ที่ผ่านมามีการให้ความสำคัญกับคำว่า ‘equilibrium’ หรือ ‘ดุลยภาพ’ มากไปแล้ว
มันไม่ใช่ครั้งแรกในศตวรรษนี้ที่เศรษฐกิจทั่วโลกนั้นได้คืนชีพกลับมาจากวิกฤตต่างๆ ไอ่วิถีชีวิตใหม่ที่ว่านั้นมันก็จะแตกต่างจากอันเก่า โรคระบาดนั้นส่งผลให้ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรที่ต่างออกไป ทำลายบริษัท และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญ ก็คือเศรษฐกิจได้มีการวิวัฒนาการไปแล้วนั่นเอง
แต่ทว่าโมเดลทางเศรษฐศาสตร์นั้นไม่ได้มีการปฏิบัติกับระบบเศรษฐกิจเหมือนกับที่มันกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ดันมาอธิบายในมุมของดุลยภาพ (ซึ่งก็คือสถานะที่ราคานั้นเป็นจุดสมดุลย์ระหว่างอุปสงค์และอุปทาน หรือเส้นทางของเศรษฐกิจนั้นจะกลับไปสู่จุดที่มีเสถียรภาพเมื่อมีอะไรมากระทบต่อเศรษฐกิจยามสงบ แม้ว่ากลยุทธ์เหล่านั้นบางครั้งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ แต่ทว่าเศรษฐศาสตร์นั้นก็ค่อนข้างใช้ไม่ได้เท่าไหร่กับการเพิกเฉยต่อวิวัฒนาการของธรรมชาติของเศรษฐกิจ
วิวัฒนาการทางเศรษฐศาสตร์นั้นพยายามอธิบายถึงเหตุการณ์ในโลกแห่งความจริงว่าเป็นผลลัพธุ์มาจากขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง คอนเซปของมันนั้นค่อนข้างจะเป็นไปในแง่อะนาล็อคในสายของการวิวัฒนาการทางชีวภาพ แต่นักเศรษฐศาสตร์แห่งการวิวัฒนาการนั้นไม่ได้พยายามที่จะจับคู่ทฤษฏีทางชีวภาพเข้ากับทฤษฏีทางเศรษฐ์ศาสตร์
วิธีการทางการวิวัฒนาการนั้นรับรู้ว่าอดีตนั้นบอกถึงปัจจุบัน ก็คือทางเลือกทางเศรษฐศาสตร์นั้นเกิดอยู่ในขอบเขตของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และบริบทของสถาบันต่างๆ ลักษณะนิสัยของอาชีพทางเศรษฐศาสตร์ในวันนี้สามารถเข้าใจได้เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์ในบริบทของตัวเองเท่านั้น ช่วงทศวรรษที่ 19 สาขาอาชีพที่ได้กลายมาเป็นเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นผลของวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ที่มาจากหลายๆแง่มุม นักคิดจากพื้นเพที่หลากหลายได้พยายามเสนอทฤษฏีที่สามารถอธิบายกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างดีที่สุด ในขณะที่นักปฏิบัตินั้นมองเห็นจุดประสงค์ของการศึกษาเป็นเพียงการต่อยอดมาจากวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
จริงๆแล้วแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์สังคมนั้นบ่งบอกถึงมุมมองของนักธรรมชาติอย่าง ชาร์ล ดาวิน หรืออย่างโทมัส มัลธุส ผู้ซึ่งอธิบายว่าการเจริญเติบโตของประชากรนั้นจะนำพาไปสู่การแข่งขันทางด้านทรัพยากรอย่างเอาเป็นเอาตาย ซึ่งก็ส่งอิทธิพลต่อ ดาวิน ซึ่งเขาวางโครงไว้ว่าการเลือกโดยธรรมชาตินั้นจะนำไปสู่การเกิดใหม่ของสายพันธุ์อื่น
ในขณะที่ อัลเฟรด มาแชล ผู้ที่เป็นบุคคลที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้กำหนดบทเรียนทางด้านคณิตศาสตร์ทางเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ ได้วิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจโดยใช้สมการจากระบบที่สามารถแก้ปัญหาได้เพื่อ ‘ดุลยภาพ’ ซึ่งเขาก็ได้ทำมันขึ้นมาจากความจำเป็นอย่างเหมาะสม
เมื่อช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 20 ธอร์สเซ่น เวเบลน นั้นบ่นว่านักเศรษฐศาสตร์อยากจะปฏิบัติกับปัจเจคชนเหมือนกับวัตถุที่ไร้สติ เขากลับเชื่อว่าทางเลือกของคนนั้นมาจากอารมณ์ที่ซับซ้อน รวมไปถึงประวัติศาสตร์และจารีตประเพณีจากสังคมที่เขาอยู่ตะหาก โจเซฟ ชุมปีเตอร์ อาจจะเป็นผู้ที่โด่งดังที่สุดในแง่ของมุมมองวิวัฒนาการทั่วโลก เป็นมุมมองที่มาจากการสังเกตจากกิจกรรมของผู้ประกอบการ เขาอธิบายถึงการทำลายอย่างสร้างสรรค์ว่าเป็นขั้นตอนของการกลายพันธุ์ของอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีการปฏิวัติโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภายในอย่างไม่หยุดหย่อน
ในช่วงหลังสงครามในตะวันตก วิธีการทางนีโอคลาสสิกที่สร้างขึ้นจากโมเดลทางด้านดุลยภาพนั้นได้รับชัยชนะ โมเดลเหล่านั้นก็ได้ใช้ประโยชน์จากการคำนวณทางคณิตศาสตร์อันสูงส่งและมีชื่อเสียงจากสาขาวิชาอย่างฟิสิกส์ และก็พยายามทำการพยากรณ์ตามที่รัฐบาลอยากจะได้
