พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Finance

วิกฤตการเงิน และ การลดขนาดงบดุล (Financial Crisis and Deleveraging)

http://inform-invest.blogspot.com/2014/04/2522.html

http://inform-invest.blogspot.com/2014/04/2522.html

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมเวลาสามทุ่มกว่าๆที่ผ่านมาก็เป็นช่วงเวลาที่คนไทยเรามีความรู้สึกที่ดีกันถ้วนหน้ากันอีกจากการค้นพบนักฟุตบอลทีมหมูป่า(Wild Boar)แห่งแม่สายจังหวัดเชียงรายที่หายตัวไปและติดอยู่ในถ้ำหลวงถึง10 วัน ถ้าจำไม่ผิด เราน่าจะไม่ได้เห็นความสุขความอิ่มเอมใจของคนไทยร่วมกันในลักษณะเช่นนี้กันมานาน การได้เห็นความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งในและนอกประเทศนั้นนับว่าเป็นลักษณะที่แข็งแกร่งของคนไทยจริงๆครับเวลามีเหตุการณ์แบบนี้แต่ตอนนี้ถึงแม้ว่าจะพบแล้วก็ยังดูว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะนำพาแต่ละคนออกมาได้เมื่อไหร่ ขอให้ทุกๆฝ่ายสู้กันต่อไปครับ

พอมีเหตุการณ์สะเทือนใจแบบนี้ก็ทำให้นึกถึงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในโลกของการเงินที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงปี2008 จากจุดเริ่มที่อเมริกาและขยายไปทั่วโลก นี่เวลาก็ล่วงเลยมาถึง 10 ปีแล้วก็ทำให้น่าสงสัยว่าวิกฤตครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่หรือแม้แต่จะเกิดขึ้นมั้ย เนื่องจากว่าในอดีตนั้นปกติแล้วช่วงระยะห่างระหว่างวิกฤตการเงินแต่ละครั้งจะมีระยะห่างประมาณ10 ปีย้อนไปสามครั้งหลังในปี1987 ที่เกิด Black Monday ดัชนีดาวโจนส์ร่วง22.6% ปี1997 ที่เกิดAsian Financial Crisis ที่บางคนก็เรียกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งที่อ้างว่าเกิดจากวิกฤตค่าเงินบาทของไทยเราเอง และปี 2008 ที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ตามที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น

แต่เดี๋ยวก่อน แล้ววิกฤตการเงิน (financial crisis) มันคืออะไรล่ะ วิกฤตการเงินก็คือการเกิดการรบกวนอย่างรุนแรงต่อตลาดการเงิน (disturbance shock) ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ร่วงลงอย่างรวดเร็ว การหดตัวของเครดิตอย่างรุนแรง บริษัทขาดสภาพคล่อง ทำให้บริษัทเกิดการล้มละลายโดยเฉพาะบริษัทที่มีหนี้สูงๆเป็นจำนวนมากและขยายตัวไปทั่วตลาดการเงินเป็นทอดๆไป หรือสั้นๆก็คือการที่บริษัทสะสมหนี้มานาน รวมทั้งหนี้ครัวเรือนหรือหนี้สถาบันการเงินก็มีสูงมาก

เมื่อเกิดวิกฤตแล้วอัตราส่วนหนี้ต่อรายได้ (debt-to-GDP) ก็มักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากธนาคารกลางของแต่ละประเทศก็พยายามที่ออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ (stimulus package) เพื่อที่จะเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน เช่นการซื้อทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น (quantitative easing) การช่วยเหลือ (bailout) ด้วยการปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน รัฐบาลก็พยายามเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อทดแทนภาคเอกชนที่พยายามลดค่าใช้จ่าย เพิ่มมาตราการรัดเข็มขัด และพยายามใช้หนี้ให้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้อัตราหนี้ต่อรายได้สูงขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อต่ออายุเครดิตให้กับระบบการเงินที่หดตัวและเพื่อให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อทำธุรกิจต่อไปให้ได้นานที่สุด

อย่างไรก็ดีเมื่อธนาคารกลางมีการซื้อสินทรัพย์เพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลให้งบดุล (balance sheet) ของธนาคารกลางเองก็บวมขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน เมื่ออะไรที่มันบวม หากยังทำต่อไปเรื่อยๆมันก็มีโอกาสที่จะแตก ดังนั้นแล้วเมื่อขนาดของงบดุลมีขนาดใหญ่จนถึงระดับนึง และเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นหรือทรงตัวได้ ก็ต้องมีการลดขนาดของงบดุลลงด้วยการทำ ‘deleverage’เพื่อลดความเสี่ยงลง

การทำ deleverage ก็คือการลดจำนวนลงของสินทรัพย์ทั้งในภาคเอกชนและภาคสาธารณะอย่างพร้อมๆกันเพื่อลดอัตราส่วนหนี้ต่อรายได้ของเศรษฐกิจ ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เวลา 6 – 7 ปี และมักจะเกิดขึ้นหลังจากการเกิดวิกฤตการเงินประมาณ 2-3 ปี

https://tradingeconomics.com/thailand/households-debt-to-gdp

หนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทยในช่วง10 ปีที่ผ่านมา

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644035

หากเราเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก https://www.gfmag.com/global-data/economic-data/public-debt-percentage-gdp?page=3 จะเห็นได้ว่าแทบจะทุกประเทศนั้นมีอัตราส่วนหนี้ที่สูงขึ้นทำให้โลกวันนี้เต็มเป็นด้วยหนี้มากกว่าสิบปีที่แล้วมาก

แล้วหนี้เยอะมันผิดตรงไหนล่ะ ในเมื่อเจ้าหนี้ก็คือประชาชนของประเทศหนิ

ก็เมื่อหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าผลผลิตของประเทศก็ยิ่งมีแนวโน้มที่รัฐบาลจะเก็บภาษีเพิ่มขึ้นหนะสิ และเมื่อถึงเวลาต้องใช้หนี้ในแต่ละช่วงก็จะเป็นโอกาสให้นักการเมืองนั้นหาช่องทางที่จะให้ตัวเองได้รับการเลือกตั้งด้วยมาตราการต่างๆนานา หากทำได้ใช้หนี้ได้ก็จะรอดไปพักๆแต่ละช่วง แต่ถ้าทำไม่ได้ก็จะมีวิกฤตตามมาแทน การแก้ปัญหาหนี้ระยะยาวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ได้แก้ไขได้ภายในระยะเวลาแค่ 4 ปี ต้องมีแบบแผนและการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่านั้น

 

ก็จะเป็นคำถามต่อไปที่หลายคนมองหาคำตอบอยู่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่กับเศรษฐกิจโลกเรา (และประเทศเรา)ในเร็วๆนี้(มั้ย)

 

 

 

Blenlit

Hakwamroo.com

Leave a Reply