ในฐานะแฟนฟุตบอลคนนึง เราก็คงอยากเห็นเกมส์ฟุตบอลที่แข่งกันอย่างสนุกสาน ตรงไปตรงมา มีการเล่นอย่างสร้างสรรค์เพื่อความสุขของแฟนบอลทุกๆคนโดยที่ไม่แบ่งชนชั้น และไม่เอาเรื่องเงินๆทองๆมาเกี่ยวข้อง แต่ในความเป็นจริง ยังไงเรื่องเงินก็ยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่ดีๆ โดยเฉพาะทีมที่มีฐานะทางการเงินอันแข่งแกร่งหรือร่ำรวยนั่นเอง
เรื่องราวของซุปเปอร์ลีกของทีมฟุตบอลทางยุโรป (European Super League) ที่อยากจะออกไปจัดตั้งลีกของตนเอง ซึ่งไปเอาอย่างโมเดลการทำธุรกิจทีมหรือสโมสรในอเมริกานั้นก็โดนแฟนบอลวิ่งหนีจากความคิดนี้อย่างชัดเจน
เรื่องที่โดนระเบิดกลับใส่หน้าตัวเองกันอย่างจังสำหรับทีมฟุตบอลสโมสรยุโรปซุปเปอร์ลีกนี้ก็อธิบายได้คำเดียวก็คือมาจาก ความเสี่ยง นั่นเอง ซึ่งแฟนๆก็ชอบมาก แต่เจ้าของทีมก็คงเกลียดอยู่พอสมควร แต่ท้ายที่สุดแล้วแฟนบอลก็ชนะจนได้ (ฟิ้วววว….ค่อยยังชั่วหน่อย)
เพียงแค่ไม่ถึงสองวันที่ไอเดียนี้ถูกพยายามทำให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา แผนการจัดตั้งนี้ก็ล่มสลายลงเนื่องมาจากสโมสรที่คาดว่าจะเข้าร่วมซุปเปอร์ลีกในตอนแรกนั้นถอนตัวกันเป็นแถวเนื่องมาจากความโกรธเกรี้ยวและต่อต้านจากเกจิอาจาร์ย จากนักการเมือง จากผู้เล่น และโดยเฉพาะจากแฟนบอลนั่นเอง
การกำจัดโอกาสที่ทีมแต่ละทีมจะโดนเตะออกจากลีกยุโรปสูงสุดในระดับสโมสร (ปัจจุบันนี้ก็คือ European Champions League) ก็เป็นเรื่องที่ดึงดูดให้ทีมระดับท้อปจากแต่ละประเทศนั้นอยากจะจัดตั้ง Super League นี้ขึ้นมา โดยมีทีมจากอังกฤษ สเปน และอิตาลีเป็นทีมที่อยากจะให้เกิด Super League นี้ขึ้นมา
ก่อนอื่นเรามาเข้าใจกันก่อนว่าปัจจุบันนี้ สโมสรแต่ละทีมนั้นบริหารจัดการอย่างไร ก็คือเจ้าของสโมสรนั้นมักจะมีปัญหาในการกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือขายพันธบัตรของทีมตัวเองเพราะทีมพวกเขานั้นมีความเสี่ยงอย่างนึงก็คือพวกเขาอาจจะถูกลดชั้นไปเล่นลีกที่รองลงไปหากพวกเขาแพ้ในหลายๆนัดมากเกินไป
15 ทีมใน Super League นี้จะได้รับการการันตีว่าทีมของพวกเขาจะไม่ถูกลดชั้นและจะมีเพียงอีก 5 ทีมที่จะมาๆไปๆขึ้นอยู่กับผลงานของทีมของพวกเขา แผนก็คือจะนำทีมระดับท้อปและได้รับความนิยมสูงสุดในยุโรปนั้นมาเจอกันนัดต่อนัดในช่วงแมตช์กลางสัปดาห์ซึ่งก็จะช่วยให้ทำเงินให้กับทีมอย่างมากจากสิทธิถ่ายทอดสดไปยังทั่วโลก
ซึ่งการแข่งขันลีกแบบปิดนี้ก็จะคล้ายๆกับโมเดลของการแข่งขันจากฝั่งอเมริกา ซึ่งแม้ว่าผลงานในฤดูกาลนั้นจะห่วยแตกแค่ไหนก็ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกส่งลงไปเล่นในลีกที่ต่ำชั้นกว่า ซึ่งนักลงทุนทั้งหลายก็จะชอบอะไรแบบนี้มากเพราะนอกจากมันจะทำเงินได้เพิ่มขึ้นแล้ว มันก็สามารถคาดการณ์ได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะนักลงทุนชาวอเมริกันที่คุ้นเคยกับสโมสรในประเทศตัวเองนั่นเอง
แต่แฟนฟุตบอลฝั่งชาวยุโรปนั้นมีความเห็นที่แตกต่างไป ในลอนดอน แฟนบอลเชลซีนับร้อยก็มารวมตัวหน้าสนามฟุตบอลทีมเมื่อวันที่ 20 เมษาที่ผ่านมาเพื่อร้องเพลงและก็ถือป้ายว่า “ฟุตบอลเป็นของพวกเรา (แฟนบอล) ไม่ใช่ของคุณ (ประธานบริหารชาวอเมริกันเจ้าของทีมเชลซี Bruce Buck)” และอีกป้ายก็ทำนอง “Buck ถอยออกมาจาก Super League ซะ”
