พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

มันถึงเวลาแล้วที่จะหันมามอง “นโยบายทางการเงินแบบที่ 3” (Monetary Policy 3: MP3) และ “ทฤษฎีทางการเงินสมัยใหม่” (Modern Monetary Theory: MMT)

จากหัวข้อเรื่องวันนี้ คุณเรย์ ดาลิโอ หนึ่งในนักลงทุนระดับโลกได้ปล่อยของมาให้เราได้อ่านกันเมื่อไม่กี่วันมานี้ ก็เป็นโอกาสดีของนักลงทุนบ้านๆอย่างเราๆที่จะได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้ที่มีความสามารถในด้านการลงทุนโดยตรง

อย่างไรก็ดี บทความของปู่เรย์นี้ค่อนข้างจะยาวสักหน่อยและคงไม่สามารถสรุปได้จบภายในสัปดาห์นี้ ก็มาเริ่มอ่านกันเลยครับ

บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจในเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเปลี่ยนไปในอนาคตของนโยบายการคลัง และการเพิ่มขึ้นของความสำคัญกับนโยบายทางการเงินแบบที่ 3 (นโยบายแบบใหม่ที่จะเราเห็นมากขึ้นทั่วโลก) และทฤษฏีทางการเงินสมัยใหม่ (เป็นแนวทางใหม่ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเมื่อไม่นานมานี้)

ส่วนที่ 1: ความเข้าใจเกี่ยวกับ MP3 และ MMT

ปู่เรย์มองเศรษฐกิจและตลาดในลักษณะที่เป็นเหมือนกลไกและเครื่องจักรที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุที่มาและผลลัพธ์ของเครื่องจักรนั้น เหมือนว่าการประกอบชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกันแบบไม่จบสิ้น นโยบายทางเศรษฐกิจก็เช่นเดียวกันจะประกอบไปด้วยนโยบายทางการคลังและนโยบายทาการเงิน และภายใต้สองนโยบายนี้ก็จะมีเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ในการจัดการทางเศรษฐกิจหลายๆทาง (การเก็บภาษี และการใช้จ่ายสำหรับนโยบายทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยและการเพิ่มขนาดของงบดุลด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน และนโยบายรัดเข็มขัดทางการเงิน)

ในภาพใหญ่ นโยบายทางการเงินจะกำหนดจำนวนเงินและเครดิตที่ระบบมี (อำนาจซื้อ) และนโยบายการคลังจะกำหนดอิทธิพลของรัฐบาลว่าจะหาเงินมาได้จากไหน (การเก็บภาษี) และเงินจะใช้ไปในทางไหน (การใช้จ่าย)

ปู่เรย์ให้ความสำคัญว่าเครื่องจักรทางเศรษฐกิจนี้จะสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนส่วนใหญ่ได้อย่างไรหากนโยบายทางการเงินนั้นไม่มีประสิทธิภาพ

ซึ่งโดยปกติที่เรากระทำกันก็คือการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Monetary Policy 1) และการเพิ่มขนาดงบดุล หรือที่รู้จักกันว่า quantitative easing หรือ QE (Monetary Policy 2) ซึ่งก็จะไม่ค่อยได้ผลนักเมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0%

ทฤษฏีทางการเงินสมัยใหม่นั้นเป็นหนึ่งในวิธีการปรับแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตัวอย่างเช่น บางนโยบายอาจเปลี่ยนนโยบายการคลังเพื่อที่การเก็บภาษีความร่ำรวยจะทำให้การกู้เงินเพื่อการศึกษาของนักเรียนนักศึกษาหายไป

การปรับแต่งของ MMT ที่สำคัญที่สุดคือการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% และก็มีการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เข้มงวดผ่านทางการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการคลังต่างๆที่ไม่ว่าจะเกินดุลหรือขาดทุน ซึ่งก็จะส่งผลให้ธนาคารกลางสามารถสร้างรายได้จากหนี้ที่เกิดขึ้นได้

การวิเคราะห์ของทีม Bridgewater เกี่ยวกับ MP3 และ MMT

ปู่เรย์และเพื่อนร่วมงานที่ Bridgewater (บริษัทที่ปู่เรย์ก่อตั้ง) เห็นด้วยกับความคิดที่ว่านโยบายทางการคลังต้องเชื่อมต่อกับนโยบางทางการเงินในการใช้กระตุ้นเศรษฐกิจหากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจครั้งต่อไปมาถึง

การประสานงานช่วยกันระหว่างนโยบายทางการเงินและการคลังในลักษณะของ MP3 นั้นเป็นเครื่องมือสำคัญโดยเฉพาะเมื่อ MP1 (การลดอัตราดอกเบี้ย) และ MP2 (การเพิ่มขนาดงบดุล) นั้นมีประสิทธิภาพที่จำกัด

เราเชื่อว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการเพิ่มขนาดงบดุลจะมีประสิทธิภาพน้อยมากในช่วงเศรษฐตกต่ำครั้งต่อไป

