พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

มันถึงเวลาแล้วที่จะหันมามอง “นโยบายทางการเงินแบบที่ 3” (Monetary Policy 3: MP3) และ “ทฤษฎีทางการเงินสมัยใหม่” (Modern Monetary Theory: MMT)…ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

สัปดาห์นี้เราก็มาว่ากันต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่คุณปู่ เรย์ ดาลิโอ ได้เขียนเรื่องนโยบายทางการเงินแบบที่ 3 ไว้ใน LinkedIn ของตัวเองเนาะ

นโยบายการเงินแบบที่ 3 (Monetary Policy 3: MP3) หน้าตาเป็นอย่างไร

นโยบายการเงินแบบที่ 1 คือการลดอัตราดอกเบี้ยจนต่ำหรือติดลบก็ไม่สามารถทำได้อีก นโยบายการเงินแบบที่ 2 คือการเพิ่มขนาดงบดุลของธนาคารกลางก็ถูกจำกัดโดยผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวหรือผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ต่ำ ดังนั้นแล้วภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งต่อไปของประเทศพัฒนาแล้วอาจจะต้องหันมาพึ่งพานโยบายทางการเงินแบบที่ 3

นโยบายทางการเงินแบบที่ 3 ประกอบไปด้วยนโยบายทางการเงินที่เน้นตรงไปที่การจับจ่ายใช้สอยมากกว่าการเน้นที่นักลงทุนหรือคนที่มีเงินออม (กลุ่มแบบที่ 1 และ 2 ได้รับผลโดยตรงมากกว่า) มันคือนโยบายที่พิมพ์เงินให้คนนำไปใช้จ่ายโดยมีแรงจูงใจที่จะให้ใช้จ่ายจริงๆ (ไม่ใช่ว่าได้มาแล้วก็เอาไปเก็บ)

คำนิยามของนโยบายการเงินแบบที่ 3

นโยบายการเงินแบบที่ 3 เป็นผลต่อเนื่องจากการผสมผสานนโยบายทางการเงินและนโยบายทางการคลังหลายๆนโยบายเข้าด้วยกัน โดยที่จะแปรผันได้หลายแบบว่าใครจะได้เงินจากนโยบายนั้นๆ (ภาคเอกชน หรือ ภาครัฐ) และผลกระทบโดยตรงจากผู้ที่ได้เงินที่พิมพ์ใหม่นั้นว่ามีมากน้อยแค่ไหน (พิมพ์เงินแจกตรงๆ หรือ ทางอ้อมโดยการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน) โดยทั่วไปแล้วนโยบายที่มีผลกระทบตรงๆจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ก็ยากที่จะทำได้ในทางปฏิบัติมากกว่าในทางการเมือง ซึ่งนโยบายหรือทางเลือกการใช้นโยบายก็มีต่างๆดังนี้

ทางเลือกที่มีผลกระทบทางตรงน้อยที่สุดคือการเพิ่มการใช้จ่ายทางการคลังควบคู่กับการเพิ่มขนาดงบดุลที่เข้าซื้อตราสารหนี้ที่ออกใหม่

ธนาคารกลางสามารถให้กู้หรือใช้ประโยชน์จากธนาคารเพื่อการพัฒนาหรือภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจที่สามารถใช้ประโยชน์จากโครงการต่างๆเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ (เช่น จีนในปี 2008)

ธนาคารกลางสามารถแสดงเจตนาออกมาอย่างชัดเจนที่จะมุ่งสร้างรายได้จากโครงการต่างๆของรัฐผ่านการผสมผสานนโยบายทางการเงินและการคลังที่สามารถส่งผลกระทบโดยตรงได้โดย การเพิ่มการใช้จ่ายทางการคลัง การใช้จ่ายที่ควบคู่กับการเพิ่มขนาดงบดุล และการพิมเงินเพิ่มเพื่อใช้หนี้ นโยบายการเงินแบบที่ 3 เหล่านี้จะสนับสนุนการใช้จ่ายทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ

นโยบายทางการเงินแบบที่ 3 ที่พุ่งเป้าไปที่ภาคเอกชนมีดังนี้

นโยบายทางการเงินแบบที่ 3 นี้อาจมีการใช้ผ่านทางธนาคารด้วยการให้แรงจูงใจในการปล่อยกู้ให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสามารถเสนออัตราดอกเบี้ยที่เป็นบวกที่จูงใจสำหรับเงินสำรองขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์ได้ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารมีกำไรที่มากขึ้นในการปล่อยกู้

วิธีการนึงในการทำให้สำเร็จก็คือให้แรงจูงใจกับครัวเรือนเพื่อที่จะกู้ยืมผ่านทางการรับประกันหรือเงินกู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ

เท่าที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยที่ติดลบนั้นไม่สามารถผ่านไปทางครัวเรือนได้มากนัก ทางธนาคารกลางสามารถทดลองนโยบายที่อาจจะลดแรงจูงใจของครัวเรือนที่จะถือเงินสดไว้เพื่อผลักดันให้ครัวเรือนใช้จ่ายมากขึ้น เช่น บางคนได้เสนอภาษีสำหรับการถือครองเงินสดในอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยติดลบ บางคนก็เสนอให้ลดใช้เงินสดและให้ใช้เฉพาะเงินดิจิตอลเท่านั้นเพื่อเป็นการง่ายที่จะปรับใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบได้ทันทีสำหรับการถือครองเงินสด ซึ่งก็ชัดเจนว่านี่ค่อนข้างจะสุดโต่งไปหน่อย

ธนาคารกลางอาจได้รับอำนาจในการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีเงินได้หรืออัตราภาษีจากการขายภายใต้กรอบหนึ่ง และสามารถใช้อำนาจนี้ในการพยายามบริหารเศรษฐกิจ ด้วยการลดภาษีในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (ประกอบกับการพิมเงิน) และการเพิ่มอัตราภาษีในช่วงที่ดีก็ได้

การพิมพ์เงินและการโอนเงินสดๆโดยตรงไปที่ครัวเรือนเพื่อให้เกิดการใช้จ่าย ส่วนที่ว่าเงินนั้นจะถูกใช้จ่ายอย่างไรก็อาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น ให้เงินจำนวนเท่ากันกับทุกคน หรือให้บางกลุ่มมากกว่าอีกกลุ่ม (เช่น ให้คนจนมากกว่าคนรวย) หรือให้เงินจำนวนนี้แบบครั้งเดียว หรือค่อยๆให้ ซึ่งรูปแบบเหล่านี้ก็สามารถใช้ควบคู่กับแรงจูงใจที่จะใช้จ่ายเงินนั้นก็ได้ (เช่น หากไม่ใช้เงินที่ให้มาภายในหนึ่งปี เงินก็จะหายไปหรือไม่สามารถใช้ได้)

เงินสามารถนำไปใช้กับการลงทุนแบบจำเพาะเจาะจง (เช่น เพื่อการเกษียณ การศึกษา การลงทุนในธุรกิจขนาดเล็ก) หรือใช้ไปกับการใช้จ่ายหรือลงทุนในทางสังคมที่ต้องการได้

ปู่เรย์ย้ำว่า ปู่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นถึงข้อดีของนโยบายเหล่านี้ แต่พยายามให้เข้าใจถึงเหตุการณ์ในอดีตที่จะสามารถกระทำได้หากพวกปู่นั้นเป็นผู้กำหนดนโยบาย ขั้นตอนการตรวจสอบนั้นต้องพิจารณาถึงความถูกต้องด้วยกฏหมายและยอมรับได้ในทางการเมืองในแต่ละประเทศ มันเป็นงานที่ใหญ่และต้องหาทางที่ออกที่ดีที่สุดและมันก็ใช้เวลานาน แต่พวกเขาก็เชื่อว่าผู้กำหนดนโยบายเหล่านี้โดยเฉพาะธนาคารกลางต้องทำงานให้หนักเพื่อหาทางออกในตอนนี้แล้ว

อย่างไรก็ดีพวกปู่อยากจะเสนอความคิดเห็นถึงวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการผสมผสานความร่วมมือกันระหว่างนโยบายทางการเงินและการคลัง เนื่องจากว่าวิธีนี้จะให้ความมั่นใจได้ว่าการให้เงินและการนำเงินนั้นไปใช้จะเกิดขึ้นจริงๆ

หากธนาคารกลางแค่เพียงให้เงินออกไป (โดยไม่ได้มีแรงจูงใจให้ใช้) นั่นก็ดูจะไม่เพียงพอเท่ากับการให้เงินและสร้างแรงจูงใจที่จะใช้เงินนั้นด้วย อย่างไรก็ดี บางครั้งมันก็เป็นการยากสำหรับกลุ่มคนเหล่านั้นที่จะกำหนดนโยบายทางการเงินที่สามารถประสานงานกับกลุ่มคนที่กำหนดนโยบายทางการคลังได้อย่างราบรื่น

ในขณะที่พวกปู่เรย์ได้ศึกษาถึงกรณีเหล่านี้นั้น ปู่ก็เตือนว่าบางครั้งนโยบายเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นไปตามคิด (ไม่ได้ผลกับกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย) เนื่องจากว่ามันมีองค์ประกอบหลายตัวและก็มีอยู่ไปเรื่อยๆ และมันก็ไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างนโยบายทางการเงินแบบที่ 2 และ แบบที่ 3 เช่น หากรัฐบาลต้องการลดภาษี บางทีนั่นก็ไม่ใช่มาจากเงินที่พิมพ์ออกมาใหม่ แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเงินนั้นจะมาจากวิธีไหน รัฐบาลอาจจะเป็นคนใช้จ่ายเองด้วยการสนับสนุนจากธนาคารกลางโดยไม่ต้องกู้ก็ได้ซึ่งนี่ก็คือเงินที่พิมพ์ออกมาใหม่ผ่านทางช่องทางทางการคลัง

แหม่ ช่างซับซ้อนและเข้าใจยากจริงๆ คงต้องอ่านกันเต็มๆหลายๆรอบถึงจะเริ่มเข้าใจมุมมองที่ปู่เรย์นำเสนอ ซึ่งก็มีประโยชน์และเป็นมุมมองจากนักลงทุนจริงๆที่ประสพความสำเร็จมาแล้ว สำหรับท่านที่สนใจเวอร์ชั่นเต็ม และสนใจตัวอย่างในอดีตที่เคยเกิดขึ้นจากการนำนโยบายข้างต้นไปใช้ สามารถอ่านได้ที่ลิงก์ข้างล่างได้เลยครับ

อ้างอิง:

https://www.linkedin.com/pulse/its-time-look-more-carefully-monetary-policy-3-mp3-modern-ray-dalio/

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply