พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Investment

ถ้าอยากเป็นเจ้าของหุ้นจากจีน ก็ต้องไปที่จีนอ่ะนะ

ถึงกระทั่งบัดนี้ นักลงทุนก็ยังคงงงงวยอยู่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับ Didi Global ยักษ์ใหญ่ด้านการเรียกรถผ่านแอพของจีน ว่าไปเหยียบตีนผู้คุ้มกฏของจีนตรงไหน บางคนบอกว่า Didi ก็โง่เกิ๊นที่ผลักดันหุ้นเสนอขายครั้งแรก (IPO) ของตัวเองที่มีมูลค่าถึง 4,400 ล้านเหรียญที่ตลาดหุ้นนิวยอร์คทั้งๆที่ท่านๆผู้มีอำนาจในจีนเตือนแล้วว่าให้เลื่อนการเสนอขายหุ้นออกไปก่อน

ส่วนคนอื่นๆก็เดาไปว่า Didi นั้นแย่งซีนจากเหล่าผู้นำในปักกิ่งด้วยการทำการซื้อขายวันแรกวันที่ 30 มิถุนายนซึ่งเป็นวันก่อนครบครอบวันเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (มันก็เปรี้ยวซะเหลือเกินเนาะ)

ไม่ว่าจะพลาดไปทำแมวอะไรให้ใครไม่พอใจก็ได้ Didi ตอนนี้ก็บอกว่าโอเค บริษัทจะถอนตัวออกจากตลาดนิวยอร์คก็ได้ (วะ) แล้วก็ย้ายตูดตัวเองกลับไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงแทน (ก็ได้) โดยที่บริษัทก็ไม่ได้บอกถึงเหตุผลหรือตอบคำถามใครๆให้คลายสงสัยถึงสาเหตุการกระทำในครั้งนี้

มันก็เป็นไปได้ว่าบริษัทนั้นถูกบังคับให้ออกจากอเมริกาโดยผู้คุ้มกฏด้านอินเตอร์เน็ตของจีน ซึ่งก็เป็นความล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่าเล้ยของ Didi และผู้ถือหุ้นอย่างเช่น Softbank บริษัทลงทุนจากญี่ปุ่น (ซึ่งราคาของ Softbank ก็ร่วงไป 8% ตั้งแต่ Didi ประกาศจะถอนตัวออกจากตลาดนิวยอร์ค) และยังเป็นเสมือนลางบอกเหตุถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงสองอย่างว่านักลงทุนต่างชาติจะสามารถเข้าถึงหุ้นจีนได้อย่างไรในอนาคต

อย่างแรกเลยก็คือจุดจบของการนำเสนอขายหุ้นของจีนในอเมริกา เมื่อไม่นานมานี้เองตลาดหุ้นอเมริกานั้นก็เป็นปลายทางที่บริษัทจีนใฝ่ฝันอยากจะไปจดทะเบียน Alibaba บริษัทด้านอีคอมเมิซซึ่งเป็นบริษัทมหาชนในนิวยอร์คในปี 2014 นั้นก็ยังคงเป็นการเสนอขายหุ้นครั้งแรกที่มีมูลค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา Didi ก็เป็นส่วนนึงของเหล่าบริษัทจีนที่อยากจะเข้าถึงตลาดทุนหนาๆของพี่มะกัน กลุ่มของบริษัทจีนราวๆ 248 บริษัทมีมูลค่าตลาดรวมกันถึง 2.1 ล้านล้านเหรียญมีการซื้อขายกันในนิวยอร์คเมื่อต้นตุลาคมที่ผ่านมา

เหล่าบริษัทจดทะเบียนนั้นก็ถูกคุกคามด้วยกฏเกณฑ์ของพี่มะกันว่าบริษัทที่จดทะเบียนนั้นก็สามารถให้เข้าตรวจสอบเอกสารภายในได้มิฉะนั้นก็จะถูกเตะออกจากตลาดหุ้นได้ บริษัทจีนทั้งหลายก็ไม่สามารถที่จะทำตามได้อย่างพร้อมเพรียงเนื่องจากว่าเหล่าผู้มีอำนาจในจีนนั้นถือว่าเอกสารเหล่านั้นเป็น “ความลับของทางการ” (ว่าไปนั่น) ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ก็ย้อนกลับไปเป็นทศวรรษเลยทีเดียว แต่กฏหมายนี้ถูกทำให้มีผลโดยหน่วยงานกำกับและดูแลของตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมซึ่งจะไล่เตะบริษัทที่ไม่ทำตามออกจากตลาดอเมริกาภายในปี 2024 ซึ่งนั่นก็จะทำให้นักลงทุนบางจำพวกนั้นต้องพบกับความเจ็บปวด

