ผู้พิพากษาตัดสินว่ามันไม่มีคำตอบที่ง่ายๆ
ในที่สุดมันก็เกิดขึ้นจนได้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็กลุ่มที่ชอบวิจารณ์บริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆจะคิดกัน ประธานธิบดี โจ ไบเดน ได้ส่งหนึ่งในพวกเขา (นักวิจารณ์) มาเองเลย นามว่า ลิน่า ข่าน เพื่อดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะกรรมการการค้าแห่งสหพันธรัฐ หรือ Federal Trade Commmission (FTC)
คณะกรรมการสภานิติบัญญัติได้อนุมัติให้ผ่าน 6 ฎีกาเพื่อมากุมบังเหียนบริษัทเทคอย่าง Alphabet, Amazon, Apple และก็ Facebook และเมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้พิพากษาแห่งสหรัฐได้ยกฟ้องอย่างสั้นๆ 2 กรณีเกี่ยวกับการผูกขาดที่ฟ้อง Facebook ไป
ผลการตัดสินที่ไม่คาดคิดนี้กลับเป็นผลบวกส่งให้มูลค่าทางตลาดของ Facebook นั้นทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญไปแล้ว ผู้พิพากษา เจมส์โบสเบิร์ก ที่ถูกแต่งตั้งโดยอดีตเจ้านายของคุณไบเดนอย่าง บารัค โอบามา ก็ได้โยนกรณีฟ้องไปกรณีนึงจากหลายๆเคสที่ฟ้องโดย 46 รัฐ ซึ่งเกิดขึ้นจากช่องโหว่ทางด้านเทคนิค
กรณีฟ้องที่กล่าวหาว่า Facebook นั้นทำการกว้านซื้อคู่แข่งอย่าง Instagram ในปี 2012 และ WhatsApp ในปี 2014 เพื่อที่จะเสริมสร้างความเป็นเจ้าตลาดทางด้านโซเชี่ยลเน็ตเวิคนั้นก็ดูเหมือนว่าจะเลยเวลามานานและเก่าเกินไปแล้ว
ยิ่งลึกซึ้งไปกว่านั้น ผู้พิพากษาผมว่าในกรณีที่ 2 ที่เสนอโดย FTC นั้นมีข้อสนับสนุนทางด้านกฏหมายไม่เพียงพอ เนื่องมาจากว่าผู้ที่ฟ้องนั้นคาดหวังว่าศาลจะพยักหน้ายอมรับภูมิปัญญาดั้งเดิมว่า Facebook นั้นเป็นผู้ผูกขาดทางด้านโซเชี่ยลเน็ตเวิค
ซึ่งนั่นก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ FTC นั้นคาดหวังจริงๆ FTC ยืนยันว่า Facebook นั้นมีส่วนแบ่งตลาดที่ครอบครอง (มากกว่า 60%) โดยไม่สามารถอธิบายได้ว่าตลาดที่ว่านั้นคืออะไร และพวกเขาให้คำจำกัดความว่า โซเชี่ยลเน็ตเวิคส่วนบุคคลนั้นยังจะไม่รวมพวกที่เรียกว่าเน็ตเวิคทางด้านสายอาชีพอย่าง LinkedIn หรือเว็บไซท์ที่แชร์วีดีโออย่าง Youtube อีก
เพื่อที่จะให้ FTC ได้สิทธิที่ควรจะได้รับ การขีดเส้นว่าตลาดดิจิตอลมันคือตรงไหนยังไงนั้นมันค่อนข้างจะดิ้นได้มากๆ อย่างเช่น Facebook เนื่องจากบริษัทโซเชี่ยลมีเดียส่วนใหญ่นั้นไม่ได้คิดเงินกับผู้ใช้ ดังนั้นแล้ววิธีการดั้งเดิมที่จะมองว่าการขายแบบผู้บริโภคเป็นผู้ผลักดันอุตสาหกรรมนั้นก็ดูไร้ประโยชน์
Facebook นั้นมีลูกค้าที่จ่ายเงินอยู่ก็จริง ก็คือบริษัทที่ซื้อโฆษณาบนแพลตฟอร์มนั้น แต่ก็ถูกจำกัดอยู่ในขอบเขตที่ว่าตลาดนั้นจะค่อนข้างไม่ชัดเจน ถ้านับรวมบริษัทอเมริกันที่ทำการโฆษณาออนไลน์ทั้งหมดนั้น ส่วนแบ่งตลาดก็แค่ 25% เท่านั้น แต่ถ้าดูรวมไปถึงการโฆษณาผ่านโซเชี่ยลมีเดียวทั้งหมดนั้นส่วนแบ่งตลาดก็จะขึ้นไปที่ 60% ในอเมริกา (แม้ว่าส่วนแบ่งทางตลาดของ Facebook ทั่วโลกนั้นก็กำลังลดลง) แต่สิ่งที่ทำให้โซเชี่ยลมีเดียนั้นไม่มีรูปร่างสัณฐานที่แน่นอนนักนั้นก็คือคู่แข่งต่างๆนั้นก็โผล่มาแล้วก็มุ่ยไป
ผู้พิพากษานั้นยอมรับว่า Facebook นั้นมีอำนาจในตลาด และเขาอนุโลมให้ FTC นั้นยื่นข้อสนับสนุนใหม่ที่มีความแม่นยำมากกว่านี้ภายใน 30 วัน อย่างไรก็ดีเขาก็โยนทิ้งข้อเรียกร้องของ FTC ที่สำคัญข้อนึงทิ้งเช่นกัน ซึ่ง FTC กล่าวหาว่า Facebook นั้นยับยั้งการแข่งขันด้วยการไม่ยอมให้คู่แข่งใช้แพลตฟอร์มของตัวเอง จากเหตุการณ์ที่เคยมีมาก่อนแล้วของศาลฏีกานั้น ผู้พิพากษานั้นชีวิต การกระทำแบบนั้นนั้นถูกกฏหมาย ผู้ผูกขาดไม่มีหน้าที่ที่ต้องแจกหรือแบ่งปัน
นั่นมันอาจจะฟังดูเข้าท่าในโลกอะนาล็อก ผู้วิจารณ์อย่างคุณข่านนั้นแย้งว่าในโลกดิจิตอลที่มีแพลตฟอร์มที่เป็นผู้เล่นใหญ่ในตลาดนั้นเหมือนกับเป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของท่อส่งน้ำเอง ซึ่งก็เป็นเสมือนใบอนุญาติให้ฆ่าใครก็ได้ หากมีกรณีที่ทำให้บริษัทเทคใหญ่ๆจะต้องล้มคว่ำเพิ่มขึ้นซึ่งเหมือนที่อาจจะเกิดขึ้นกับ Apple และ Google ก็อาจจะช่วยให้ความต้องการที่จะปรับแก้ไขกฏหมายผูกขาดน้ั้นมีน้ำหนักมากขึ้น
แม้กระทั่งสิ่งนี้ก็ยังอาจจะไม่เพียงพอเพื่อที่จะให้มีฏีกาถึง 6 อัน หรืออะไรประมาณนั้นผ่านโดยวุฒิสภา ทั้งๆที่มีความเป็นเอกฉันท์จากทั้งสองพรรคในวอชิงตันแล้วว่าบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆนั้นมีอำนาจมากเกินไป แต่เดโมแครตและรีพับบลิกันก็คงไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ถึงรายละเอียดว่าจะทำยังไงกันต่อไป
อ้างอิง:
https://www.economist.com/business/2021/07/03/is-facebook-a-monopolist
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.