พวกเขาบล็อครถบัสของทีมเพื่อให้มีการล่าช้าของเกมที่กำลังจะเตะ และพวกเขาก็มีพันธมิตรที่ค่อนข้างมีอำนาจอย่างโค้ชของแมนซิตี้อย่าง เป๊ป กวาดิโอล่า หรือกองหน้าของแมนยู อย่าง มาคัส แรชฟอร์ด คนที่ส่งทวิตเตอร์คำพูดของเซอร์ แมตต์ บัสบี้ว่า “Football is nothing without fans” หรือ “ฟุตบอลมันไม่มีค่าอะไรเลยถ้าไม่มีแฟนบอล”
แม้ว่า Super League จะยุบพับดับไปแต่ว่าปัญหาต่างๆก็จะยังคงอยู่ แน่นอนว่าเหล่าเจ้าของทีมนั้นร่ำรวยมหาศาลแต่ตัวทีมนั้นก็กระเสือกกระสนอยู่โดยเฉพาะช่วงนี้ที่เกิดโควิด 19 ขึ้นมาและไม่สามารถให้แฟนบอลเข้าสนามได้
จากตัวมาตราฐานชี้วัดทางด้านฟุตบอลของ KPMG นั้นบอกว่า ทีมส่วนใหญ่ที่ตอนแรกว่าจะเข้าร่วม Super League นั้นประสพกับภาวะขาดทุนในฤดูกาลที่แล้ว นำโด่งคือ เอซี มิลาน ติดลบ -195 ล้านยูโร ตามมาด้วยแมนซิตี้ที่ติดลบ -144 ล้านยูโร
เหล่าเจ้าของนั้นก็บอกว่าในสภาพการณ์ปัจจุบันนี้มันไม่สามารถที่จะป้องกันได้ The Champions League หรือบอลลีกยุโรปสูงสุดที่เราคุ้นเคยดีที่นำทีม 32 ทีมที่ดีที่สุดจากลีกทั่วยุโรปมาแข่งกันในช่วงแมตช์กลางสัปดาห์ แม้ว่าทีมที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่จะสามารถผ่านการคัดเลือกได้อยู่แล้ว แต่บางครั้งก็พลาดเช่นกัน
อย่างปีนี้ทีมที่คาดว่าจะเข้าร่วม Super League อย่างอาร์เซน่อล เอซี มิลาน และสเปอร์ส นั้นก็ไม่ผ่านเช่นกัน ซึ่งยูฟ่าผู้ก่อตั้งแชมป์เปี้ยนลีกส์นี้ก็เสนอที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่หนึ่งในแผนก็คือจะเพิ่มทีมจาก 32 ทีมเป็น 36 ทีม แต่ก็จะทำให้ต้องมีการเตะกันมากขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นเหล่าเจ้าของทีมก็บอกว่ามันจะทำให้มีแมตช์เตะกันมากเกินไปซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะไม่สนใจ
มีความคิดนึงที่สไตล์อเมริกันจำกัดก็คือการจ่ายเงินซึ่งก็จะช่วยลดการครอบงำหัวตารางของทีมที่ร่ำรวยอยู่เรื่อยๆ ข้อเสนอแรกๆของ Super League ก็คือจะจำกัดการใช้จ่ายเงินค่าจ้าง ค่าย้ายสโมสร ค่านายหน้าไว้ที่ 55% ของรายได้เท่านั้น และก็จะมีการแบ่งกันอย่างเท่าเทียมระหว่างทีมที่ชนะและทีมที่แพ้ ลีกฝั่งอเมริกานั้นดำเนินธุรกิจแบบกลุ่มบริษัทมากกว่าหลายๆบริษัทที่แข่งขันกัน
แฟนบอลนั้นรักสโมสรดั่งครอบครัว แต่เมื่อคนในครอบครัวทำให้รู้สึกเหมือนโดนหักหลังก็จะทำให้เกิดความโกรธเกรี้ยวกันได้ Super League ก็ทำให้เกิดความรู้สึกถูกหักหลังขึ้นมากับแฟนบอลนั่นเอง…
แม้ว่า Super League จะล้มพับไม่เป็นท่า แต่สุดท้ายจะบริหารสโมสรก็ต้องใช้เงิน หลายๆทีมก็ประสพกับภาวะขาดทุน และโควิด19 ก็ยังไม่ไปไหนง่ายๆ เราก็คงต้องมารอดูกันว่าเหล่าผู้บริหารของแต่ละทีมนั้นจะพาทีมและธุรกิจที่มีคนดูเป็นล้านๆคนทั่วโลกผ่านช่วงนี้ไปได้อย่างไร
อ้างอิง:
Bloomberg Businessweek April 26, 2021: Hands Off My Football Team!
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.