พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

ค่าแรงขั้นต่ำนั้นมีผลเสียอะไรมั้ย? (What harm do minimum wages do?)

“เงินเดือนขั้นต่ำเด็กจบใหม่ ปริญญาตรีต้อง 12,000!”

“เงินเดือนเด็กจบใหม่ไม่พอกิน ต้อง 15,000!”

“ขอเงินเดือนเริ่มต้น 30,000!”

เสียงต่างๆเหล่านี้เราคงเคยได้ยินกันจากข้อเรียกร้องเด็กจบใหม่วุฒิปริญญาตรี โดยเฉพาะที่เวลามีการเมืองมาเกี่ยวข้อง จะถูกหรือผิด จะสมควรหรือไม่อย่างไรก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของการบ้านการเมืองของผู้บริหารต่อไปละกัน

แต่สิ่งที่อยากจะนำเสนอเพื่อหาความรู้ในวันนี้จากข้อเรียกร้องข้างบนนี้ก็คือ ทำไมค่าแรงขั้นต่ำหรือ minimum wage เนี่ย มันไม่ใช่ว่าใครจะอยากตั้งให้มันเป็นเท่าไหร่ก็ได้และเพราะอะไร

เพื่อจะตอบคำถามนี้ ก็ขอไปเอาคำตอบจากบทความจาก The Economist เช่นเคยฉบับวันที่ 15 สิงหาคม 2020 โดยบทความนี้ตั้งคำถามว่า ไอ่ค่าแรงขั้นต่ำเนี่ยมันสามารถส่งผลเสียต่ออะไรได้แค่ไหน? ก็ไปหาอ่านกัน

ผลการค้นคว้าจาก 30 ปีที่ผ่านมาทำให้ต้องมาคิดใหม่กันเกี่ยวกับเรื่องนี้

จากผลการสำรวจของสมาคมเศรษฐกิจของอเมริกา มันเป็นเวลานานมาแล้วที่นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีค่ากลางของรายได้อยู่ที่ 104,000 เหรียญต่อปี (ประมาณ 3.3 ล้านบาท) นั้นมีการพิจารณาว่าเงินค่าแรงขั้นต่ำนี้จะมีผลเสีย

จากผลการสำรวจของสมาชิกในสมาคมนี้ในปี 1992 นั้นพบว่า เป็นที่ตกลงกันระหว่างผู้ตอบแบบสำรวจว่าค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะส่งผลให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นสำหรับกลุ่มแรงงานที่ด้อยฝีมือและอายุน้อย

ในสาขาความรู้ที่ค่อนข้างมักจะแตกแยกเป็นกลุ่มๆนี้ ความเห็นร่วมกันทางด้านนี้ค่อนข้างจะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่สุดที่จะเจอแล้ว แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์จะรับรู้ว่าค่าแรงที่ต่ำนั้นจะเป็นปัญหาจริงๆ แต่พวกเขาก็แย้งว่าการไม่มีค่าแรงมาจ่ายนั้นแย่กว่าอีก

และก็ไม่ใช่มีแค่พวกเขาที่คิดแบบนั้น ข้อถกเถียงเดียวกันนี้ถูกนำไปเป็นประเด็นโดยนักการเมืองฝ่ายรีพลับบริกันเช่นกัน ในปี 1968 ค่าแรงขั้นต่ำของอเมริกานั้นอยู่ในระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่มีการนำมาใช้ในปี 1938 เลยทีเดียว

แต่สองทศวรษหลังจากนั้น ค่าแรงขั้นต่ำนั้นตกลงถึง 44% (เป็นอัตราที่แท้จริงหรือ real term) แม้ว่า จิมมี่ คาร์เตอร์นั้นจะยกระดับค่าแรงขึ้นในช่วงเวลาสี่ปีที่เขาเป็นประธานาธิบดีนั้น เพื่อที่จะตามเงินเฟ้อให้ทัน ริชาร์ด นิกสัน ก็เพิ่มขึ้นแค่สองครั้งในช่วงเวลาหกปี และโรนัลด์ เรแกนนั้นไม่ได้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเลยในช่วงเวลาแปดปี

ไม่เพียงแต่ความรู้ดั้งเดิมเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำนี้จะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในอเมริกาเพียงเท่านั้น นโยบายเหล่านี้ก็แพร่กระจายไปที่อื่นๆด้วย สหราชอนาจักร์ในนำนโยบายค่าแรงขั้นต่ำนี้มาใช้ในปี 1998 และก็ได้เพิ่มขึ้นอีกในไม่กี่ปีที่ผ่านมา

เยอรมันนำมาใช้ในปี 1995 ประมาณ 90% ของประเทศต่างๆนั้นมีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งแม้ว่าการบังคับใช้จริงๆอาจจะแตกต่างกันไป

นักเศรษฐศาสตร์ในเวลานี้จึงมีข้อมูลมากพอสมควรเพื่อที่จะทำความเข้าใจว่าไอ่ค่าแรงขึ้นต่ำเนี้ย มันส่งผลกระทบจริงต่อเศรษฐกิจอย่างไรในทางปฏิบัติและเป็นไปได้แค่ไหนที่ในบริบทที่ผู้เข้าร่วมชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของฝั่งเดโมแครตอย่าง โจ ไบเดน จะนำมาใช้โดยสัญญาว่าจะเพิ่มระดับค่าแรงขั้นต่ำไปอยู่ที่ 15 เหรียญ (ประมาณ 475 บาทต่อชั่วโมง บ้านเรา ประมาณ 300++ แต่เป็นต่อวันอ่ะเนาะ)

ความกังวลเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำว่ามันจะทำให้งานที่มีหายไปก็เนื่องมาจากพื้นฐานแรกๆเลยของโมเดลทางเศรษฐกิจก็คือหลักอุปสงค์ อุปทานนั่นเอง (demand & supply) ถ้าแรงงานนั้นมีค่าแรงที่สูงเกินไป นายจ้างก็อาจจะไม่อยากจ้างในจำนวนที่มากเกินไป ตามตำรานั้นบอกเลยว่า ในกรณีที่ไม่มีค่าแรงขั้นต่ำนั้น ค่าแรงที่จะจ่ายให้กับแรงงานนั้นจะมาจาก ‘marginal product of labour’ หรือมันก็คือมูลค่าที่แรงงานนั้นๆสร้างขึ้นมานั่นแหละ (รับจ้างล้างจาน ก็คือมูลค่าที่ได้ก็คือล้างจานให้กับนายจ้าง)

มันไม่ใช่ว่าอย่างจะจ่ายเท่าไหร่ก็ได้เพราะการจะขยับขึ้นหรือขยับลงมันก็จะส่งผลทั้งสองทิศทาง ถ้านายจ้างพยายามจ่ายค่าแรงให้กับแรงงานต่ำเกินไป คู่แข่งในธุรกิจที่จ่ายปกติ (ที่ยังสูงกว่านายจ้างที่พยายามจ่ายต่ำๆ) ก็จะพยายามคว้าตัวแรงงานนั้นไปเอง ถ้ารัฐบาลบังคับใช้ข้อกำหนดค่าแรงขั้นต่ำที่สูงกว่ามูลค่าที่แรงงานนั้นๆจะมอบให้ได้ (รับจ้างแค่ล้างจาน แต่กำหนดให้จ่ายให้เท่ากับคนที่สามารถล้างจานและอาจจะเป็นผู้ช่วยกุ๊กเตรียมอาหารได้ด้วย) บริษัทก็อาจจะสูญเสียเงินมากกว่าหากจ้างแรงงานนั้นเข้ามาทำงาน ก็เลยอาจจะไม่จ้าง และก็จะทำให้แรงงานนั้นว่างงานไปด้วยซ้ำ

แต่ความเป็นจริงมันซับซ้อนและยุ่งยากกว่านั้นเยอะ บริษัทไม่รู้หรอกว่าพนักงานแต่ละคนนั้นมีส่วนมีมูลค่ามากแค่ไหนต่อรายได้ที่เขาได้ น้อยคนนักที่จะหางานใหม่ได้ในเวลาแค่เพียงพลิกฝ่ามือ แต่อย่างไรก็ดี โมเดลพื้นฐานอันนี้มันก็บอกกับเราความจริงสำคัญอย่างนึงก็คือ พวกแรงงานที่มีโอกาสที่จะสูญเสียงานของพวกเขาเนื่องมาจากค่าแรงขั้นต่ำนั้นมักจะเป็นพวกกลุ่มแรงงานที่มีประสิทธิภาพที่ต่ำ (อาจจะฟังดูแล้วใจร้ายไปหน่อย แต่มันก็เป็นความจริงอ่ะเนาะ) ซึ่งก็เพราะเพื่อจะช่วยคนเหล่านี้แหละที่ทำให้มีนโยบายเรื่องค่าแรงขั้นต่ำเกิดขึ้นมาตั้งแต่แรกนั่นแหละ

ยิ่งซับซ้อนไปกว่านั้นเกี่ยวกับตลาดแรงงานก็คือมันไม่ได้มีการแข่งขันแบบสมบูรณ์ขนาดนั้น มันไม่ได้มีค่าจ้างเดียวมาที่จะมาให้แรงงานสามารถเลือกนายจ้างได้ และเนื่องมาจากเหตุผลนี้ ทำให้บางบริษัทก็อาจจะค่าแรงต่ำกว่า ‘marginal revenue product’ หรือมูลค่าของแรงงานที่แรงงานนั้นๆมอบให้กับงานก็ได้

แต่จะจ่ายน้อยกว่าแค่ไหนนั้นก็อยู่ที่การต่อรองและเจรจาและคนที่ทำได้ดีที่สุดก็มักจะต้องมีอำนาจการต่อรองมาประกอบด้วย ดังนั้นแล้วในโครงร่างแบบนี้แล้ว จุดมุ่งหมายของการมีค่าแรงขั้นต่ำก็ไม่ใช่เพื่อท้าทายตรรกะของตลาด แต่เพื่อยับยั้งบริษัทต่างๆที่อยู่ในฐานะการต่อรองที่แข็งแรงกว่าเพื่อจะนำมาใช้บีบบังคับแรงงานต่างๆตะหาก

แต่อย่างไรก็ดี ตรงขอบบนของค่าแรงขั้นต่ำก็ยังต้องยึดถืออยู่ที่ว่า บริษัทจะไม่เต็มใจจะจ้างแรงงานหากมันทำให้บริษัทขาดทุน แต่ต่ำกว่าระดับเพดานนั้น ผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำมันก็ยังค่อนข้างกำกวม มันขึ้นอยู่กับคำถามต่อเนื่องกันหลายๆคำถาม ที่ว่าบริษัทสามารถทดแทนแรงงานด้วยเครื่องจักรได้มั้ย? บริษัทสามารถขึ้นราคาและผ่านต่อไปให้ลูกค้าจ่ายแทนได้มั้ยสำหรับค่าแรงขั้นต่ำ? บริษัทต้องแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างประเทศที่ไม่มีกฏเข้มงวดแน่นหนามากในเรื่องนี้มั้ย?

ลองมาพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างโรงงานกับร้านอาหาร โดยตรรกะแล้ว งานในโรงงานจะไม่ค่อยจะมีขอบเขตใหม่ๆให้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเท่าไหร่ เนื่องจากมีการแข่งขันระหว่างประเทศที่สูง งานต่างๆนั้นก็มักจะใช้เครื่องจักรมาทำแทนคนให้มากขึ้น

ในทางตรงกันข้าม งานในร้านอาหารนั้นมันยากกว่าที่จะใช้เครื่องจักรหรือระบบอัตโนมัติเข้ามาทนแทนแรงงานคนและก็ไม่มีการแข่งขันจากต่างประเทศด้วย การเพิ่มขึ้นของต้นทุน (หรือค่าแรงขั้นต่ำในกรณีนี้) จะส่งผลกระทบต่อทั้งภาคและควรจะส่งต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมานั้นไปให้กับลูกค้าแทน การสูญเสียงานก็ควรจะต่ำกว่า โดยเฉพาะหากสุดท้ายแล้วลูกค้ายอมที่จะจ่ายราคาที่สูงขึ้น ดังนั้นแล้วการมีค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะมีความยุติธรรมต่อทั้งสองภาคอุตสาหกรรมมั้ย?

ตัวอย่างที่พบเห็นและช่วยให้การถกเถียงเรื่องค่าแรงขั้นต่ำกลับมามีชีวิตชีวาขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990 โดย เดวิด คาร์ด และ อลัน ครูเอเกอร์ ซึ่งทั้งสองคนอยู่ที่มหาวิทยาลัย Princeton ในช่วงเวลานั้น

ในปี 1992 รัฐนิวเจอร์ซี่ ได้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรายชั่วโมง จาก 4.25 เหรียญเป็น 5.05 เหรียญ รัฐที่อยู่ติดกันอย่างเพนซิลวาเนียไม่ขึ้นตาม โดยยังคงค่าแรงขั้นต่ำที่ 4.25 เหรียญต่อไป ด้วยความตื่นเต้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเป็นกรณีศึกษานี้ นักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองคนนี้ก็ได้รวบรวมข้อมูลการจ้างงานที่ร้านอาหารฟาสฟู้ดส์จากทั้งสองรัฐก่อนที่จะมีการขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำในเดือนเมษายน และเก็บข้อมูลอีกครั้งหลายเดือนต่อมา ที่เลือกร้านอาหารฟาสฟู้ดส์ก็ดูเหมือนว่าจะมีข้อกำหนดต่างๆเหมาะสมสำหรับการศึกษาเนื่องจากเป็นภาคอุตสาหกรรมเดียวกันและจ้างแรงงานที่ทักษะน้อยเหมือนกัน

การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำนั้นไม่ได้นำไปสู่การสูญเสียงานในรัฐนิวเจอร์ซี่ การจ้างงานในร้านอาหารที่พวกเขาเฝ้าดูอยู่นั้นกลับเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ และทั้งสองก็ไม่ได้พบตัวบ่งชี้อะไรว่าการเปิดใหม่ของร้านอาหารในอนาคตจะได้รับผลกระทบด้วย เมื่อมองดูการเจริญเติบโตของจำนวนร้านอาหารของ McDonald ทั่วอเมริกาแล้ว พวกเขาไม่เห็นแนวโน้มที่ร้านจะเปิดน้อยลงในที่ๆค่าแรงขั้นต่ำนั้นสูงขึ้น

หนังสือของพวกเขา “Myth and Measurement” (ถ้าแปลเป็นไทยก็คงประมาณว่า ตำนานกับการวัดค่าจริง) ได้เปลี่ยนความคิดหลายๆคนเลยทีเดียว ภายในปี 2000 มีเพียง 46% เท่านั้นของสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจของอเมริกาที่แน่ใจว่าค่าแรงขั้นต่ำนั้นทำให้มีการว่างงานเพิ่มขึ้นระหว่างแรงงานไร้ทักษะที่อายุน้อย และมุมมองที่เหลือของหนังสือก็พบว่า เดิมที่เชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการจ้างแรงงานนั้นจะทำให้บริษัทมีการจ้างงานน้อยลงนั้นผิดไป แต่ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? จากการศึกษาค้นคว้าที่เพิ่มมากขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานั้นแสดงให้เห็นว่ากุญแจสำคัญสำหรับการพิจารณาในประเด็นนี้ก็คืออำนาจที่นายจ้างทั้งหลายมีความพึงพอใจอยู่

The Economist 15th August 2020

โรงเรียนแห่งความคิดแห่งนี้แย้งว่าตลาดแรงงานในบางแห่งนั้นมีคุณลักษณะของโครงสร้างทางตลาดที่เรียกว่า ‘monopsony’ (สถานการณ์ตลาดที่มีผู้ซื้อเพียงรายเดียว) ก็คือปกติเราจะคุ้นกับระบบตลาดแบบผูกขาดที่ทั้งตลาดมีผู้ขายรายเดียว แต่ในระบบ monosopny นี้ก็จะมีผู้ซื้อรายเดียวที่ซื้อจากผู้ขายหลายๆราย และเหมือนกับที่ผู้ขายรายเดียวในระบบผูกขาดจะสามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่าปกติในตลาดแข่งขันแบบสมบูรณ์แล้ว ฝั่ง monopsopny นั้นก็จะสามารถตั้งราคาซื้อได้ต่ำกว่าที่สมควรได้เช่นกัน

ดังนั้นแล้ว แม้มันจะดูเหมือนว่าจะค่อนข้างขัดกับความรู้สึกที่ว่าไหงค่าแรงที่สูงขึ้นนำไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น มันจะดูสมเหตุสมผลถ้าสิ่งที่ผู้กำหนดกฏหมายกำลังทำคือพยายามกดดันผู้ซื้อรายเดียวที่พยายามกดราคาค่าแรงให้ต่ำนั้นให้เข้าสู่ราคาค่าแรงขั้นต่ำที่ใกล้เคียงตลาดที่อุปสงค์และอุปทานมาประจวบเหมาะกันให้มากที่สุดหากไม่มีอะไรมาแทรกแซง

แรงงานอาจจะไม่สนใจมาคอยหางานที่ให้ค่าแรง 10 เหรียญต่อชั่วโมง แต่จะถูกดึงดูดไปที่ค่าแรงที่ 15 เหรียญต่อชั่วโมงแทนเอง หากมีการผลักดันให้มีค่าแรงขั้นต่ำสูงกว่าจุดนั้นไปมากๆ ก็อาจจะมีสูญเสียงานจริงๆเกิดขึ้นได้ทีนี้เนื่องจากบริษัทต่างๆก็จะรู้สึกว่าค่าแรงนั้นแพงเกินที่จะจ่ายได้จริงๆ

และเมื่อบทบาทของการแข่งขันในตลาดแรงงานนั้นเป็นที่ยอมรับเมื่อไหร่ การโต้เถียงเรื่องค่าแรงขั้นต่ำก็อาจจะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยและมีตัวอย่างชัดเจนมากขึ้น การรวบรวมข้อมูลนั้นไม่ง่าย นักวิจัยควรจะพิจารณาว่าควรจะติดตามงานหรือแรงงานมากกว่า หรือควรจะศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากกว่า เช่น วัยรุ่น หรือกลุ่มไร้ทักษะ หรือภาคอื่นๆมากขึ้น และในเมื่อตลาดแรงงานนั้นมีผลกระทบมากกว่าแค่กฏของค่าแรงขั้นต่ำ การสร้างข้อมูลหรือการตอบโต้จากสิ่งที่เห็นอย่างมีเหตุผลนั้นก็จะยากไปด้วย

ทีนี้ลองมาพิจารณาตัวอย่างจาก ซีแอตเติ้ล เมืองนี้ถึงขนาดที่ว่ามีการรณรงค์ “สู้เพื่อ 15 เหรียญ” เลยทีเดียว ที่นำโดยคุณไบเดน นั่นเอง การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำอย่างรวดเร็วนั้นค่อนข้างจะดึงดูดการทดลองทางด้านเศรษฐกิจเลยทีเดียว แม้มันก็เป็นความจริงอย่างที่บางกลุ่มบ่นๆไว้ว่ามันไม่ได้เป็นตัวแทนได้ทั้งหมด

การศึกษาโดย อีก้าเทริน่า ยาดิมและผองเพื่อนแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันที่มีการตีพิมพ์ในปี 2017 นั้นพบว่า การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำในปี 2015 และ 2016 ในเมืองนี้นั้นนำไปสู่การลดจำนวนชั่วโมงการทำงานลงของแรงงานไร้ทักษะโดยนายจ้างต่างๆ

ค่าเฉลี่ยของค่าแรงที่จ่ายนั้นต่อชั่วโมงนั้นมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นจริง แต่เนื่องจากพวกเขาเหลือจำนวนชั่วโมงที่ทำงานน้อยลง ดังนั้นแล้วรายได้ต่อเดือนจึงตกลงไป 74 เหรียญ ซึ่งก็คือค่าจ้างประมาณ 5 ชั่วโมง

การศึกษานี้ใช้ข้อมูลรวมของทั้งจำนวนชั่วโมงและรายได้แบ่งเป็นรายภาคอุตสาหกรรม ในปี 2018 มีการศึกษาตีพิมพ์ออกมาอีก โดยผู้เขียนคนเดียวกันนั้นใช้ข้อมูลเพื่อติดตามแรงงานแต่ละคนแทนที่จะใช้ค่าเฉลี่ย ครั้งนี้พวกเขาพบว่า แรงงานที่ไร้ทักษะนั้นพบว่ารายได้รายสัปดาห์ของพวกเขานั้นเพิ่มขึ้น 8-12 เหรียญต่อสัปดาห์ โดยที่เงินส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นนั้นถูกแย่งไปโดยผู้มีรายได้น้อยที่มีระดับประสพการณ์ที่อยู่เหนือค่าเฉลี่ยแทน และบางส่วนก็จากแรงงานที่พยายามชดเชยจำนวนชั่วโมงการทำงานที่น้อยลงในซีแอตเติ้ลโดยไปทำงานเพิ่มจำนวนชั่วโมงในรัฐวอชิงตันแทน

ในปี 2019 มีการสั่งให้ทบทวนใหม่โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรของการศึกษาที่มีอยู่มากกว่า 50% ก็พบว่าผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำต่อการจ้างงานโดยทั่วไปนั้นก็จะไม่มีผลอะไร แม้ว่าดูแล้วจะมีการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ แต่ก็มีการศึกษาบางแห่งนั้นพบว่ามีผลกระทบจริงๆ

อรินดราจิต ดูป ผู้ที่เป็นผู้ตรวจสอบการทบทวนนี้ได้เตือนว่าหลักฐานที่พบเห็นนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงได้และมีการพัฒนาอยู่ ตัวอย่างเช่น มันเป็นการด่วนสรุปไปหากจะออกความเห็นเกี่ยวการเพิ่มขึ้น 25% ของค่าแรงขั้นต่ำในเกาหลีใต้ระหว่างปี 2016 และ 2018 นั้นมีผลอย่างไร

ผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำนอกจากจะสะเทือนภาคส่วนที่มีค่าแรงต่ำแล้วก็กระทบไปถึงภาคส่วนอื่นด้วย การศึกษาเบื้องต้นในปี 2019 ถึงผลกระทบของค่าแรงขั้นต่ำในเยอรมันนั้นพบว่ามันนำไปสู่การจัดสรรจำนวนแรงงานใหม่จากบริษัทที่เล็กและจ่ายน้อยไปสู่บริษัทที่ใหญ่กว่าและจ่ายมากกว่า ในปีเดียวกันนั้นบทความใน Quarterly Journal of Ecnomics นั้นก็พบว่าผลกระทบของกฏหมายเรื่องค่าแรงขึ้นต่ำนั้น รายได้โดยเฉลี่ยถูกทำให้ขยายมากขึ้นจากผลกระทบเล็กๆไหลไปสู่ผลกระทบที่มากขึ้นและรายได้ที่มากขึ้นด้วย

นายจ้างมักจะต้องการที่จะคงไว้ซึ่งความแตกต่างทางด้านค่าจ้างระหว่างพนักงานที่มีความรับผิดชอบมากกว่า ดังนั้นแล้วหากว่าค่าแรงขึ้นต่ำมันดันให้ค่าแรงสูงขึ้นสำหรับแรงงานในร้านอาหารฟาสฟู้ดส์แล้ว ร้านอาหารก็ควรจะขึ้นคาแรงของหัวหน้างานในร้านฟาสฟู้ดส์นั้นด้วย

แล้วใครควรเป็นคนจ่ายค่าแรงขั้นต่ำหละ? ในทฤษฏีแล้ว ต้นทุนลักษณะนี้ควรส่งผ่านไปยังผู้บริโภคจากราคาขายที่สูงขึ้น หรือรับไว้โดยนายจ้างก็จะมีกำไรที่น้อยลง ในความเป็นจริงแล้วคำตอบมันก็จะแตกต่างกันไปในหลายๆตลาด ในภาคที่มีการแข่งขันสูง อย่างเช่น ร้านอาหารฟาสฟู้ดส์แล้ว การค้นคว้าวิจัยนั้นพบว่าการเพิ่มขึ้น 10% ของค่าแรงขั้นต่ำนั้นทำให้ราคาแฮมเบอเกอร์เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 0.9% ในปี 2019 นั้นการศึกษาของซุปเปอร์มาเก็ตในซีแอตเติ้ลนั้นพบว่าไม่มีผลกระทบอะไรเลยสำหรับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าที่ใช้เป็นประจำ

นักเศรษฐศาสตร์อาจจะเลิกคิดแล้วว่าค่าแรงขั้นต่ำที่สูงนั้นมันจะแย่เสมอ แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่ามันจะดีเสมอไป ในปี 2018 นั้น การศึกษาจาก ไอแซค ซอคิน และผองเพื่อนก็ได้เตือนว่านักกำหนดนโยบายควรจะเน้นมุมมองในระยะยาวมากกว่าแทนที่จะมากังวลกับอัตราการว่างงานในระยะสั้นๆ ผู้ศึกษานั้นพบว่าหากบริษัทนั้นรับรู้ว่าค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้นนั้นมันจะเป็นแบบนั้นในระยะยาวแล้วและเงินเฟ้อในอนาคตก็อาจไม่ช่วยอะไร มันก็อาจจะส่งผลให้บริษัทพยายามหาเครื่องจักรหรือระบบเพื่อมาทนแทนแรงงานและให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้นเพื่อที่จะลดการจ้างงานลงในอนาคต ความคิดที่ว่าค่าแรงขั้นต่ำนั้นบางครั้งอาจจะนำไปสู่การจ้างงานที่น้อยลงนั้นไม่ได้แปลว่ามันจะเกิดขึ้นแบบนั้นเสมอ เมื่อมีการยกระดับพื้น (ค่าแรงขั้นต่ำ) ให้สูงขึ้น นักกำหนดนโยบายก็ต้องให้แน่ใจว่ามันจะไม่ไปชนเพดาน

อ้างอิง:

https://www.economist.com/schools-brief/2020/08/15/what-harm-do-minimum-wages-do

Leave a Reply