มิลตัน ฟรายด์แมนด์ นั้นแย้งว่ามันไม่ใช่สาระว่าโมเดลนั้นจะตั้งสมมุติฐานที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนและสถาบัน หากในภาพรวมของเศรษฐกิจแล้วนั้นถูกต้องตามที่สมมุติว่าแต่ละปัจเจกชนตัดสินใจอย่างมีเหตุผลแล้ว และโมเดลที่ออกมาให้ผลการทำนายที่ถูกต้อง นั่นก็เพียงพอแล้ว
แต่เนื่องมาจากว่าบ่อยครั้งที่ผลทำนายนั้นไม่ค่อยถูกต้อง วิธีการที่มีวิวัฒนาการมันก้อเลยถอยหลังกลับไปที่อาชีพนั้นๆ หนึ่งในการคิดค้นที่สำคัญเกิดขึ้นในปี 1982 เมื่อ ริชาร์ด เนลสัน ตอนนี้อยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ ซิดนีย์ วินเทอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้ตีพิมพ์ “An Evolutionary Theory of Economic Change” ทำนองว่าวิวัฒนาการของทฤษฤีแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ โมเดลดั้งเดิมอย่างนีโอคลาสสิคเกี่ยวกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นไม่สามารถที่จะจับประเด็นจากแรงผลักดันอย่างการทำลายอย่างสร้างสรรค์ดังเช่นของผู้ที่ติดตาม ชุมปีเตอร์ได้ ซึ่งพวกเขาคิดว่าเป็นบทบาทสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลียี
ทฤษฏีต่างๆนั้นมักที่จะทึกทักเอาเอง ตัวอย่างเช่น ทึกทักว่าผู้บริหารนั้นรู้และจะนำกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อกำไรสูงสุดมาใช้โดยทันที แต่ในความเป็นจริงนั้น การปฏิบัตินั้นจะมีความแตกต่างออกไปตามแต่ละอุตสาหกรรม โดยสะท้อนถึงความเชื่อที่แตกต่าง ลักษณะนิสัยและความพิเศษเฉพาะวัฒนธรรมที่ดื้อดึงในแต่ละที่ และวิธีการเหล่านั้นก็จะมีการแข่งขันกันโดยทำสิ่งที่แพร่หลายไปยังเศรษฐกิจในวงกว้าง จนกระทั่งมีการกลายพันธ์ทางอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาเปลี่ยนการแข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกครั้งหนึ่ง
เนลสัน และ วินเทอร์นั้นเป็นแรงบันดาลใจให้กับวรรณกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรและการแข่งขันระหว่างอุตสาหกรรมต่างๆ ข้อมูลที่ได้จากการทดลองจากส่วนของเศรษฐกิจอื่นๆนั้นดูเหมือนว่าจะสะท้อนอิทธิพลจากวิวัฒนาการมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ การศึกษาทางด้านนวัตกรรมที่มีอิทธิพลนั้นให้ความสำคัญกับบางสิ่งบางอย่างอย่างเช่นวัยเด็กของนักประดิษฐ์นักคิดค้นต่างๆหรือความเชื่อที่ส่งผลมาจากผู้มีความรู้ทางวิชาการ หรือการสร้างผลลัพธ์อย่างสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล (นอกเหนือไปจากปัจจัยที่มีผลก่อนหน้านี้ที่ได้รับความสนใจเช่น ระดับการศึกษษและแรงจูงใจที่เป็นตัวเงินที่ทำให้คนอยากจะคิดค้นอะไรขึ้นมา)
บางทีแล้วสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดคือผลงานที่ออกมาไม่นานนี้เกี่ยวกับบทบาทของวัฒนธรรมในการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ การยอมรับว่าวัฒนธรรมจะส่งผลต่อพฤติกรรมของคน ก็คือจะยอมรับได้ว่าคนเรานั้นไม่ใช่เครื่องคิดเลขเกี่ยวกับอรรถประโยชน์เท่านั้น แต่เป็นสัตว์สังคมที่พึ่งพาจารีตประเพณีและสิ่งที่ทำกันในสังคมที่คนเหล่านั้นอยู่เมื่อต้องการที่จะตัดสินใจอะไรก็ตาม
แต่วัฒนธรรมนั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆและก็ส่งผ่านจากรุ่นต่อรุ่นหลายๆรุ่น ซึ่งก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้นอกเหนือจากโครงร่างของวิวัฒนาการที่มีอยู่ วิวัฒนาการทางเศรษฐศาสตร์นั้นอาจจะก้าวขาเข้าไปแล้วแต่มันก็ยากที่จะผลักออกไป
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี ทฤษฏีที่สร้างมาจากสมมุติฐานที่ไม่เป็นความจริงเท่าไหร่นั้นก็ไม่ค่อยจุดประกายอะไรเท่าไหร่อย่างที่นักเศรษฐศาสตร์เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้วจะคาดหวังไว้ก็ตาม การพยายามเข้าใจโลกอย่างที่มันเป็นนั้นสามารถก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและบางทีท้ายที่สุดแล้วก็อาจจะส่งผลให้การพยากรณ์เศรษฐกิจนั้นมีความแม่นยำมากขึ้น
นักเศรษฐศาสตร์ยังคงทำงานอยู่กับโมเดลทางด้านดุลยภาพอยู่ด้วยเหตุที่ว่าเคยชิน ก็ควรที่จะพิจารณาเช่นกันถึงโอกาสที่จะเจอวิธีการใหม่ๆแต่สำหรับปัญหาแบบเก่าๆนั่นเอง
อ้างอิง:
https://www.economist.com/finance-and-economics/2021/06/24/economics-needs-to-evolve
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.