เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินชื่อของนักลงทุนระดับโลกหลายๆคนในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น Warren Buffett, George soros, Ray Dalio, และ Peter Lynch
แต่คนนึงที่ท่านอาจจะไม่รู้จักแต่ก็ประสพความสำเร็จ (ในแง่ของการลงทุน) ไม่แพ้บุคคลดังที่กล่าวไปเลยคือ Jim Simons (ผมก็คนนึงละที่ไม่รู้จัก) จากบทความใน The Economist ฉบับล่าสุดวันที่ 16 พฤศจิกายน 2019 เราก็ไปดูกันว่าเขาเป็นใครและเขาประสพความสำเร็จอย่างไร
กองทุนระดับพรีเมี่ยมของ Renaissance Technologies นั้นสามารถทำกำไรได้ถึง 100,000 ล้านดอลล่าห์ ในการลงทุน (หนึ่งแสนล้านดอลล่าห์เลยจ้า)
กลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่สุดของนักลงทุนมักจะฟังดูค่อนข้างเรียบง่าย “ไม่ว่าจะเป็นถุงเท้าหรือหุ้น ผมก็ชอบที่จะซื้อสินค้าที่มีคุณภาพเมื่อมันมีการลดราคา” คำกล่าวจาก Warren Buffett
ความเสี่ยงจากการลงุทนและคาดคะเนเหตุการณ์ที่ค่อนไปทางหายนะที่เกิดขึ้นในยุคสมัยต่างๆ เช่นการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ก็เป็นแทคติกที่ George Soros นั้นถนัดนัก
แต่ Jim Simons ผู้ก่อตั้งบริษัท Renaissance Technologies ที่เป็นเฮดจ์ฟัน นั้น ใช้รูปแบบหรือ Pattern ในการลงทุนแทน แม้ว่า Jim Simons จะเป็นที่รู้จักน้อยกว่า George Soros และ Warren Buffett แต่ก็ไม่ได้ประสพความสำเร็จน้อยกว่าเลย
เขาก่อตั้ง Renaissance ในปี 1982 ตอนที่อายุ 44 แล้ว หลังจากที่ประสพความสำเร็จในอาชีพด้านคณิตศาสตร์และการแก้ปัญหาด้านการเข้ารหัส (code breaking) กองทุนพรีเมี่ยม Medallion ของเขานั้นสามารถทำกำไรได้ถึง 100,000 ล้านดอลล่าห์แล้วในการลงทุนตั้งแต่ปี 1988 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็ลงทุนเพื่อพนักงานของเขาเอง (โอววว น่าอิจฉาพนักงานเขามาก)
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 66% ก่อนจะหักค่าธรรมเนียมต่างๆ ทำให้คุณ Simons นั้นเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ประสพความสำเร็จในโลกตลอดกาล ซึ่งตอนนี้ตัวเขามีมูลค่าทั้งหมด 21,000 ล้านดอลล่าห์เลยทีเดียว
จากหนังสือออกใหม่ “The Man Who Solved the Market” โดย Gregory Zuckerman จากหนังสือพิมพ์ Wall Stree Journal ก็ได้ไปถามคุณ Simons ว่าเขาทำได้อย่างไร (มันเป็นการอ่านที่น่าติดตามมาก) คุณ Simons นั้นเริ่มลงทุนในปี 1978 โดยการมองหารูปแบบหรือ pattern ในการซื้อขายสกุลเงินต่างๆ ความสำเร็จแรกๆของเขาก็คือการใช้กลยุทธ์ในการ ย้อนกลับไปสู่ค่ากลาง (Reversion to the mean) แบบง่ายๆ โดยเข้าซื้อเมื่อสกุลเงินนั้นมีค่าตกลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่มากพอสมควรสำหรับในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนั้นเอง
สิบปีผ่านไป นักคณิตศาสตร์อีกท่านนึงนามว่า René Carmona ได้โน้มน้าวเขาว่าแทนที่จะมองหารูปแบบซ้ำๆแบบนั้นด้วยตัวเอง เขาควรจะให้อัลกอริทึ่มทำหน้าที่นั้นแทน แล้วค่อยทำการซื้อขายแม้ว่าความสมเหตุสมผลมันอาจจะดูไม่ชัดเจนสำหรับมนุษย์เท่าไหร่
ในช่วงทศวรรษ 1990 Robert Mercer และ Peter Brown ได้พัฒนาวิธีการเทรดเวอร์ชั่นใหม่แบบแก้ไขตัวเองโดยเพิ่มการลงทุนให้กับกลยุทธ์ที่ประสพความสำเร็จและลดการลงทุนหรือตัดความสูญเสียจากการลงทุนที่ไม่ประสพความสำเร็จ วิธีทางเทคนิคเหล่านี้ซึ่งตอนนี้มันก็คือการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์หรือ machine learning ที่กำลังแพร่หลายอยู่นั่นเอง
อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ทุกๆก้าวที่ผ่านมาเขาจะประสพความสำเร็จไปซะหมด ความผิดพลาดก็มีอยู่เช่นกัน ในช่วงแรกๆนั้นคุณ Simons นั้นเกือบจะทำให้ตลาดมันสำปะหลังของรัฐ Maine นั้นจนมุมอย่างไม่ตั้งใจ โดยมารู้ตัวทีหลังเมื่อเหล่าๆผู้คุมกฎทั้งหลายนั้นประนามเขา เป็นช่วงเวลาหลายเดือนที่ทีมของเขาไม่สามารถทำเงินได้เลยจากการซื้อขาย
จนกระทั่งมีโปรแกรมเมอร์คนนึงพบว่าคุณ Mercer นั้นได้กำหนดค่าดัชนี S&P 500 เป็นค่าคงที่ (หนึ่งบรรทัดจากโค้ดที่เขียนไว้ครึ่งล้านบรรทัด) แทนที่จะให้โปรแกรมใช้ค่าปัจจุบันของดัชนี
และตามที่คุณ Zuckerman ได้อธิบายไว้อย่างเห็นภาพว่ากลยุทธ์เหล่านี้ก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน อย่างนึงก็คือว่าขนาดหรือ scale นั้นก็ถูกจำกัด กองทุน Medallion ที่ทำการซื้อขายจากสัญญาณทางราคาในระยะสั้น ก็ไม่เคยสามารถลงทุนได้มากกว่า 10,000 ล้านดอลล่าห์
ยิ่งช่วงระยะเวลาการซื้อขายที่สั้นลง ความไม่มีประสิทธิภาพของตลาดจะสูง (เพราะการซื้อขายจะยังไม่นิ่ง คนซื้อขายอาจจะยังคิดไม่ดี หรือซื้อขายด้วยอารมณ์) และโอกาสที่อัลกอริทึ่มที่จะเลือกซื้อขายก็จะยิ่งประสพความสำเร็จในช่วงระยะเวลาที่สั้นนี้
แต่อย่างไรก็ดี ด้วยการซื้อขายในระยะเวลาที่สั้น มันก็เป็นข้อจำกัดของการเพิ่มขนาดของเงินลงทุน ซึ่งตอนนี้ Renaissance มีหลายกองทุนที่เปิดขายให้กับบุคคลภายนอกและจะทำการซื้อขายในมุมมองและระยะเวลาที่กว้างและยาวนานกว่าเดิม แต่ผลตอบแทนก็ลดน้อยลงตามไปด้วยจนไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่
บริษัทอื่นๆก็พยายามที่จะเลียนแบบวิธีการซื้อขายแบบของ Renaissance คนในบอกว่าเขาพยายามที่จะซื้อหุ้น ในรูปแบบที่ขนาดใหญ่ขึ้น มีการขยับราคาไปมาเพื่อที่ว่าบริษัทอื่นๆจะไม่สามารถมองเห็นสัญญาณเดียวกันได้ อารมณ์คล้ายๆพวกที่อยากได้ของถูกๆรู้ว่ามีร้านขายของร้านนึงกำลังจะมีการลดราคา และก็ไปที่ร้านแต่เช้าเพื่อขอซื้อสินค้าคงคลังทั้งหมดก่อนที่คนอื่นจะรู้ว่าร้านนี้จะมีการเอาของมาลดราคาด้วยซ้ำ (เขาทำกันแบบนี้นี่เอง)
หลายๆคนบน Wall Street มักจะพูดถึง Renaissance ในแง่ที่ว่าเหมือนเครื่องพิมพ์เงินเลย แต่คุณ Zuckerman แสดงให้เห็นว่าจริงๆแล้ว Renaissance นั้นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการและกลยุทธตลอดเวลาเพื่อที่จะให้นำหน้าคู่แข่งรายอื่นๆ
หนังสือเล่มนี้น่าผิดหวังอยู่อย่างเดียวคือ ไม่ค่อยมีการพูดถึงคุณ Simons สักเท่าไหร่ ทั้งๆที่เป็นคนที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายแบบนี้ ซึ่งจริงๆก็ไม่น่าแปลกใจเพราะว่าคุณ Simons นั้นได้ชื่อว่าจะไม่ค่อยชอบการออกสื่อเท่าไหร่และพยายามเลี่ยงตลอดเวลา
ก็แน่นอนอ่ะเนาะ ความสำเร็จส่วนใหญ่ของ Renaissance แล้วก็คือการแก้ปัญหาตลาดได้ที่ผ่านมา ซึ่งการจะบอกให้คนอื่นรู้ก็คงจะไม่ง่ายเท่าไหร่
ใครสนใจรายละเอียดก็ลองไปหาซื้ออ่านกันได้นะครับ เราจะได้อ่านชีวิตคนอื่นบ้างนอกเหนือจากนักลงทุนระดับโลกที่เราคุ้นเคยกันดีที่บอกไปตอนต้น
อ้างอิง:
The Man Who Solved The Market. Gregory Zuckerman. Penguin Random House; 359 pages; $30
blenlit
hakwamroo.com
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.