พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

ทำไม Phillips Curve ถึงกำลังล้มเหลว?

https://www.economicshelp.org/blog/1364/economics/phillips-curve-explained/

จากบทความ The Economist เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา ได้มีการตีพิมพ์รายงานพิเศษเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกว่าด้วยเรื่องตามหา Phillips Curve. “Why has the “Phillips curve” failed at both ends?”. ซึ่งกำลังเป็นที่สงสัยกันว่ามันเริ่มจะทำให้นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายเริ่มผิดหวังกันรึเปล่า

ซึ่งในโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ของ William Phillips นั้นมีตัวตันอยู่จริง คอมพิวเตอร์ไฮดรอลิคของ Phillips นั้นใช้การไหลของน้ำในการจำลองรูปบแบบการไหลของเงินในระบบเศรษฐกิจ ความสำเร็จของโมเดลนี้ช่วยให้ Phillips นั้นได้งานที่ London School of Economics ในปี 1950 เลยทีเดียว

Phillips Curve นั้นเป็นการบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงาน ซึ่งสาระสำคัญของมันก็คือหากอัตราว่างงานนั้นต่ำ อัตราเงินเฟ้อก็จะสูง แต่ถ้าอัตราว่างงานนั้นสูงเกินไป อัตราเงินเฟ้อก็จะต่ำ

อย่างไรก็ดี ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานั้น “Phillips curve” นั้นล้มเหลวตั้งสองด้าน จากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงเริ่มปี 2010 ทำให้อัตราว่างงานนั้นพุ่งขึ้นไปที่ 8.5% ทั้งทฤษฏีและประสพการณ์นั้นบอกว่าเหตุการณ์นี้ควรจะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลง แต่มันก้อไม่เป็นเช่นนั้น (เส้นสีน้ำตาลแนวนอนจะเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อไม่ไปไหนเลยแทบเป็นแนวนอนในขณะที่อัตราว่างงานนั้นจะขึ้นหรือลง

นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs ประเมินได้ว่า การร่วงลง 1 เปอร์เซ็นต์ของอัตราว่างงานชาวอเมริกันนั้นจะทำให้อัตราว่างงานเพิ่มขึ้น 0.1-0.2 จุดเท่านั้น ซึ่งน้อยมากและยากเกินที่จะเข้าใจ

มันมีคำอธิบายที่อาจจะไม่น่าพอใจสักเท่าไหร่อยู่สามอย่าง อย่างแรกคือมันอาจจะเป็นเพียงแค่สิ่งประดิษฐ์ทางสถิติที่มนุษย์สร้างขึ้นเท่านั้น Michael Mcleay และ Silvana Teneyro จากธนาคารแห่งชาติของอังกฤษแย้งว่าความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงานนั้นขึ้นอยู่กับ “Goodhart’s law” ซึ่งบอกว่าความสัมพันธ์ทางสถิติจะล้มเหลวเมื่อมันถูกใช้ประโยชน์จากช่วงโหว่โดยผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ตัวอย่างเช่น หากธนาคารแห่งชาตินั้นให้ความสนใจทั้งอัตราว่างงานและอัตราเงินเฟ้อ ในช่วงเศรษฐกิจหดตัวนั้นเขาจะไม่สนใจอัตราว่างงานที่สูงขึ้นถ้าหากเขาต้องการให้อัตราว่างงานนั้นลดต่ำลง แต่เมื่ออัตราว่างงานนั้นต่ำลง แบงค์ชาติทั้งหลายก็จะตอบโต้อย่างทันทีต่อสัญญาณที่บ่งบอกว่าราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาผ่านไป การกระทำเหล่านั้นจะสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกแบบเทียมๆขึ้นมาระหว่างอัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงาน และกลบผลกระทบจากความสัมพันธ์ที่แท้จริงที่ควรวิ่งไปในทิศทางที่ตรงข้ามกัน (อัตราว่างงานสูง อัตราเงินเฟ้อควรจะต่ำตามทฤษฏี)

คำอธิบายที่สองนั้นเกี่ยวข้องกับความคาดหวังเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ คนทั่วไปนั้นก็มีความสามารถที่จะคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจที่อาจจวิ่งเร็วเกินไป (หรืออย่างน้อยก็เริ่มสังเกตว่าราคาสินค้านั้นสูงขึ้นเร็วเกินไปจึงปรับเปลี่ยนความคาดหวังที่มีต่อราคานั้นไปด้วย) ซึ่งมันควรจะเป็นแรงผลักดันต่อ Phillips curve นั้น เช่น บริษัทต่างๆควรขึ้นราคาสินค้า และลูกจ้างก็ควรจะต้องการค่าจ้างที่สูงขึ้นไปด้วยเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น

ความคาดหวังเหล่านี้ก็เริ่มที่จะดื้อด้านไม่ขยับไปไหน แคนาดา นิวซีแลนด์ และอังกฤษก็แทบจะไม่เคยตอบโต้ต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นๆเลยตั้งแต่ปี 2000 (ข้อมูลจาก Wolrd Bank) ในอเมริกาก็เช่นกัน ความคาดหวังเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อนั้นก็ค่อนข้างจะมีปฏิกิริยาที่ช้าลงต่อข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าในอดีต มันก็อาจเป็นได้ว่าเนื่องจากราคาสินค้านั้นขยับตัวช้ามากเสียจนไม่จำเป็นต้องไปสนใจมันแล้วก็ได้