หลายๆคนก็หวังว่าสุดท้ายพี่มะกันกับพี่จีนจะสามารถตกลงกันได้และก็ชุบชีวิตธุรกิจข้ามแดนนี้กลับมาอีกครั้ง อย่างไรก็ดีไอ่ความคิดที่ว่าผู้คุ้มกฏจีนนั้นอยู่เบื้องหลังการถอนตัวของ Didi ในครั้งนี้ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนโดยรัฐบาลต่างชาติในตลาดหุ้นของอเมริกาทำให้ความหวังดังกล่าวก็ยากที่จะฟื้นกลับมาได้ กล่าวโดย Jesse Fried แห่งโรงเรียนกฏหมายแห่ง Hardvard

สัดส่วนหุ้น (equities) และพันธบัตร (bonds) ที่ถือโดยต่างชาติในจีน (ล้านล้านหยวน)

การเปลี่ยนแปลงอย่างที่สองคือการปรับทิศทางใหม่ของเงินทุนต่อตลาดหุ้นจีน Didi นั้นเป็นหนึ่งในบริษัทจีนทางด้านเทคโนโลยีหลายๆบริษัทในเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาที่ถูกตบด้วยกฏเกณฑ์อันโหดเหี้ยมนี้ การไล่ตบเหล่านี้ซึ่งเป็นเป้าเกือบทั้งหมดเพ่งไปเฉพาะกับเหล่าบริษัทที่เปรี้ยวไปจดทะเบียนยังนอกประเทศจีน ก็ได้ลบล้างหายเกลี้ยงไปเป็นมูลค่าตลาดประมาณ 1.5 ล้านๆเหรียญสำหรับท่านผู้ถือหุ้นทั้งหลายทั้งแต่กุมภาพันธ์มา

แต่ในขณะเดียวกันตลาดหุ้นจีนก็ได้อานิสงเช่นกัน โดยเฉพาะการถือครองโดยต่างชาติของหุ้นและพันธบัตรในจีนนั้นก็ได้เพิ่มมูลค่าขึ้นเกือบเท่าตัวระหว่างช่วงเริ่มปี 2019 และกันยายาปีนี้เป็นประมาณ 1.1 ล้านล้านเหรียญ

การจัดสรรทุนใหม่ในครั้งนี้ก็เป็นผลลัพธ์มาจากแรงผลักสองแรง อย่างแรกก็คือการรวมหุ้นและพันธบัตรจีนเข้าไปในดัชนี้ทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าเหล่ากองทุนดัชนีก็ต้องถือด้วย อีกแรงผลักก็คือความจริงที่ว่าตลาดหุ้นในจีนนั้นไม่ค่อยจะเป็นที่สิงของบริษัทออนไลน์นักซึ่งส่วนใหญ่จะไปสิงกันที่ตลาดอเมริกาหรือฮ่องกง ดังนั้นหุ้นที่จดทะเบียนที่เซี่ยงไฮ้และเสิ่นเจิ้นก็ไม่ค่อยจะโดนเหล่าผู้คุ้มกฏบี้ตูดเท่าไหร่และก็กระจายๆกันไปด้วย โน้ตมาจาก Alicia Garcia Herrero แห่ง Natixis (เป็นธนาคาร) ซึ่งก็ทำให้น่าสนใจขึ้นมาทีเดียวในปีนี้ และเนื่องจากบริษัทจีนยิ่งตาม Didi จากอเมริกาไปฮ่องกง หรือไปจีนแผ่นดินใหญ่มากขึ้น เงินทุนก็จะยิ่งไหลเข้าจีนมากตามไปด้วย

เหล่านักลงทุนต่างชาติทั้งหลายก็คาดหวังว่าบริษัทจดทะเบียนในจีนจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของกฏเกณฑ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว กล่าวโดย Louis Luo แห่ง ABRDN ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ และทั้งๆที่ความตั้งใจที่จะของพวกเขาที่จะบี้กลุ่มบริษัททางเทคโนโลยีที่เป็นต่างชาติ เหล่าผู้มีอำนาจก็ค่อนข้างไวต่อความวุ่นวายของตลาดภายในประเทศเนื่องมาจากสัดส่วนการลงทุนรายย่อยที่สูงจากเหล่าครัวเรือนทั้งหลาย

มันเป็นการยากอยู่ที่จะจินตนาการว่าเหล่าผู้กำกับดูแลจะสามารถทำให้ราคาหุ้นของบริษัทในประเทศร่วงระนาวได้อย่าง Didi แต่บริษัทที่พบกับความท้าทายทางด้านกฏเกณฑ์นี้จะต้องเคลียร์ให้ได้ก่อนที่จะจดทะเบียนในตลาดหุ้นจีน เหล่าท่านๆทั้งหลายในจีนก็ได้คาดหวังมานานแล้วว่าเหล่าบริษัทตัวเป้งๆของพวกเขานั้นจะจดทะเบียนใกล้บ้านมากขึ้น พวกเขาก็เริ่มที่จะเห็นสิ่งนั้นเป็นจริงแล้ว

อ้างอิง:

Want to own shares in Chinese companies? | The Economist

Leave a Reply