พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

Liquidity in the economy. (สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ)

https://www.stlouisfed.org/on-the-economy/2016/february/liquidity-entered-economy-where-go

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายๆประเทศประกาศให้เริ่มมีการทำงานจากที่บ้านหรือ work from home กันมากขึ้น นอกจากนั้นก็มีรัฐบาลหลายๆประเทศก็หลั่งไหลออกมาตราการช่วยเหลือต่างๆเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ สิ่งเหล่านี้จะได้ผลมั้ยไม่รู้แหละ ก็ต้องรอดูกัน แต่ที่สงสัยคือไอ่ “สภาพคล่อง” ที่ว่านี่มันคืออะไรกันแน่

จริงๆแล้วคำว่าสภาพคล่องนั้น คนส่วนใหญ๋อาจจะนึกถึงแต่เงินสด (cash) แต่ว่าสภาพคล่องนั้นก็ตีรวมไปถึงสินทรัพย์ต่างๆ (asset) ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วนั้นมักจะถูกเรียกว่าสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาลที่สามารถขายคืนได้ก่อนกำหนด หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่มีปริมาณคนซื้อคนขาย ทองคำ หรือแม้แต่เงินฝากแบบประจำที่มีระยะเวลากำหนดไว้ก็ตาม อะไรแบบนั้น

ส่วนสินทรัพย์ที่อาจจะใช้เวลาในการแปลงสถาพเป็นเงินสดได้ช้าหน่อยก็จะเรียกว่าสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม รถยนต์ อะไรแบบนี้เป็นต้น

ทีนี้ การมีสภาพคล่องก็เหมือนกับมีอำนาจในมือระดับนึง เพราะเมื่อโอกาส (ทางธุรกิจ) มาถึง เช่น โอกาสเปิดร้านใหม่ๆ หรือโอกาสลงทุนในกิจกรรมอะไรใหม่ๆ หรือแม้แต่ไว้ใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจทั่วไปของบริษัทเองก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกันเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปไม่สะดุด

ทีนี้ถามว่า แล้วการที่ธนาคารกลางหรือรัฐบาลในประเทศต่างๆต้องออกมาตราการโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่ออัดฉีดสภาพคล่องหรือเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงนี้เพื่ออะไร

ก็เนื่องจากการแพร่กระจายของ COVID-19 อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการปิดเมือง การปิดประเทศ การสั่งให้โรงเรียน และสถานที่สาธารณะต่างๆปิดตัวชั่วคราวนั้น ก็จะส่งผลให้กระทบโดยตรงกับรายได้ของธุรกิจต่างๆนั่นเอง เมื่อคนไม่ออกไปใช้จ่ายและพยายามเดินทางให้น้อยที่สุด หรือแม้แต่การทำงานที่บ้านเพื่อลดการแพร่กระจายของไวรัสนั้น ธุรกิจย่อมได้รับผลกระทบอย่างจังแน่นอน

หนักๆที่สุดก็คือพวกสายการบินต่างๆ ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมต่างๆที่รายได้ย่อมหดหายไปอย่างมาก แต่ค่าใช้จ่าย เช่น เงินเดือนพนักงงาน ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องมือ หรือค่าบำรุงรักษาสถานที่ต่างๆยังคงเกิดขึ้นยังต้องจ่ายอยู่ทุกวัน รวมไปถึงบางธุรกิจที่มีหนี้สินที่ต้องชำระทุกเดือน ในระดับลูกจ้างก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายประจำ เช่น เงินกู้ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ซ้ำร้ายกว่านั้น หากรายได้เหลือน้อยมากย่อมต้องทำให้มีการปลดพนักงานแน่นอนเพื่อตัดค่าใช้จ่าย ซึ่งพนักงาานเหล่านั้นก็จะได้รับผลกระทบส่งต่อไปอีก ยิ่งถ้าเป็นคนหารายได้หลักของครอบครัวแล้วก็ไม่อยากจะคิดว่าจะเดือดร้อนแค่ไหน

ดังนั้นการเพิ่่มเงินสดหรือการช่วยเหลือธุรกิจในด้านการเพิ่มสภาพคล่องเข้าไปในระบบนั้นก็เพื่อที่จะต้องการช่วยพยุงธุรกิจเหล่านี้ให้ยังคงอยู่ต่อไปได้นานที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุดนั่นเอง ช่วยให้มีการปลดพนักงานช้าลงที่สุด หรือสามารถชำระหนี้ได้บ้างแม้อาจจะไม่เต็มจำนวน (ส่่วนวิธีการการเข้าถึงของสภาพคล่องของผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงนั้นจะมีประสิทธิภาพแค่ไหนนั้นก็คงเป็นอีกเรื่องนึง)

ในเวลาแบบนี้ก็จะเห็นว่าคนที่มีสภาพคล่อง (มีเงินเก็บ) นั้นสำคัญจริงๆครับ เพราะเราก็ไม่รู้ว่าชีวิตปกติจะกลับไปได้เมื่อไหร่ ตลาดหุ้นที่ร่วงลงก็ไม่รู้ต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหนกว่าจะกลับไปที่ 1,700 หรือแม้แต่ 1,800 จุดได้

แต่เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ยังไม่สายไปที่จะเริ่มเรียนรู้การลงทุนแบบระยะยาวกันนะครับ เพราะหากหวังพึ่งแต่เงินฝากในธนาคารหรือลำพังแค่เงินเดือนสำหรับลูกจ้างโดยทั่วๆไปแล้วก็คงยากที่จะรองรับกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันในอนาคตที่ครั้งนี้ก็คงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายหรอกครับ…

References:

https://www.quora.com/What-is-liquidity-in-the-economy

https://www.investopedia.com/terms/l/liquidity.asp

https://en.wikipedia.org/wiki/Market_liquidity

Leave a Reply