มันก็ไม่ถึงกับเป็นที่สงสัยว่าต่อให้ไม่มีผลกระทบจากความคาดหวังของอัตราเงินเฟ้อ Phillips curve ควรจะแบนกว่านี้ แต่แม้ว่าความคาดหวังเหล่านั้นควรจะมีความสำคัญ แต่มันก็ไม่ควรจะเป็นทุกสิ่ง ท้ายที่สุดแล้วเศรษฐกิจที่มีความต้องการด้านสินค้าและบริการที่มากขึ้นเมื่อเกิดข้อจำกัดทางด้านอุปทาน ก็จะนำมาสู่คำอธิบายที่สามและอาจจะน่าเชื่อที่สุดในบรรดาสามข้อก็คือว่า Phillips curve นั้นยังคงมีอยู่จริง แต่แค่อาจจะไม่ใช่แนวนอนหรือเป็นเส้นตรงซะทีเดียว

ราคาสินคาและค่าจ้างสามารถที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและทันทีทันใด หากอัตราการว่างงานนั้นตกลงมาต่ำกว่าเกณฑ์ระดับนึงในระดับที่ทุกอย่างนั้นไม่ยึดติดซึ่งกันและกันก็ได้

แล้วจุดหรือเกณฑ์ที่ว่านั้นอยู่ที่ไหนหละ? จะตอบคำถามนี้ต้องแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือต้นทุนของบริษัทต่างๆโดยเฉพาะค่าจ้างนั้นขึ้นไปได้สูงสุดแค่ไหนละ? อย่างที่สอง บริษัทนั้นจะส่งต่อต้นทุนเหล่านั้นไปให้สะท้อนในราคาแทนรึเปล่า?

แม้ว่าจุดเชื่อมระหว่างอัตราว่างงานและค่าจ้างมันจะดูหลวมขึ้น แต่ก็ยังคงมีความสัมพันธ์กันอยู่ อาจจะยกเว้นอยู่ที่นึงคือที่ญี่ปุ่น ที่ๆค่าจ้างแทบไม่เพิ่มขึ้นเลยทั้งๆที่นโยบายภายใต้นายกอาเบะนั้นส่งผลให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมาก (ตามกราฟ) ด้วยวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ทำงานที่เดียวตลอดชีวิตนั้นอาจจะทำให้ลูกจ้างบางพวกไม่สามารถที่จะย้ายงานได้เนื่องจากกลัวสูญเสียสถานะทางสังคมไปซึ่งก็อาจจเป็นส่วนนึงของคำอธิบายนี้ แต่ประเทศอื่นๆแล้วละก็มายังจุดเชื่อมที่สองระหว่างค่าจ้างและราคาสินค้า ที่ดูเหมือนว่าจะหายไป

โดยสรุปแล้ว หากจะต้องเล่าเรื่องว่าเงินเฟ้อจะเริ่มสูงขึ้นเมื่อไหร่ในประเทศที่ร่ำรวย มันก็อาจจะออกมาในแนวที่ว่า แม้ว่าค่าจ้างจะเพิ่มสูงขึ้นในอเมริกา แต่กำไรก็สูงขึ้นด้วย เมื่อกำไรลดลง บริษัทต่างๆก็อาจจะไม่มีทางเลือกมากนอกจากขึ้นราคาสินค้า

ในยุโรป กำไรอาจจะต่ำกว่า แต่อัตราการเติบโตทางค่าจ้างก็เช่นกัน เพราะตลาดแรงงานของยุโรปนั้นก็ไม่ได้เติบโตเท่ากับอเมริกา แต่หากมันจะเติบโตทีหลัง อัตราเงินเฟ้อก็จะขยับเช่นกัน

Phillips curve แม้ว่าจะไม่ใช่เส้นตรงหรือแนวนอน แปลว่าราคาสินค้ามันก็อาจจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างทันทีทันใดก็ได้เมื่อเศรษฐกิจมันไปถึงจุดที่ต้องพลิกผัน แบงค์ชาติต่างๆก็ต้องต่อสู้กับเศรษฐกิจที่แรงเกินไปในภายหลังหรือต้องเสียต่อการสูญเสียการควบคุมความคาดหวังที่มีต่อเงินเฟ้อ อย่างเช่นในช่วงปี 1970 แต่ก็ยกเว้นญี่ปุ่นจากทัศนคติที่ออกไปในแนวทางเงินฝืดและมีตลาดแรงงานที่เฉพาะตัว

ปัญหาของเรื่องเล่านี้ก็คือว่า ตลาดการเงินต่างๆไม่ได้คาดหวังว่ามันจะเกิดขึ้น บางทีตลาดอาจจะคาดหวังว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่นอกจากนโยบายทางการเงินและตลาดแรงงานแล้ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็จะเป็นตัวนึงที่ช่วยควรคุมอัตราเงินเฟ้อได้เช่นกัน

อ้างอิง:

https://www.economist.com/special-report/2019/10/10/economists-models-of-inflation-are-letting-them-down

https://www.economist.com/special-report/2019/10/10/inflation-is-losing-its-meaning-as-an-economic-indicator

https://www.investopedia.com/terms/p/phillipscurve.asp

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply