พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

เศรษฐศาสตร์มหภาค: เงินฟรีๆเต็มไปหมด

สำหรับใครที่ชอบเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ก็อาจจะชอบบทความนี้จาก The Economist ฉบับ 25 กรกฏาคม 2020 เกี่ยวกับการพิมพ์เงิน เขาว่าอย่างไรเราก็ไปอ่านบทสรุปย่อๆกัน

รัฐบาลควรระวังตกหลุมพรางเงินฟรีๆ

บางครั้งมีคนบอกว่ารัฐบาลต่างๆนั้นไม่ใช้เหตุการณ์จากวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงปี 2007-2009 ให้เป็นประโยชน์ โดยที่ไม่สามารถคิดใหม่ทำใหม่เกี่ยวกับนโยบายทางเศรษฐกิจหลังจากฝุ่นหายตลบแล้ว

แต่คงไม่มีใครคงจะพูดแบบนี้เกี่ยวกับการระเบิดของโรคโควิด 19 นี่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่ทิศทางที่ดูสิ้นหวังของรัฐบาลต่างๆที่จะพยายามออกนโยบายออกมาทั้งๆที่เมื่อสักสองสามเดือนก่อนนั้นคงไม่มีใครจินตนาการออก

การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งนี้กำลังเกิดขึ้นในวงการเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในชั่วอายุขัยคนเราจะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 1970 ที่วิธีการคิดแบบเคนนี่เชี่ยน (Keynesianism) นั้นต้องเปิดทางให้กับนโยบายการเงินแบบมิลตัน ฟรายแมนด์ (Milton Friendman) ที่เน้นนโนบายการเงินแบบเคร่ครัด และอีกครั้งในปี 1990 ที่ธนาคารกลางต่างๆได้รับอิสรภาพการบริหารจัดการโดยไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลาง และโรคระบาดนี้ก็เหมือนเป็นจุดเริ่มของยุคใหม่

สิ่งที่น่ากังวลคือการใช้ประโยชน์จากโอกาสต่างๆและการจำกัดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการแทรกแซงจากรัฐในระดับที่ใหญ่มากทั้งในเศรษฐกิจและตลาดการเงิน

ในยุคใหม่นี้มีคุณสมบัติอยู่สี่อย่าง ที่มีการให้คำจำกัดความแล้ว คุณสมบัติแรกคือการที่ทุกวันนี้รัฐบาลมีการกู้เงินสูงมากจนปากค้าง และยังดูเหมือนว่าจะไม่มีขอบเขตด้วยที่จะมีเพิ่มตามมาอีก

IMF หรือองค์กรระหว่างประเทศที่ไทยเราเคยไปยืมเงินในอดีตนี่แหละ นั้นบอกว่าประเทศที่ร่ำรวยจะมีการกู้ยืมเงินประมาณ 17% ของ GDP รวมในปีนี้เพื่อจะไว้ใช้จ่ายและลดภาษีซึ่งยอดรวมอยู่ที่ประมาณ 4.2 ล้านล้านเหรียญเลยทีเดียวเพื่อจะพยายามให้เศรษฐกิจนั้นไปต่อให้ได้ และพวกเขาก็ยังไม่เสร็จด้วย

คุณสมบัติที่สองคือการพิมพ์เงินของธนาคารกลางต่างๆ โดยในอเมริกา อังกฤษ ประเทศโซนยูโร และ ญี่ปุ่น นั้นมีการพิมพ์เงินสำรองออกมาแล้วรวมกันประมาณ 3.7 ล้านล้านเหรียญแล้วในปี 2020 ซึ่งเงินส่วนใหญ่นี้ถูกนำไปใช้ซื้อตราสารหนี้ของรัฐบาล นั่นแปลเป็นนัยๆได้ว่าธนาคารกลางนั่นแหละเป็นคนคอยสนับสนุนทางการเงินกับโปรแกรมต่างๆที่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ ผลลัพธ์ก็คือ อัตราดอกเบี้ยระยะยาวจะอยู่ในระดับต่ำต่อไปแม้ว่าหนี้สาธารณะจะพุ่งขึ้นมากก็ตาม

บทบาทที่เพิ่มขึ้นของธนาคารกลางในฐานะผู้จัดจำแนกทุนนี้ก็เป็นคุณลักษณะที่สามของยุคใหม่นี้ ธนาคารกลางในอเมริการ่วมกับการคลังได้เข้าไปป้วนเปี้ยนอยู่ในตลาดการเงินแล้ว โดยเข้าซื้อพันธบัตรของบริษัท AT&T Apple และแม้แต่ Coca-Cola และเป็นผู้ให้ยืมเงินโดยตรงกับทุนคนตั้งแต่ตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรต่างๆไปจนถึงโรงพยาบาลที่ไม่หวังผลกำไร

ทั้งธนาคารกลางและการคลังนั้นเป็นเสมือนตัวค้ำย้ำประมาณ 11% ของหนี้ทางธุรกิจของทั้งอเมริกาเลยทีเดียว และหลายๆประเทศที่ร่ำรวยทั้งรัฐบาลและธนาคารกลางก็กำลังดำเนินรอยตามเช่นกัน

คุณสมบัติสุดท้ายซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดก็คือ อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ ในเมื่อไม่มีแรงกดดันทางด้านราคา ก็แสดงว่ายังไม่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องเบรคการเพิ่มขึ้นของงบดุลของธนาคารกลาง (การที่ธนาคารกลางเข้าซื้อทรัพย์สินก็คือทำให้งบดุลของธนาคารกลางสูงขึ้น) หรือขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น

ดังนั้นแล้วอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำก็เป็นเหตุผลที่ยังไม่ต้องมีความกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะมากนักก็เนื่องมาจากนโยบายทางการเงินที่ช่วยผ่อนปรนด้วยเช่นกัน ซึ่งด้วยเหตุผลเหล่านี้ก็ทำให้ดูเหมือนว่าต้นทุนของการกู้เงินนั้นต่ำมากจนเหมือนได้เงินมาฟรีๆนั่นเอง

แต่อย่าพึ่งหลอกตัวเองไปใยว่าบทบาทของรัฐจะกลับไปสู่ปกติเหมือนสั่งได้หลังจากที่โรคระบาดนั้นผ่านไปและอัตราการว่างงานนั้นน้อยลง แน่นอนว่ารัฐบาลและธนาคารกลางอาจจะลดการใช้จ่ายและลดเงินช่วยเหลือต่างๆ แต่ในเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่นี้จะสะท้อนถึงแนวโน้มระยะยาวที่สั่งสมมา แม้แต่ช่วงก่อนโรคระบาดนั้น อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยก็ค่อนข้างซึมๆแม้จะมีงานเยอะก็ตาม

ตลาดพันธบัตรในวันนี้ยังไม่ส่งสัญญาณใดๆต่อเงินเฟ้อในระยะยาว ถ้ามันออกมาถูกต้อง การดำเนินนโยบายแบบขาดดุลและการพิมพ์เงินนี้อาจจะกลายเป็นมาตราฐานใหม่สำหรับเป็นเครื่องมือการกำหนดนโยบายในอีกสิบๆปีข้างหน้าเลยทีเดียว

การที่ธนาคารกลางมีการเข้าไปป้วนเปี้ยนในตลาดการเงินมากขึ้นก็ส่วนนึงสะท้อนออกมาได้อาจจะเป็นเพราะว่าธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆที่ไม่ใช่ธนาคารไม่ค่อยมีวิวัฒนาการใหม่ในตลาดทุนนั้นเกิดขึ้น ในอดีตนั้นธนาคารกลางจะเป็นผู้ให้กู้คนสุดท้ายเท่านั้น แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ธนาคารกลางทำตัวเป็นผู้ให้กู้โดยตรงไปเลย

แต่ทว่ายุคใหม่ที่ว่านี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงอะไรเลย ถ้าหากว่าวันนึงเงินเฟ้อมันพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดและไม่ทันคาดคิด หนี้ต่างๆที่สร้างกันไปนี่กระเทือนแน่นอน ธนาคารกลางต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยนโยบายและก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมากมากด้วยจากเงินสำรองใหม่ที่พิมพ์ออกมาซื้อพันธบัตรไว้ และแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำ เครื่องจักรใหม่นี้ก็ค่อนข้างจะเปราะบางต่อการโจมตีของนักล้อบบี้ สหภาพ และพวกไม่ประสงค์ดีทั้งหลาย

ทุกๆครั้งที่เศรษฐศาสตร์เข้าสู่ยุคใหม่ก็จะพบกับความท้าทายใหม่ๆ หลังจากปี 1930 หน้าที่ก็เพียงเพื่อป้องกันเศรษฐกิจตกต่ำ ในช่วงปี 1970 และช่วงต้นปี 1980 หน้าที่ก็เพียงลดหรือทำให้อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานที่สูงนั้นหมดไป

มาในวันนี้ หน้าที่ของนักนโยบายก็เพื่อจะสร้างโครงสร้างที่สามารถบริหารจัดการวงจรธุรกิจและวิกฤตเศรษฐกิจโดยที่ไม่ต้องให้ฝั่งการเมืองนั้นเข้าไปครอบงำเศรษฐกิจได้ อย่างที่ The Economist ได้อธิบายในสัปดาห์นี้ว่ามันอาจจะต้องให้อำนาจกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆแทน หรือปรับปรุงโครงสร้างระบบการเงินใหม่เพื่อให้ธนาคารกลางสามารถใช้นโยบายการเงินที่ปรับอัตราดอกเบี้ยให้ติดลบมากๆได้ หรือใช้ประโยชน์จากระบบธนาคารแบบเดิมๆไปสู่ยุคเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆหรือการทำธุรกรรมแบบดิจิตอลแทน แม้ว่าจะดูว่ามีเดิมพันสูง แต่ความผิดพลาดในยุคเงินฟรีๆแบบนี้สุดท้ายแล้วก็อาจจะมีราคาที่สูงมากก็ได้

อ้างอิง:

https://www.economist.com/leaders/2020/07/23/governments-must-beware-the-lure-of-free-money

Leave a Reply