มันค่อนข้างชัดเจนว่านโยบายทางการคลังแบบปกติทั่วไปนั้นจะเป็นวิธีที่เราจัดการกับการลงทุนต่างๆ แต่ปัญหามันจริงๆคือการพึ่งพานโยบายทางการคลังต่างๆในช่วงเศรษฐกิจถดถอยต่างหาก

ลองจินตนาการดูว่าถ้าคุณมีการกำหนดภาษีในลักษณะที่เหวี่ยงขึ้นลงเหมือนกับอัตราดอกเบี้ย มันก็จะมีการพยายามทำให้สเกลในการทำให้ทั้งสองด้านสมดุลกันแบบกึ่งๆอัตโนมัติ ถ้าคุณอยู่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย คุณก็จะได้รับการลดภาษีโดยอัตโนมัติ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น การเก็บภาษีก็เพิ่มขึ้นเองโดยอัตโนมัติเช่นกัน

เราสามารถจินตนการถึงการเพิ่มขึ้นของการลงทุนแบบกึ่งอัตโนมัติและได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในพื้นที่ที่มีงบประมาณน้อยเกินไป (เช่น การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและค้นคว้า) แทนที่จะบริษัทหรือนักลงทุนทั้งหลายจะวิ่งไปที่ตลาดทางการเงินซึ่งเป็นที่ที่พวกเขาคิดว่าให้ผลกำไรได้ดีที่สุดเป็นที่แรกๆ

การจัดสรรงบประมาณสำหรับสิ่งเหล่านั้นจากเงินที่ธนาคารกลางพิมพ์ออกมาก็หมายความว่ารัฐบาลไม่ต้องกังวลกับปัญหาเดิมๆก็คือการขาดดุลเยอะๆซึ่งนำไปสู่การออกตราสารหนี้หรือพันธบัตรเพื่อขายให้กับบุคคลทั่วไป

ซึ่งก็จะนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเพราะธนาคารกลางก็จะต้องประคองการขาดดุลด้วยการหารายได้จากการเพิ่มขนาดงบดุล (เช่น การเข้าซื้อสินทรัพย์เยอะๆก็จะทำให้ธนาคารกลางมีขนาดงบดุลที่ใหญ่ขึ้นซึ่งเงินที่นำไปซื้อก็มาจากการออกตราสารหนี้เช่นพันธบัตรรัฐบาล แล้วนำเงินนั้นมาซื้อสินทรัพย์อีกที วนไปเนาะ)

คำถามสำคัญอันยิ่งใหญ่คือเราจะพึ่งใครได้ที่จะเป็นคนดึงคันโยกเหล่านี้ได้ดี (ธนาคารกลาง? หรือรัฐบาลกลาง?) เครื่องมือเหล่านี้มีอำนาจที่จะทำให้ดีและก็ทำให้เสียได้หากไม่ใช้อย่างรับผิดชอบ ดังนั้นความโปร่งใสในการตัดสินใจจึงต้องมีการกำหนดที่ชัดเจนและมีการจัดการที่ดี

มันมีบางแง่มุมของ MMT ที่ปู่เรย์ไม่เห็นด้วยบ้างดังนี้

ปู่เรย์ไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่าธุรกิจไม่ได้ลงทุนบนพื้นฐานของต้นทุนของเงินทุนที่ได้มา แต่ตัดสินใจจากโอกาสทางธุรกิจเท่านั้น

ทั้งต้นทุนของเงินลงทุนและโอกาสทางธุรกิจนั้นมีความสำคัญทั้งคู่ ต้นทุนของเงินลงทุนนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อธุรกิจต่างๆที่จะตัดสินใจจะทำอะไรก็ตาม ตัวอย่างเช่น ต้นทุนของเงินลงทุนที่ต่ำนั้นเป็นเหตุผลที่บริษัทของอเมริกาต่างๆได้พากันซื้อหุ้นบริษัทตัวเองคืน

ผู้สนับสนุน MMT บางกลุ่มได้โยนความผิดเรื่องเงินเฟ้อหลักๆ ให้กับอำนาจการกำหนดราคาที่มากเกินไปของธุรกิจต่างๆ แม้ว่านั่นอาจจะมีผลต่อเงินเฟ้อ แต่เรื่องที่ใหญ่กว่าคือเมื่ออะไรก็ตามที่มันมีน้อยเกินไป (แรงงาน สินค้าต่างๆ) และมีความต้องการต่อสิ่งนั้นๆที่มากเกินไป ราคาของสิ่งนั้นก็จะสูงขึ้นอยู่ดี

สัปดาห์หน้ามาต่อตอนที่สองกันครับ สำหรับที่ท่านอยากอ่านเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษเต็มๆก็ตามลิงก์ข้างล่างได้เลยครับ

อ้างอิง:

https://www.linkedin.com/pulse/its-time-look-more-carefully-monetary-policy-3-mp3-modern-ray-dalio/

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply