สัปดาห์ที่แล้วเราศึกษากันถึงเรื่องสินค้าคงหลัง (inventory) ในสัปดาห์นี้เราก็มาพูดกันถึงรายได้ค้างรับหรือลูกหนี้ค้างรับของบริษัท (receivables)
ประเภทของยอดรายได้ค้างรับของแต่ละอุตสาหกรรมก็จะมีประเภทที่แตกต่างกันออกไปตามวิธีการปฎิบัติทางการค้าที่ไม่เหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้นในแต่ละธุรกิจ ยอดของรายได้ค้างรับก็จะมักจะเป็นไปตามวงเงินหรือเครดิตที่ธนาคารที่ปล่อยให้กู้ได้นั่นแหละ
หมายความว่า เมื่อธนาคารจำกัดวงเงินของธุรกิจนั้น บริษัทก็ต้องปล่อยวงเงินให้ยาวขึ้นหรือสูงขึ้นให้กับลูกค้าที่เกินกว่าปกติให้กับเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ ยอดค้างรับก็จะมีจำนวนที่สูงขึ้นกว่าปกติ
รายได้ค้างรับของบริษัทนั้นถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องดีและถือเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทเนื่องจากสามารถนำไปค้ำประกันเงินกู้และนำเงินมาเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจต่างในระยะสั้นได้
ในด้านการวิเคราหะ์ที่คล้ายๆกับสินค้าคงคลัง ก็คือเพื่อให้ตัวเลขนี้มีประโยชน์ การศึกษาถึงรายได้ค้างรับนั้นก็ควรนำไปเปรียบเทียบกับยอดขายทั้งปี (annual sales) และเพื่อดูว่าแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ไปในทิศทางที่มากขึ้นหรือน้อยลง ยิ่งเทียบกันหลายๆปี (over period of years) ยิ่งดี
หากเราพบว่ายอดค้างรับมีจำนวนที่มากเกินจนดูผิดปกติเมื่อเทียบกับยอดขายหรือรายการอื่นๆ มันก็จะเหมือนบอกกลายๆว่าบริษัทมีการปล่อยเครดิตที่ผิดปกติจนน่าสงสัย และอาจจะนำไปสู่ภาวะการขาดทุนหรือสูญเสียรายได้อันเนื่องมาจากการปล่อยเครดิตให้กับลูกค้าที่มีฐานะการเงินที่ไม่ดีมากจนเกินไป
ยิ่งในกรณีที่บริษัทขายสินค้าที่จำเป็นต้องมีการปล่อยเครดิตยาว มีการผ่อนจ่ายสินค้าในระยะๆยาวหลายๆปียิ่งน่ากังวล ทำให้ต้องมีการตรวจสอบและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ทางด้านอุตสาหกรรมใหญ่ๆ รถบรรทุก อะไรแบบนี้
การผ่อนชำระของลูกค้าเหล่านี้มักจะต้องพึ่งวงเงินจากบริษัทสินเชื่อ (financial/leasing companies) ที่ปล่อยกู้ทางการเงิน ซึ่งก็มักจะปล่อยกู้ที่อาจจะเกินวงเงิน หรือเกินยอดค้ำประกันของบริษัทลูกค้าเหล่านี้เอง (ก็อยากขายอ่ะเนาะ)
หลายๆครั้งเราถึงได้ยินว่าบริษัทสินเชื่อเหล่านี้ขายยอดค้างรับหรือหนี้ตามสัญญาที่ทำไว้กับลูกค้าเหล่านั้นออกไปอีกทีเพื่อลดความเสี่ยงหรือเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัทตัวเองก็แล้วแต่ (อาจมีความจำเป็นต้องใช้เงินด่วนอะไรแบบนัแ)
ดังนั้นแล้วในการวิเคราะห์งบดุลของบริษัทเหล่านี้ต้องดูให้ดีว่ายอดค้างรับนั้นมาจากไหน เป็นยอดเท่าไหร่ และในรายการไหนมีการตัดทอน (discounted) จากยอดเต็มจำนวนที่ต้องจ่ายจริงๆไว้รึเปล่าทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สิน
นั่นก็คือแม้ว่า ยอดค้างรับหากมีเยอะๆจะเหมือนว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน (current assets) เยอะ แต่ยอดค้างร้บจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยหากมันกลายเป็นหนี้เสีย ลูกค้าอาจจะจ่ายช้า หรือในบางรายอาจจะถึงขั้นไม่มีจ่ายและยื่นล้มละลายไปเลยก็ได้
ตัวเลขนึงที่เป็นมาตราฐานการวัดประสิทธิภาพของบริษัทในแง่ของการชำระเงินของลูกค้าก็คือจำนวนวันเฉลี่ยที่ลูกค้าชำระค่าสินค้าให้กับบริษัทนับตั้งแต่วันส่งสินค้า (days sales outstanding) ซึ่งยิ่งมีจำนวนวันที่น้อยก็จะยิ่งดี บ่งบอกว่าบริษัทสามารถหมุนสินค้าได้เร็วและเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้ดีและน่าจะมีปัญหาการขาดสภาพคล่องน้อย
แป๊บเดียวก็ผ่านไปสามเดือนแล้วปีนี้ การเลือกตั้งโดยทั่วไปก็ผ่านไปสักที แม้จะมีข่าวความไม่โปร่งใสออกมาบ้าง (ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องปกติเหมือนทุกครั้ง) เราก็หวังว่าบรรยากาศการลงทุนในบ้านเราจะมีความนิ่งและชัดเจนขึ้นสักทีเนาะ
อ้างอิง:
https://www.investopedia.com/terms/r/receivables.asp
blenlit
hakwamroo. com
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.