พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

มนุษย์เราตัดสินใจอย่างมีเหตุผล? (irrational decision making)

ช่วงนี้สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนก็ประทุกันขึ้นมาอีกครั้ง โดยทางสหรัฐฯก็ได้ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าที่มาจากจีนอีกรอบ โดยจีนก็ได้ตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯเช่นเดียวกัน

จากเหตุการณ์ที่ยังดำเนินไปเรื่อยๆระหว่างสองประเทศนี้ก็ทำให้นึกถึงเรื่องนึงทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการตัดสินใจของมนุษย์เราว่าคนเราเนี่ยเวลาตัดสินใจนั้นมีการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลหรือไร้เหตุผลกันแน่

ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นจะมีตั้งสมมุติฐานว่ามนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์ที่มีเหตุผล (เริ่มต้นมาก็เหมือนจะไม่ใช่ละ) ในทางทฤษฏีนั้นเขาว่าเราจะเลือกสิ่งต่างๆบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ประกอบกับความอยากมีอยากได้ในผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้แตกต่างกันไป

แต่จากการสังเกตทางพฤติกรรมของมนุษย์เรานั้นปรากฏว่าคนเรานั้นบางครั้งก็เปลี่ยนความชอบของตัวเองซะงั้นเมื่อมีตัวเลือกอื่นๆเพิ่มเข้ามา ดังนั้นจึงสรุปได้เบื้องต้นว่า ตัวเลือกอื่นๆที่แม้อาจจะไม่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจนั้นๆก็จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเราเช่นกัน (อาจจะงงๆแต่เดี๋ยวมีตัวอย่างต่อไป)

ในปี 1944 นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกา จอห์น วอน นูแมน (John Von Newmann) และ นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน ออสก้า มอรเก้นสเติน (Oskar Morgenstern) ได้พัฒนาทฤษฎีความคาดหวังทางด้านความพึงพอใจ (expected utility theory) เพื่ออธิบายถึงการตัดสินใจของมนุษย์ภายใต้เงื่อนไขและสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนเข้ามาเกี่ยวข้อง

“ความพึงพอใจ” (Utility) คือหน่วยของการวัดความพึงพอใจที่เราพึงได้จากผลลัพธ์ที่ต่างๆกันจากหลายๆผลลัพธ์ซึ่งทฤษฎีนี้นั้นสมมุติว่ามนุษย์เรามีเหตุผลเมื่อต้องเจอกับทางเลือกที่ไม่มีการรับประกันถึงผลลัพธ์ที่จะออกมา (ว่าง่ายๆก็คือพยายามใช้เหตุผลในการตัดสินใจนั่นแหละ)

พวกเขาจะชั่งน้ำหนักระหว่างความพึงพอใจที่จะได้รับจากผลลัพธ์ที่จะออกมาในรูปแบบต่างๆจากความเป็นไปได้ที่มันจะเกิดขึ้น แล้วก็เลือกทางเลือกที่จะให้ความพึงพอใจสูงสุด โดยโมเดลนี้จะใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ในการช่วยตัดสินใจและถูกใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจในหลายๆสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนนั้น

อย่างไรก็ดี ในปี 1953 นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมาริส อัลแลร์ส (Maurice Allais) ได้ท้าทายทฤษฎีนี้จากสิ่งที่เขาอ้างอิงก็คือแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์แบบโรงเรียนฝั่งอเมริกา

เมาริสบอกว่า ทฤษฎีความความหวังของความพึงพอใจนั้นยืนพื้นบนสมมุติฐานที่เป็นที่รู้กันถึงสัจพจน์หรือความจริงว่ามันไม่ขึ้นกับอะไรเลยหรือเป็นเอกเทศ โดยที่บอกว่าคนเรานั้นมองถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริงและสอดคล้องกับความพึงพอใจที่เขาจะได้รับจากแต่ละผลลัพธ์นั้นเท่านั้น

ถ้าจะให้ชี้ชัดลงไปอีกก็คือมนุษย์เรานั้นเวลาจะตัดสินใจเลือกอะไรก็ตามก็จะกระทำอย่างอิสระโดยไม่สนใจปัจจัยปกติๆทั่วไปอื่นๆเลยของแต่ละทางเลือก เมาริสบอกว่าแบบนี้ค่อนข้างจะไม่จริง ซึ่งการโต้แย้งของเมาริสนี้ก็ภายหลังในรับการเรียกว่า อัลแลร์สพาราดอกส์ (Allais paradox) หรือก็คือข้อขัดแย้งของอัลแลร์ส

การเลือกอย่างไม่มีเหตุผล (Irrational choice)

แม้ว่าเราอาจจะไม่สามารถมองเห็นกระบวนการทางความคิดของคนเราเมื่อเขาเลือกอะไรต่างๆ แต่เราสามารถสังเกตถึงทางเลือกที่พวกเขาเลือกได้ และสามารถมองเห็นได้ว่าพฤติกรรมนี้มันสอดคล้องและมีเหตุผลอย่างสม่ำเสมอและเป็นจริงเป็นอิสระตลอดเวลาหรือไม่

เพื่อจะให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ลองนึกภาพว่าหากคุณมีโอกาสเลือกระหว่างแอปเปิ้ลกับส้ม และคุณเลือกแอปเปิ้ลไปแล้วในครั้งแรก

ทีนี้ลองนึกต่อว่าคราวนี้คุณมีตัวเลือกเพิ่มมาอีกเป็นสามอย่างคือ แอปเปิ้ล ส้ม และ พีช สัจพจน์ที่เป็นเอกเทศนี้ (independence axiom) จะบอกว่าคุณก็ต้องเลือกแอปเปิ้ลอีกสิ (หรือไม่ก็พีช) แต่คุณจะไม่เลือกส้ม เพราะแม้ว่าจะเพิ่มพีชเข้ามาเป็นตัวเลือกที่สาม มันก็ไม่สามารถเปลี่ยนความชอบของคุณที่ชอบแอปเปิ้ลมากกว่าส้มได้หนิ

การฝ่าฝืนกฏที่เมาริสพบเจอนี้มักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน สมมุติว่ามีทางเลือกระหว่างล็อตเตอรี่สองใบ และแต่ละใบจะให้รางวัลที่แตกต่างกันไม่เหมือนกันแน่นอนและจะขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ดังนี้

ใบแรกจะให้โอกาส 50% ที่คุณจะได้แอปเปิ้ล และโอกาสอีก 50% ที่จะได้พีช

ใบที่สองจะให้โอกาส 50% ที่คุณจะได้ส้ม และโอกาสอีก 50% ที่จะได้พีช

และเนื่องจากคุณชอบแอปเปิ้ลมากกว่าส้ม คุณก็ควรจะเลือกล็อตเตอรี่ใบแรกมากกว่าใช่มั้ย เพราะใบแรกนั้นจะมีโอกาสได้แอปเปิ้ลหรือพีชแค่นั้น แต่ใบที่สองคุณจะมีโอกาสที่จะได้ส้ม (ที่คุณไม่ชอบ) และไม่มีโอกาสได้แอปเปิ้ลเลยด้วยซ้ำ มีแต่โอกาสจะได้พีช

แต่จากทฤษฎีสัจพจน์หรือความจริงที่ไม่ขึ้นกับอะไรนี้ การเพิ่มเข้าไปของพีชในล็อตเตอรี่แต่ละใบ ก็จะทำให้พีชมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งสองใบ แต่มันก็ไม่ควรจะสร้างความแตกต่างอะไรในการเลือกแอปเปิ้ลมากกว่าส้มใช่มั้ย แต่ในความเป็นจริงในทางปฏิบัติแล้ว มันไม่ใช่เลยในหลายๆครั้งเมื่อมีตัวเลือกเพิ่มเข้ามาแบบนี้ (สั้นๆง่ายๆก็คือในทางปฏิบัติ คนไม่ได้เลือกล็อตเตอรี่ใบแรกเสมอไป)

ในการทดลองนั้นมีการใช้รูปแบบที่ซับซ้อนมากกว่านี้เยอะเกี่ยวกับการเลือกของมนุษย์เรา ซึ่งบ่อยครั้งที่คนจะฝ่าฝืนกฏความจริงอันเป็นอิสระนี้ นี่ก็คือข้อขัดแย้งทางแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่ามนุษย์เรานั้นตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

มันมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้การมีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้นในการเลือกแต่ละครั้งนั้นมักจะมีผลกระทบต่อการเลือกของคนเราที่มันจะสร้างความแตกต่างได้จริงๆด้วย (พอมีพีชเข้ามา คนก็อาจจะไปเลือกล็อตเตอรี่ใบที่สองแทน)

การค้นพบถึงพฤติกรรมต่างๆประเภทนี้ได้แพร่หลายแล้วก็ได้สร้างสาขาวิชาใหม่ขึ้นมาก็คือเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ซึ่งพยายามอธิบายและปรับเปลี่ยนโมเดลที่เป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยามากขึ้นเพื่อศึกษาการตัดสินใจของมนุษย์เราที่เป็นจริงมากที่สุด

โอววว ว่าไปนั่น สงครามการค้าก็อาจจะมาจากพฤติกรรมของสองประเทศที่อาจจะไม่มีเหตุผลอะไรที่เราเข้าใจก็ได้สินะ เพราะแต่ละประเทศอาจจะมีตัวเลือกและทางเลือกที่แตกต่างกันไปเนาะ

หยุดยาวอีกแล้ว ก็ขอให้เดินทางอย่างปลอดภัยและมีสติครับ

อ้างอิง:

Big Ideas Simply Explain: The Economics Book

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply