By Benjamin Graham and Spencer B. Meredith

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply