จอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) ผู้ที่มีส่วนร่วมในการคิดค้นเศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomics) นั้นค่อนข้างจะเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลกู้ยืมเงินมากๆ อย่างน้อยๆก็ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง
ความคิดตามแนว “เคนส์สมัยใหม่” นั้นมีวิวัฒนาการมาจากงานของเขาเองในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 โดยมีความเชื่อในผลประโยชน์ของการกู้ยืมน้อยลงและมีความกังวลถึงความเสี่ยงจากการกู้ยืมที่มากขึ้น
ในช่วงทศวรรษ 2010 นั้นมันก็หวนกลับมาใหม่เนื่องมาจากว่าเหมือนจะไม่มีาทงเลือกอื่นๆนัก หลายๆรัฐบาลมีการกู้ยืมเงินหนักมาก แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครเจ็บปวดมากมายจากการเป็นหนี้นัก มันจะไปได้อีกแค่ไหนกันรึ
ความคิดของเคนส์เกี่ยวกับการกู้ยืมนี้เกิดมาจากมุมมองของเขาช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ๋ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ที่เขาเขียนหนังสืออันโด่งดังชื่อว่า “The General Theory of Employment, Interest and Money” แปลแบบบ้านๆก็คือ ทฤษฏีทั่วไปเกี่ยวกับการจ้างงาน อัตราดอกเบี้ย และเงิน นั้นว่ามันเป็นวงจรอุบาทว์
วงจรอุบาทว์ยังไง ก็คือว่าช่วงเศรษฐกิจตกต่ำเนี่ยมักจะมาตอนที่จู่ๆเศรษฐกิจก็อยากจะออมเงินกันมากขึ้น ทำให้ความต้องการออมเงินนั้นนำไปสู่การใช้จ่ายที่ลดน้อยลงทำให้เกิดอัตราการว่างงานมากขึ้นและพอว่างงาน ก็ยิ่งทำให้คนอยากใช้จ่ายน้อยลงอีก เป็นวงจรอุบาทว์ไปเรื่อยๆแบบนี้ ถ้ารัฐบาลมีการกู้ยืมที่มากพอเพื่อชดเชยการลดลงของการใช้จ่ายภาคเอกชนนี้ วงจรอุบาทว์นี้ก็อาจจะหลุดพ้นได้ หรืออย่างน้อยก็ให้หยุดไปต่อแบบแย่ๆต่อไปได้
ในช่วงแรกๆสำหรับคนที่ทำตามแนวเคนส์นั้นก็จะสมมุติว่าการขาดดุลที่เกิดจากการกู้ยืมเพื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจนั้นจะเป็นเพียงชั่วคราว หลังจากกู้ยืมแทนที่จะขึ้นภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น รัฐบาลก็จะสามารถขึ้นภาษีและใช้หนี้ภายหลังได้เมื่อเศรษฐกิจนั้นดีขึ้น
อย่างไรก็ดี ก็มีคนสงสัยว่าโครงสร้างของประเทศที่เศรษฐกิจล้ำหน้าในช่วงทศวรรษ 1930 นั้นอาจจะแปลได้ว่าอุปสงค์ก็จะยังต่ำอยู่แม้ว่าเศรษฐกิจจะดีก็ตาม และการขาดดุลในครั้งนั้นก็อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องทำไปเรื่อยๆเพื่อให้เศรษฐกิจไปต่อได้ในอัตราที่ทำให้เกิดการว่างงานให้น้อยที่สุด
อย่างไรก็ดี วิถีทางทฤษฏีใหม่นั้นก็บอกว่ารัฐบาลควรพึ่งพานโยบายทางการเงินให้มากกว่าทางการคลัง เมื่อเศรษฐกิจนั้นชะลอตัว นโยบายการเงินก็ควรจะมีการผ่อนปรน เพื่อให้มีต้นทุนในการกู้เงินที่ต่ำลง เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนนั้นมีการใช้จ่ายมากขึ้น
แต่การกู้ยืมโดยรัฐบาลนั้นควรไปในลักษณะที่ยังเอาอยู่ ถ้ารัฐบาลกู้ยืมจนทำให้อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP มีอัตราที่สูงขึ้น ตลาดก็อาจจะไม่อยากให้กู้ และก็ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอยู่ดี ดังนั้นประโยชน์ของนโยบายทางการเงินนั้นต้องมีวิธีการที่ชัดเจนกว่านโยบายทางการคลังหน่อย
อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังปี 2000 มาก็เริ่มมองเห็นปัญหากับวิธีการแบบนี้ในช่วงเริ่มต้นเริ่มจะไม่มีผล นับจากช่วงปี 1980 นั้น อัตราดอกเบี้ยนั้นค่อยๆลดต่ำลงมา ในช่วงปี 2000 นั้นมันก็ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำอยู่แล้วนั้นสร้างปัญหาให้กับธนาคารกลางที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการตัดดอกเบี้ยลงอีก เนื่องจากมันไม่เหลือให้ตัดเท่าไหร่แล้ว วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกยิ่งกดดันให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกเข้าใกล้ศูนย์อีกตะหาก
รัฐบาลต่างๆพยายามทดลองนโยบายการเงินที่เปลี่ยนไปจากเดิมจากสิ้นเชิงในรูปแบบของ QE หรือ quantitative easing (เรียกบ้านๆก็คือการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินเพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยหวังว่าเงินนั้นจะพยุงหรือกระตุ้นให้เศรษฐกิจดีขึ้น) แต่อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจทั้งหลายก็ยังไม่ดีขึ้น ทำให้ดูเหมือนว่าต้องมีการคิดวิธีใหม่ๆแล้วจะระบบเคนส์นิเชี่ยนที่เคยคิดไว้ ในปี 2012 แลรี่ ซํมเมอร์ส อดีตเลขาธิการกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกาและ แบรด เดอลอง นักเศรษฐศาสตร์ ก็แนะว่าให้ลองใช้การกระตุ้นการกู้ยืมแบบเคนส์แต่ด้วยปริมาณที่มากกว่าเดิม เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ทำให้ผลที่ได้นั้นอาจะมีมากกว่าต้นทุนของการกู้ยืมเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจนั้น
ในปีถัดๆมา คุณซัมเมอร์ ก็ใช้วิธีเดียวกับเคนส์นีเชี่ยน ในช่วงปี 1930 ที่ชัดหน่อยก็คือ อัลวิน ฮันเซน โดยแนะนำว่าการกู้ยืมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นครั้งๆคราวๆไป แต่เป็นส่วนนึงของเศรษฐกิจตลอดไป ฮันเซนนั้นแย้งว่า ประชากรที่เริ่มแก่ตัวประกอบกับอัตราความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ช้าลงนั้นจะส่งผลให้อุปสงค์ในระยะยาวนั้นขาดไป คุณซัมเมอร์ก็มีการอัพเดทมุมมองที่คล้ายๆกันนี้ ส่วนนึงที่สนับสนุนไอเดียนี้ก็มาจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวที่ส่งผลการหายไปของอุปสงค์เช่นกัน
แต่ก็มีคนวิจารณ์ว่าการกู้ยืมแบบนี้นั้นจะทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น แต่หลายปีผ่านไป อัตราดอกเบี้ยก็ยังดื้อด้านต่ำอยู่ ไม่ยอมขึ้น ความคิดที่ว่ายืมเงินเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นจึงดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ หรือแม้แต่ว่าน่าสนใจขึ้นมาเลยทีเดียว อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆนั้นแปลว่าเศรษฐกิจจะสามารถเติบโตได้เร็วกว่าการที่ต้องชดใช้หนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ติดลบที่มีอยู่ในบางประเทศเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นก็แปลว่าจำนวนหนี้ที่ต้องชดใช้จะมีน้อยกว่าจำนวนเงินที่กู้ยืมมาด้วยซ้ำไป
กลุ่มคนที่สนับสนุนนโยบายทางการเงินแนวใหม่ หรือ Moden Monetary Theory (MMT) นั้นก็ถกว่ารัฐบาลควรจะกู้ให้มากที่สุดเพื่อให้มีการจ้างงานอย่างเต็มที่ในขณะที่ธนาคารกลางนั้นให้ความสนใจกับการดูแลให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำก็พอ ซึ่งเป็นการกระทำที่เศรษฐกิจดั้งเดิมจะบอกว่าทำแบบนี้มันมีแต่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเท่านั้น
ในปัจจุบันนี้ MMT ยังคงเป็นเพียงแค่เศรษฐกิจที่อยู่ในวงขอบของนักวิชาการอยู่ แต่นักการเมืองฝั่งซ้ายหลายคนก็อ้าแขนรับเลย
การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดหลักเกี่ยวกับหนี้สาธารณะนี้ช่วยอธิบายว่าทำไมเงินก้อนโตที่รัฐบาลกู้ยืมมาเพื่อต่อสู้กับโรคระบาดนี้ถึงไม่ค่อยทำให้นักเศรษฐศาสตร์กังวลนัก แต่ตอนนี้รัฐบาลก็เริ่มกล้าที่จะสร้างหนี้เพิ่มขึ้น แต่คำถามคือมันควรไปถึงจุดไหนล่ะ? หากพอจะมองหาตัวอย่างที่เกิดขึ้นก็ให้หันไปมองญี่ปุ่น ประเทศที่หนี้สาธารณะต่อ GDP สูงถึง 154% ก่อนที่จะมีโรคระบาดด้วยซ้ำไป
หากว่าญี่ปุ่นยังสามารถเป็นหนี้ถึงระดับนั้นได้แล้ว มันอาจจะดูเหมือนว่าประเทศอื่นๆที่มีหนี้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่านั้นไม่น่าจะเป็นอะไร แต่อย่าลืมว่าหากอัตราดอกเบี้ยเด้งกลับขึ้นมาจากพื้นแล้ว ประเทศที่เล็กกว่าญี่ปุ่นมากๆนั้นอาจจะเอาตัวรอดไม่ได้ก็ได้ แม้ว่ามันอาจจะดูเหมือนว่าไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตอนนี้แต่มันก็ไม่ได้แปลว่ามันจะไม่เกิดขึ้นเลย และรัฐบาลก็จำเป็นต้องจำไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่กู้ยืมมานั้นวันนึงตลาดอาจจะเปลี่ยนไปและอาจต้องเสียดอกเบี้ยที่มากขึ้นมากก็ได้ในอนาคต
เนื่องจากความเสี่ยงนี้ รัฐบาลก็ควรที่จะทำให้แน่ใจว่าการกู้ยืมเงินใหม่นั้นจะส่งผลดีในระยะยาวและมากกว่าต้นทุนสุดท้ายที่กู้ยืมมา หากเงินมันถูกมากๆที่จะยืมมามันอาจจะดูเหมือนว่าไม่เป็นไรที่จะกู้ยืม แต่อย่าลืมว่ามันมีต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นอยู่ดี ถ้าการกู้ยืมโดยภาคเอกชนส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนมากกว่าแต่หากภาครัฐจะไปแย่งกู้มาแทนก็ต้องแน่ใจว่าภาครัฐสามารถสร้างผลตอบแทนได้เท่าๆกับภาคเอกชนเช่นกัน มิฉะนั้นก็ควรจะลดปริมาณการกู้เงินลงเสีย
ความเห็นพ้องใหม่ที่ว่ารัฐบาลกู้ยืมเงินและรัฐบาลใช้จ่ายนั้นเป็นส่วนนึงของเศรษฐกิจที่มีความเสถียร และอัตราดอกเบี้ยนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำพอที่จะให้รัฐบาลสามารถจัดการกับสิ่งต่างๆด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดได้นั้นก็ส่งผลให้มีความก้าวหน้าแล้ว การกู้ยืมของรัฐบาลนั้นเป็นที่ต้องการอย่างมากเพื่อที่จะจัดการกับความฉิบหายวายป่วงที่มีอยู่ในโลกนี้หลายอย่างแล้ว แต่ความคิดใหม่นี้ก็ควรรวมอีกสองประเด็นที่ว่า อย่างแรกคือเงินที่กู้ยืมมาและทำให้เกิดการขาดดุลนั้นก็ยังต้องมีการใช้ไปอย่างมีคุณภาพอยู่ดี และอย่างที่สองรัฐบาลก็ต้องเตรียมรับกับความเป็นไปได้ที่ว่าในอนาคตอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกก็อาจจะเปลี่ยนทิศทางได้เช่นกัน เหมือนที่ในปี 2020 นี้ที่เราเห็นว่าความหายนะที่มีโอกาสที่เกิดขึ้นได้ยากอย่างโควิด 19 ก็ยังมาเยืนเล้ย
อ้างอิง:
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.