การหดตัวลงของจำนวนประชากรทั่วโลกส่งผลให้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นช้าลง
กาฬโรค (bubonic plague) นั้นคร่าชีวิตประชากรชาวยุโรปไประหว่าง หนึ่งในสามถึงหนึ่งในสองของประชากรทั้งหมดตอนนี้โรคนี้เกิดการระบาดในศตวรรษที่ 14
ในขณะโควิด 19 ซึ่งยังพอมีเมตตาอยู่บ้างยังไปไม่ถึงขั้นนั้น แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบทางโครงสร้างประชากรนั้นน่าจะมีผลมากกว่าเกือบ 3 ล้านชีวิตที่สูญเสียไปจนถึงปัจจุบันนี้ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรน่านี้เนื่องจากการลดลงของทารกทั่วโลก
ตัวอย่างเช่น อัตราการเกิดนั้นลงลงประมาณ 15% ในประเทศจีนในปี 2020 ในขณะที่ในอเมริกานั้นบันทึกไว้ว่าลดลง 15% จากอัตราการเกิดรายเดือนระหว่างกุมภาพันธ์และพฤศจิกายนปีที่แล้ว
จากผลกระทบเหล่านี้ โรคระบาดนี้อาจจะทำให้มีการคาดการณ์ถึงจำนวนประชากรที่จะขึ้นสู่จุดสูงสุดทั่วโลกว่าจะมาเร็วขึ้นเป็นทศวรรษก็คือช่วงทศวรรษที่ 2050 การลดลงของประชากรทั่วโลกในตอนนี้เหมือนจะเป็นที่น่ายินดีเนื่องจากความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ แต่ประชากรที่น้อยลงนั่นก็แปลว่าจะมีความคิดใหม่ๆน้อยลงไปด้วยเช่นกัน ส่งผลให้อนาคตที่กำลังจะมาถึงนั้นค่อนข้างจะแตกต่างกับอนาคตที่เหล่าผู้มองโลกในแง่ดีนั้นเคยจินตนาการไว้
มนุษยชาตินั้นเข้าสู่ระดับ 1 พันล้านคนเมื่อศตวรรษที่ 19 แต่หลังจากนั้นก็มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว พันล้านที่สองนั้นก็มาถึงในช่วงทศวรรษที่ 1920 และอีกเกือบ 6 พันล้านก็ตามมาในช่วงแค่ร้อยปีหลังจากนั้นมา
เราต้องใช้คนกี่คนกันเพื่อที่จะคิดค้นหลอดไฟ?
บริคเกอร์ และ อิบบิตซัน (นักข่าวชาวแคนาดาสองคนเขียนไว้ในหนังสือ “Empty Plant” ที่ตีพิมพ์ในปี 2019) ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบด้านบวกที่อาจจะเกิดขึ้นจากการลดลงของประชากรโลกไว้เช่น การลดความกดดันลงของทรัพยากรที่หายาก การลดลงของการทำลายสภาพแวดล้อม การที่ผู้หญิงนั้นมีโอกาสมีชีวิตที่อิสระมากขึ้น แม้ว่าการจะมีการติดขัดทางเศรษฐกิจก็ตาม เช่น อาจจะขาดแรงงานที่อยู่ในธุรกิจที่ดูแลคนอื่น หรือ ปัญหาเกี่ยวกับหนีของรัฐบาลที่อาจจะไม่ยั่งยืน
ประวัติศาสตร์นั้นก็เคยบอกไว้ว่าการลดลงของประชากรนั้นอาจจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในบางอย่างบ้าง อย่างเช่น ในช่วงศตวรรษที่ 14 ที่มีโรค Black Death หรือกาฬโรคที่ว่านั้น การขาดแคลนของแรงงานที่มีต่อจำนวนที่ดินทำกินและทรัพยกรนั้นก็นำไปสู่แรงงานค่าจ้างที่สูงขึ้นและทำให้เหล่าผู้ใช้แรงงานนั้นก็มีอิสรภาพที่มากขึ้นด้วย
จากกราฟด้านบนจะเห็นว่าแนวโน้มการลดลงของประชากรนั้นเกิดขึ้นในประเทศที่ร่ำรวยและประเทศอื่นๆทั่วโลกด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศที่ร่ำรวยอย่าง สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเยอรมันนั้นจะเห็นว่ามีอัตราการเกิดของประชากรที่ต่ำกว่า replacement rate หรืออัตราการเกิดที่จะทำให้ประชากรไม่ลดลงที่เด็กเกิดใหม่ 2.1 คนต่อผู้หญิง 1 คนด้วยซ้ำไป
ชาร์ลส โจนส์ นักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดนั้นแย้งว่าในระยะยาวนั้น อะไรก็ตามที่ว่าเป็นบวกจากการหดตัวลงของประชากรนั้นก็จะถูกลบล้างด้วยการลดลงของขีดความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ ถ้าความคิดใหม่ๆนั้นเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตและในเมื่อแหล่งกำเนิดของความคิดใหม่ๆนั้นมาจากประชากร ดังนั้นแล้วโชคชะตาของเผ่าพันธุ์เราก็ขึ้นอยู่กับแนวโน้มประชากรในอนาคตเป็นสำคัญ
การขาดความคิดใหม่ๆนั้น การเจริญเติบโตก็จะหยุดชะงักลงในที่สุด การเพิ่มขึ้นของแรงงานคนหรือแรงงานทุนหรือทรัพยากร (เช่นเครื่องจักรหรืออะไรเทือกนั้น) เข้าไปในเศรษฐกิจอาจจะกระตุ้นให้เกิดรายได้แต่ก็ด้วยอัตราที่ลดลง
การขาดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้น แร่ต่างๆอาจจะขุดขึ้นมาได้ยากขึ้นและก็มีต้นทุนที่สูงขึ้น และมันก็จะมีงานที่มีค่าลดน้อยลงสำหรับการเพิ่มขึ้นของแรงงานหรือแม้แต่หุ่นยนต์ แต่ความคิดใหม่ๆต่างหากจะทำให้เศรษฐกิจนั้นสามารถทำได้มากขึ้นแต่ใช้ทรัพยากรที่น้อยลงหรือสร้างงานใหม่ๆที่มีค่าเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากแรงงานทุนและแรงงานคนแทน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ผ่านมาจึงทำให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างคงที่ในแง่ของรายได้ต่อคนที่แท้จริงในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมาในช่วงที่ประชากรทั่วโลกนั้นเกิดขึ้นอย่างพุ่งพรวด
แต่แม้แต่ความคิดใหม่ๆนั้นก็ต้องได้รับการผลิตขึ้นมาเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจต่างๆสามารถเพิ่มความคิดใหม่ๆเข้ามาด้วยการปรับเปลี่ยนการใช้ทรัพยากรบุคคลด้วยการลงทุนในการศึกษาให้มากขึ้นและพยายามสนับสนุนให้คนทำงานในฝั่งวิจัยค้นคว้ามากกว่าการผลิต
ในขณะที่ทางออกเหล่านี้อาจจะดูเหมือนว่าเพียงพอที่จะสร้างความรู้ใหม่ๆในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่คุณโจนส์ก็บอกว่า แม้แต่ความรู้หรือความคิดใหม่ๆเหล่านี้ก็หนีไม่พ้นการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ (เช่น อาจจะมีคนมีส่วนร่วมในการวิจัยค้นคว้ามาขึ้นแต่ประสิทธิผลที่ออกมาจากการเพิ่มนักวิจัยเข้าไปก็อาจจะลดลงอยู่ดี)
ดังนั้นแล้วการลดลงของจำนวนของสมองก็อาจจะไปยับยั้งนวัตกรรมได้รวมไปถึงโอกาสที่จะมีการเพิ่มขึ้นของการเจริญเติบโตทางรายได้ด้วยเช่นกัน จากโมเดลอย่างง่าย คุณโจนส์นั้นแนะนำว่าโลกอาจจะพบกับผลลัพธ์สองทางในอนาคต ก็คือ ถ้าอัตราการเกิดนั้นคงที่ที่ระดับที่สูงเพียงพอ ก็จะไปในลักษณะที่ความรู้ และรายได้ของประชากรก็จะเพิ่มขึ้นหมด แต่ถ้าการลดลงของประชากรนั้นไปบดบังการเพิ่มขึ้นของความคิดใหม่ๆซึ่งก็จะนำไปสู่โลกที่ว่างเปล่าได้ ซึ่งก็จะทำให้มาตราฐานการครองชีพนั้นคงที่ในขณะที่จำนวนประชากรนั้นร่อยหรอลง
โมเดลต่างๆอย่างเช่นของคุณโจนส์นั้นดูไม่น่าสนใจเท่ากับการอธิบายว่าเศรษฐกิจนั้นทำงานอย่างไรเท่ากับการแสดงให้เห็นว่าปัจจัยแต่ละอย่างนั้นจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างไร
ตัวอย่างเช่น มันก็อาจจะเป็นได้ว่า ความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์นั้นอาจจะเพิ่มประสิทธิผลในการค้นคว้า หรือแม้แต่ส่งผลให้ระบบอัติโนมัติในรูปแบบนั้นต่างๆเกิดขึ้นกับการสร้างความคิดใหม่ๆก็เป็นได้ ซึ่งก็ส่งผลให้ลดข้อจำกัดตามที่เขาบ่งชี้ไว้
ในขณะเดียวกัน ท่าทางจากงานของเขาก็อาจจะพูดถึงการวางเฉยน้อยไปหน่อย เศรษฐกิจที่ร่ำรวยอาจจะกังวลน้อยไปหน่อยก็ได้ถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักวิจัยค้นคว้าที่จำเป็นต่อการสร้างการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของพลังการคำนวณ ซึ่งมาจากสมมุติฐานที่เบี่ยงเบนไปว่าจะมีคนใหม่มาสวมชุมแลปโค้ทแทนเสมอ
พวกเขาอาจจะให้ค่าขีดความสามารถของมนุษย์น้อยไปในภาพรวมก็เป็นได้ ทำให้พลาดที่จะให้การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ หรือโครงการช่วยเหลือทางสังคมที่จะช่วยให้ครอบครัวนั้นมีลูกอย่างสบาย ให้ความสำคัญสิ่งเหล่านี้พอๆกับทรัพยากรที่สำคัญด้านอื่นๆเป็นต้น
ที่แปลกที่สุดคือ ในสายตาของชาวโลกในอนาคตของโลกที่ว่างเปล่านี้ ก็คือรัฐบาลที่ร่ำรวยที่มองถึงความไม่สงบในประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ประเทศที่พัฒนาแล้วกลับไม่ลงทุนอย่างมากมายในพรสวรรค์ของโลกที่จนกว่าที่มีอยู่จริงก็อาจจะดูว่าโง่เขลาเหมือนกัน
อ้างอิง:
https://www.economist.com/finance-and-economics/2021/03/27/the-economics-of-falling-populations
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.