พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Investment

If You’re So Smart, Why Aren’t You Rich? (ถ้าคุณฉลาดนัก ทำไมคุณยังไม่รวยอีกล่ะ?)

ผลการค้นคว้าใหม่บอกว่า personality (บุคลิกภาพ) นั้นส่งผลต่อความสำเร็จมากกว่า IQ.

จั่วหัวขึ้นมาแบบนี้ก็สะดุ้งนิดหน่อย ไม่แน่ใจว่าสะดุ้งเพราะคิดว่าตัวเองไม่ฉลาดเลยไม่รวย หรือสะดุ้งเพราะว่าต่อให้ฉลาดก็อาจจะไม่รวยก็ได้กันแน่ บทความนี้อ่านมาจาก Bloomberg เมื่อปี 2016 เขียนโดย Faye Flam ก็เลยอยากเอามาสรุปไอเดียให้อ่านกันต่อไป

เด็กที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตนั้นจะถูกกำหนดมาจากสติปัญญาที่มีอยู่ในตัวแต่แรกเท่าไหร่กัน? นักเศรษฐศาสตร์เจมส์ เฮคแมนกล่าวว่ามันไม่ใช่อย่างที่คนคิดเลย เขาชอบที่ถามผู้ที่มีการศึกษาสูงแต่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะนักการเมืองและผู้กำกับนโยบายเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านระดับสติปัญญาที่มีผลต่อรายได้ของคนว่าเกี่ยวข้องกันแค่ไหน ส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมมักเดาว่า ร้อยละ 25 หรือแม้แต่ 50 แต่ข้อมูลได้แสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบน้อยกว่านั้นเยอะแยะ คืออยู่ที่ร้อยละ 1 หรือ 2 เท่านั้น

ดังนั้นถ้า IQ เป็นปัจจัยที่ไม่สำคัญต่อความสำเร็จ แล้วอะไรล่ะที่เป็นสิ่งที่แบ่งแยกคนที่รายได้ต่ำกับคนที่รายได้สูง? หรือเช่นที่พูดไว้ว่า “ถ้าเธอฉลาดนักทำไมไม่รวยล่ะ?”

วิทยาศาสตร์ไม่มีคำตอบที่แน่นอนขนาดนั้น แม้ว่าเรื่องโชคก็อาจจะมีบทบาทในความสำเร็จเช่นกัน แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญก็คือบุคลิกภาพ ซึ่งตามบทความที่เฮคแมนเขียนร่วมกับผู้อื่นในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences เดือนที่แล้ว พบว่าความสำเร็จทางการเงินนั้นมีความสัมพันธ์กับคุณธรรมดี ซึ่งเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่มีความขยันหมั่นเพียร ความเพียรพยายามและมีวินัยตนเอง

เพื่อที่จะไปยังข้อสรุปนั้น เขาและเพื่อนร่วมงานได้ตรวจสอบข้อมูลจากชุดข้อมูลทั้งหมด 4 ชุดที่รวมกันประกอบด้วยคะแนน IQ ผลการทดสอบมาตรฐาน ผลเกรด และการประเมินบุคลิกภาพ จากหลายพันคนในหลายประเทศ จากประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ บางชุดข้อมูลติดตามคนตลอดทั้งชีวิตหลายสิบปี โดยติดตามไม่ใช่เพียงแค่รายได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงบันทึกอาชญากรรม ดัชนีมวลกายและความพึงพอใจในชีวิตด้วย

การศึกษานั้นพบว่าผลการเรียนและผลการทดสอบความสำเร็จเป็นตัวทำนายที่ดีกว่าคะแนน IQ ดิบๆอย่างเดียวอย่างมาก ซึ่งอาจดูน่าแปลกใจ เพราะดูเหมือนว่าทุกอย่างจะวัดเหมือนๆกันไม่ใช่เหรอ? ซึ่งก็ไม่เชิงนัก ผลการเรียนอาจจะแสดงให้เห็นถึงความฉลาดส่วนนึง แต่ไม่ใช่เพียงอย่างเดียวแต่ยังสะท้อนถึง “ทักษะที่ไม่ใช่ทักษะด้านสติปัญญา” อีกด้วย อย่างเช่นการมีความเพียรพยายาม การมีนิสัยการเรียนรู้ที่ดีและความสามารถที่จะร่วมมือกันกับผู้อื่น กล่าวคือรวมแล้วกลายเป็นคุณธรรมดี โดยในระดับน้อยลงมา จริงๆก็เป็นไปได้ว่าจะมีความเป็นจริงเกี่ยวกับผลการทดสอบเช่นเดียวกัน บุคลิกภาพนั้นมีความสำคัญสูง

เฮคแมน ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลในปี 2000 และเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์เศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนามนุษย์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก เชื่อว่าความสำเร็จไม่ใช่แค่ความสามารถทางธรรมชาติอย่างเดียวแต่ยังขึ้นอยู่ที่ทักษะที่สามารถสอนได้ด้วย การวิจัยของเขาเองแสดงให้เห็นว่าการแทรกแซงในวัยเด็กนั้นก็เป็นประโยชน์ได้ และคุณธรรมหรือปัจจัยที่กล่าวไปนั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยืดหยุ่นได้มากกว่าคะแนน IQ คุณสมบัติที่กว้างออกไปอย่าง “ความเปิดเผย” ซึ่งรวมถึงความกระตือรือร้น ก็ยังเชื่อมโยงกับคะแนนการทดสอบและผลการเรียนด้วย

แน่นอนว่าคะแนน IQ ก็ยังมีความสำคัญอยู่ คนที่มี IQ 70 ก็คงจะไม่สามารถทำอะไรได้ง่ายเท่ากับคนที่มี IQ 190 ได้ เฮคแมนบอกว่ายังมีผู้คนอีกหลายคนที่ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้เพราะขาดทักษะที่ไม่ได้วัดได้จากการทดสอบความสามารถทางปัญญา พวกเขาไม่เข้าใจวิธีการที่ควรปฏิบัติเวลาสัมภาษณ์งาน พวกเขาอาจจะมาสายหรือไม่แต่งตัวอย่างเหมาะสม หรือในที่ทำงานพวกเขาทำให้เห็นว่าพวกเขาจะไม่ทำมากกว่าสิ่งที่ต้องการในระดับน้อยที่สุด

จอห์น เอริค ฮัมฟรีส์ ผู้เป็นผู้ร่วมแต่งหนังสือบอกว่าเขาหวังว่างานวิจัยของพวกเขาจะช่วยแก้ไขความคิดซับซ้อนและบ่อยครั้งเกิดการเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสามารถ แม้ว่าการทดสอบ IQ จะถูกออกแบบขึ้นเพื่อประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา แต่ดูเหมือนว่ามันจะวัดมากกว่าแค่ความฉลาดเท่านั้น ในการศึกษาปี ค.ศ. 2011 นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย แองเจล่า ดั๊กเวิร์ท พบว่าคะแนน IQ ยังสะท้อนถึงแรงจูงใจและความพยายามของผู้ทดสอบด้วย เด็กที่ขยันหมั่นเพียรและมีแรงจูงใจจะทำงานหนักกว่าเพื่อพยายามที่จะตอบคำถามที่ยากๆมากกว่าคนที่มีความสามารถเท่ากันแต่ขี้เกียจมากกว่า

การสอนลักษณะบุคลิกภาพหรือลักษณะเด่นในโรงเรียนจะไม่ง่ายนัก อย่างนึงก็คือ มันก็ยังไม่มั่นใจนักว่าการเพิ่มลักษณะบุคลิกภาพที่มากขึ้นนั้นจะดีกว่าเสมอไป ยิ่งมี IQ ยิ่งสูงยิ่งดีแล้ว บางที การมีลักษณะของบุคลิกภาพที่มากขึ้นก็ดีเช่นกัน แต่สำหรับนักค้นคว้าเกี่ยวกับลักษณะบุลกิคภาพแล้ว การเสนอทางเลือกตรงกลางอาจจะดีที่สุดสำหรับลักษณะอื่นๆก็ได้ เช่นคุณอาจจะไม่ต้องเป็นคนเก็บตัวและขี้อายจนไม่กล้าพูดออกมาได้ แต่ก็ไม่ควรเป็นคนที่พูดมากจนไม่สามารถหุบปากและฟังผู้อื่นได้

แล้วไอ่สิ่งที่ว่าไปทั้งหมดทั้งปวงนี้มันเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์อย่างไร? “เป้าหมายสูงสุดของเราคือการปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษย์” เฮกแมนกล่าวไว้ และปัจจัยหลักในการมีความสุขของมนุษย์ก็มาจากทักษะ

การศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ในเดือนนี้ในวารสาร Nature Human Behaviour ให้ความสนใจด้านตรงกันข้ามของความสำเร็จ ก็คือความทุกข์ยาก หลังจากติดตามประชากรนิวซีแลนด์ประมาณ 1,000 คนเป็นเวลากว่า 30 ปี นักวิจัยได้สรุปว่าการทดสอบทักษะด้านภาษา ทักษะพฤติกรรมและความสามารถในการเรียนรู้ที่ทำเมื่อเด็กอายุสามขวบสามารถทำนายได้ว่าใครจะเป็นคนที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุดที่จะต้องใช้สวัสดิการรัฐ กระทำการละเมิดกฎหมาย หรือเป็นโรคเรื้อรัง

นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยดิวค์ Terrie Moffitt ผู้เขียนหลักของงานวิจัยได้กล่าวว่าเธอหวังว่าผลงานวิจัยนี้จะส่งเสริมความเห็นอกเห็นในแง่ของความเมตตา และช่วยเหลือคนได้ ซึ่งผลลัพธ์นั้นบอกว่ามันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะบางประการก่อนที่เด็กจะเข้าเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน

อ้างอิง:

If You’re So Smart, Why Aren’t You Rich? – Bloomberg

Childhood forecasting of a small segment of the population with large economic burden | Nature Human Behaviour

Leave a Reply

%d bloggers like this: