พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

Monopoly, Monopsony, Oligopoly, and Oligopsony

เมื่อ 20 ปีที่แล้ว หลายๆคนอาจจะยังจำได้เมื่อครั้งนั้นที่ Microsoft โดนส่งฟ้องในข้อหาผูกขาดและ 20 ปีก็ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เมื่อ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา กระทรวงยุติธรรมของอเมริกาก็ได้ฤกษ์ส่งฟ้อง Google จนได้ในข้อหาคล้ายๆกันก็คือผูกขาดตลาด ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้กล่าวหาว่า Google นั้นผูกขาดตลาด online-search หรือตลาดค้นหาข้อมูลออนไลน์ซึ่งแน่นอนว่า Google ก็ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้และคงจะได้มีการต่อสู้กันในชั้นศาลต่อไป

อย่างไรก็ดี เราก็ปล่อยเขาฟ้องกันไป แต่เราก็มาทบทวนความจำกันหน่อยว่าตลาดผูกขาดนั้นคืออะไร

Monopoly หรือตลาดผูกขาดสินค้านั้นเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าในตลาดแห่งนี้ไม่มีการแข่งขันโดยสมบูรณ์ (imperfect market competition) ซึ่งในตลาดแห่งนี้ ผู้ขายสินค้า (หรือผู้ให้บริการสินค้าและบริการ) มีเพียงเจ้าเดียวในตลาดและมีอิทธิพลหรือสามารถควบคุมราคาสินค้าได้แต่เพียงผู้เดียว (หรืออาจจะครอบครองส่วนแบ่งตลาดเกือบทั้งหมดเพียงพอที่จะกำหนดราคาสินค้าได้) ซึ่งลักษณะนี้ก็จะตรงข้ามกับตลาดแข่งขันแบบเสรี (free market competition) ที่ไม่มีใครสามารถกำหนดราคาสินค้าได้แต่เพียงผู้เดียวและกลไลตลาดจะเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าและบริการแทน ซึ่งหากตลาดมีการผูกขาด คู่แข่งขันรายอื่นก็จะไม่สามารถเข้าสู่ตลาดเพื่อแข่งขันได้ และผู้ซื้อก็ไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ ไม่มีทางเลือก และก็ต้องจำใจจ่ายในราคาที่ถูกกำหนดมาเท่านั้น

Monopsony จะมีลักษณะผูกขาดคล้ายๆกับ Monopoly แต่จะตรงกันข้ามกัน คือในตลาดนั้นจะมีผู้ซื้อเพียงรายเดียว และสามารถเป็นคนกำหนดราคาสินค้าในตลาดได้ ผู้ผลิตจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบแทนเพราะไม่สามารถกำหนดราคาได้เนื่องจากผู้ซื้อมีเพียงน้อยรายในตลาด ทำให้ต้องรับราคาที่ผู้ซื้อกำหนดมาเท่านั้นซึ่งอาจจะต่ำเกินราคาตลาดหากมีกลไกแบบเสรีก็ได้เช่นกัน ซึ่งหากเหตุการณ์นี้มักจะเกิดในตลาดแรงงาน ทำให้ผู้ว่าจ้างสามารถกดราคาค่าจ้างหรือแรงงานลงได้เพื่อเพิ่มกำไร ส่วนลูกจ้างหรือผู้ขายแรงงานก็ไม่มีทางเลือกมากนักจึงต้องจำยอมยอมรับค่าจ้างที่อาจจะต่ำเกินสมควรเพราะไม่มีทางเลือกที่จะไปทำงานกับผู้ว่าจ้างรายอื่น

ทีนี้ นอกจาก ‘mono’ แล้วที่มีเพียงผู้ซื้อหรือผู้ขายเพียงรายเดียวก็มีอีก 2 คำนี้ใช้สำหรับตลาดที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายมีมากกว่าหนึ่งรายแต่มีสองสามราย

Oligopoly จะมีของลักษณะตลาดที่ไม่สมบูรณ์เช่นเดียวกับ Monopoly และมีผู้ซื้อหลายรายในตลาด แต่ Oligopoly นั้นจะมีผู้ขายสินค้าหรือบริการอยู่เพียงสองสามรายในตลาดแทนที่จะมีแค่รายเดียว ซึ่งผู้ขายสินค้าและบริการเพียงสองสามรายนี้ก็สามารถเข้าร่วมทำเป็นสมาคมเพื่อกำหนดราคาตลาดได้ ตัวอย่างที่มีมาช้านานก็คือ กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันของโลกอย่าง OPEC นั่นเอง

Oligopsony ก็จะคล้ายๆกับ Monopsony เช่นกัน แต่ Oligopsony จะมีผู้ขายในตลาดที่มากมายแต่มีผู้ขายเพียงน้อยรายในตลาด และสามารถรวมตัวกันกำหนดราคาซื้อที่ต่ำเกินสมควรทำให้ผู้ขายรายหลายไม่ได้กำไรหรือได้กำไรที่น้อยเกินไปก็ได้

จะเห็นได้ว่าตลาดทั้งสี่แบบนั้นก็จะมีผู้ที่ได้เปรียบและเสียเปรียบและไม่เป็นไปตามกลไกตลาดแบบเสรี ซึ่งจะส่งผลให้การแข่งขันในตลาดนั้นมีน้อยลง ซึ่งก็(อาจจะ) จำเป็นที่หน่วยงานกลางหรือรัฐบาลจะต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อทำให้ตลาดมีความเสรีมากขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรมและมีความเป็นกลางมากที่สุดเพื่อให้มีการแข่งขันในแบบตลาดเสรี

อ้างอิง:

https://en.wikipedia.org/wiki/Oligopsony#:~:text=It%20contrasts%

20with%20an%20oligopoly,monopoly%20have%20a%20similar%20relationship.

https://www.investopedia.com/ask/answers/032415/whats-difference-between-monopoly-and-monopsony.asp

https://www.economist.com/business/2020/10/21/american-trustbusters-take-on-google

Leave a Reply