ตั้งแต่มีโรคระบาด covid19 มีการปิดเมือง (lockdown) มีการทะเลาะกันทางการค้าระหว่างอเมริกากับจีน ท่าทีที่ถอยออกจากเวทีโลกของอเมริกา ปัจจัยต่างๆส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารทั่วโลก (global supply chain) เราก็จะได้ยินคนพูดกันถึงคำๆนึงขึ้นมาอีกครั้ง นั่นก็คือ อุตสาหกรรมที่ทดแทนการนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบ หรือก็คือ import substitution industrialization (ISI)
ISI เป็นทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ที่ยึดถือโดยประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศเกิดใหม่เพื่อลดการพึ่งพาประเทศที่พัฒนาแล้ว วิธีการก็คือจะตั้งเป้าหมายในการปกป้องหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมที่กำลังก่อตัวหรือเกิดใหม่ในประเทศเพื่อที่จะให้พัฒนาเป็นภาคส่วนที่เต็มตัวเพื่อที่ว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นมานั้นสามารถแข่งขันได้กับสินค้าที่นำเข้า ภายใต้ทฤษฏีนี้ก็เชื่อว่าขั้นตอนในการผลิตสินค้านั้นจะก่อให้เกิดเศรษฐกิจภายในส่งผลให้ประเทศนั้นสามารถพึ่งพาตัวเองได้
เป้าหมายหลักของการดำเนินการตามทฤษฏีอุตสาหกรรมการทดแทนสินค้านี้ก็เพื่อที่จะปกป้อง เสริมความแข่งแกร่ง และฟูมฟักอุตสาหกรรมภายในโดยใช้วิธีการทางการค้าหลายๆอย่างรวมไปถึงการเรียกเก็บภาษี (tariffs) การจำกัดจำนวนสินค้านำเข้า (quotas) และการสนับสนุนเงินกู้หรือเงินสมทบจากทางภาครัฐ หรือแม้แต่การทำให้สกุลเงินของประเทศตัวเองนั้นมีการแข็งค่ามากเกินไปเพื่อให้ภาคฝ่ายผลิตในประเทศของตัวเองนั้นนำเข้าสินค้าทุน สินค้าหนักต่างๆในราคาที่ถูกลง (เครื่องจักรต่างๆ) ประเทศต่างๆที่ดำเนินการตามทฤษฏีนี้จะพยายามที่จะผลักดันช่องทางการผลิตสำหรับการพัฒนาสินค้าในแต่ละระยะ (stage)
อย่างไรก็ดี ISI นั้นค่อนข้างจะสวนทางกับแนวคิดของ comparative advantage ที่ว่าประเทศนั้นจะผลิตสินค้าในสิ่งที่ประเทศตัวเองมีความชำนาญด้วยต้นทุนค่าเสียโอกาสที่ต่ำและค่อยส่งออกสินค้านั้นไปขายอีกที
การตั้งกำแพงภาษีสูงๆสำหรับสินค้านำเข้าและการปกป้องอุตสาหกรรมต่างๆ การดำเนินนโยบายทางการค้าที่ปกป้องการผลิตภายใน ประชากรของแต่ละประเทศก็จะแค่ทดแทนสินค้าที่ราคาถูกกว่าแทนที่จะซื้อสินค้าที่ราคาแพงกว่า
ด้วยวิธีการต่างๆเหล่านี้ อุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญก็จะค่อยๆรวมรวบครอบครองทรัพยากร อย่างเช่นแรงงานจากอุตสาหกรรมอื่น เช่น อุตสาหกรรมหลักก็จะใช้ทรัพยากร ใช้ทุน ใช้แรงานจากภาคเกษตรเป็นต้น
เมื่อเวลาผ่านไป ประเทศที่กำลังพัฒนานั้นก็จะประพฤติปฏิบัติดูเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และด้วยการรวมรวบทุนและการเพิ่มขึ้นของปัจจัยทางการผลิตอย่างทุนและแรงงาน และโดยหลักการแล้ว อุตสาหกรรมของประเทศก็จะสามารถแข่งขันในระดับระหว่างประเทศในตลาดโลกได้
นโยบายการทดแทนสินค้านำเข้านี้แม้ว่ามันอาจจะสร้างงานให้กับคนในประเทศในระยะสั้น และเมื่อผู้ผลิตภายในประเทศค่อยๆทดแทนผู้ผลิตจากต่างประเทศ ทั้งสินค้าที่ผลิตออกมาและการเจริญเติบโตนั้นก็มักจะต่ำกว่าหากไม่มีการปกป้องในระยะยาว
การทดแทนการนำเข้าสินค้านั้นปฏิเสธผลประโยชน์ที่จะได้รับจากความชำนาญในการผลิตและจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทฤษฏีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (comparative advantage) นั้นแสดงให้เห็นถึงว่าประเทศจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการค้า แต่การปกป้องทางการค้าหรือ protectionism นั้นจะนำไปสู่ความไม่มีประสิทธิภาพที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
แม้ดูเหมือนว่าการทดแทนสินค้านำเข้านั้นจะมีประโยชน์ แต่มันก็จะไม่ยั่งยืนเมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากว่าวิธีการนี้จะส่งผลให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงขึ้น ในกรณีส่วนมากแล้ว วิธีการนี้จะทำให้ขาดประสพการณ์ในการผลิต ขาดการแข่งขัน ซึ่งส่งผลให้นวัตกรรมและประสิทธิภาพนั้นลดลง ซึ่งเป็นข้อจำกัดของคุณภาพสินค้า การจัดสรรทรัพยากรก็จะไม่มีประสิทธิภาพ และนโยบายปกป้องทางการค้านั้นก็จะทำให้ราคาสินค้ามีราคาที่สูงอยู๋เรื่อยๆ มากไปกว่านั้น อำนาจมักจะตกอยู๋ในมืองของคนไม่กี่พวก ซึ่งก็จะลดแรงจูงใจสำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการขึ้นมา
แล้วการคืนชีพของ ISI ทุกวันนี้มันคือยังไง? ในประเทศที่มีเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่และมีรัฐปกครองที่มีความสามารถ การดำเนินการทดแทนการนำเข้าสินค้าอาจจะช่วยให้รัฐบาลนั้นสามารถพาตัวเองไปสู่เป้าหมายได้โดยที่ไม่ทำให้บริษัทต่างๆนิ่งเฉยไม่พยายามแข่งขัน จีนอาจจะดูเหมือนว่าทำได้ อินเดีย ที่มีตลาดภายในที่ไม่เป็นกลุ่มเป็นก้อนและมีความจนเยอะกว่า ก็อาจจะเสี่ยงกว่าที่จะใช้วิธีนี้
อย่างไรก็ดีในเศรษฐกิจที่เล็กๆและมีสถาบันที่อ่อนแอกว่า นโยบายที่เกี่ยวข้องกับ ISI นั้นก็อาจจะมีปลายทางที่ไม่น่าจะประสพความสำเร็จ ผู้บริโภค การแข่งขัน และเทคโนโลยีที่ประเทศกำลังพัฒนานั้นจะสามารถหาสิ่งเหล่านี้ได้ในตลาดโลกเท่านั้นและเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพาตัวเองไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม
หากประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ๆนั้นสนใจแต่ประเทศตัวเอง ประเทศอื่นๆก็จะไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่มีค่าเหล่านี้ได้ และยุคทองของการเจริญเติบโตของตลาดเกิดใหม่นั้นก็จะกลายเป็นเพียงแค่ความทรงจำลางๆเท่านั้น (เขาว่างั้น)
อ้างอิง:
https://en.wikipedia.org/wiki/Import_substitution_industrialization#:~:text=Import
%20substitution%20industrialization%20(ISI)%20is,local%20production%20of%
https://www.investopedia.com/terms/i/importsubstitutionindustrialization.asp
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.