พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

Dear Undercover Economist (จดหมายถึงนักเศรษฐศาสตร์นอกเครื่องแบบ)

https://sg.carousell.com/p/dear-undercover-economist-tim-harford-10994324/

เคยมั้ยครับที่เรามีอาการเสียน้อยเสียยากแต่เสียมากเสียง่ายกัน วันนี้ผมก็มีอาการนั้นเช่นกัน บังเอิญปุ่มเปิดปิดปลั๊กต่อสายไฟเสีย ทั้งๆที่ปลั๊กไฟยังใช้ได้แต่แค่ปุ่มเปิดปิดที่พัง ก็ทำใจอยู่หลายนาทีกว่าจะโยนทิ้งลงถังขยะได้

เหตุการณ์นี้เลยทำให้นึกถึงจดหมายฉบับนึงจากหนังสือ Dear Undercover Economist By Tim Harford ที่เคยอ่านมานานมาแล้วที่มีอาการประมาณเสียดายและเสียเวลาไปกับเหตุการณ์อะไรแบบนี้ ซึ่งเนื้อหาสั้นๆของจดหมายนั้นมีประมาณนี้

ถึงนักเศรษฐศาตร์นอกเครื่องแบบ

ในลิ้นชักผมนั้นมีแต่ถุงเท้าที่ไม่เข้าคู่เต็มไปหมด ไอ่พวกข้างที่มันหายๆไปนี่มันหายไปไหนหมดครับ?

จากคริสเตียน เทินเนอร์, วอชิงตัน ดีซี.

ถึงคุณเทินเนอร์

สำหรับการลงทุนซื้อวัตถุใดๆในโลกนี้กับสิ่งของต่างๆที่จับต้องได้นั้น อุปทานถุงเท้าของคุณที่มีอยู่ก็จะมีการเสื่อมค่า (depreciation) ได้เสมอซึ่งเป็นเรื่องปกติสามัญ

แต่ผมแนะนำให้คุณหาทางที่จะลดผลกระทบจากความสูญเสียนั้นให้เหลือน้อยที่สุดน่าจะดีกว่า แทนที่จะเสียเวลาสงสัยหรือค้นหาว่าถุงเท้าข้างที่หายไปนั้นมันไปอยู่ที่ไหนกันหมด

ปัญหานี้มันเป็นเรื่องง่ายๆเลยก็คือ ถุงเท้าแต่ละข้างของแต่ละคู่นั้นจะมีลักษณะที่ไม่ซ้ำกัน และก็จะเป็นการส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างสมบูรณ์แบบกับถุงเท้าอีกข้างนึง

การที่ถุงเท้าข้างซ้าย (หรือขวา) หายไปข้างนึงนั้น จะทำให้มูลค่าส่วนเพิ่ม (marginal value) ของถุงเท้าข้างขวาอีกข้างที่เหลืออยู่นั้นมีมูลค่าเกือบจะเป็นศูนย์ทันที (นอกจากคุณจะมีความชอบแบบแปลกๆที่จะใส่ถุงเท้าข้างเดียวหรือใส่แบบไม่เข้าคู่กัน)

ดังนั้นมูลค่าส่วนเพิ่มของถุงเท้าข้างขวานั้นจะเหมาะสมและ “เข้าคู่” กับถุงเท้าข้างซ้ายแบบพอดิบพอดี การที่ถุงเท้าข้างซ้าย (หรือข้างขวา) หายไปนั้น ก็เท่ากับว่าจริงๆแล้วคุณทำถุงเท้าหายทั้งสองข้างนั่นแหละ

ปัญหานี้ก็จะระบาดไปถึงเรื่องเครื่องจักรต่างๆเช่นกัน เมื่อชิ้นส่วนนึงของเครื่องจักรนั้นทำงานไม่ได้หรือเสื่อมค่าลงจนพังแล้ว เครื่องจักรเครื่องนั้นทั้งเครื่องก็อาจจะต้องถูกโยนทิ้งไปเลยก็ได้ (เหมือนปลั๊กไฟของผมที่แค่สวิชต์เสียเท่านั้น ก็ต้องโยนทิ้งซะละ)

ทางออกสำหรับปัญหานี้ก็คือการที่สร้างเครื่องจักรให้สามารถเปลี่ยนอะไหล่ได้เมื่อชิ้นส่วนนั้นๆมีปัญหาก็แค่เปลี่ยนชิ้นใหม่ การที่มีชิ้นส่วนที่สามารถเปลี่ยนหรือทดแทนกันได้นี้ ต้องย้อนกลับไปถึงโยฮัน กูเตนเบิรก์ (Gutenberg) และก็แท่นพิมพ์สำหรับสำนักพิมพ์ในยุค 1450s เลยทีเดียว แต่การแก้ปัญหาทางเทคนิคนี้ด้วยการมีชิ้นส่วนที่สามารถเปลี่ยนทดแทนได้ก็ไม่ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในสายการผลิตจนถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เลย

วิศวกรหลายๆรุ่นนั้นรู้ดีถึงความพยายามกระเสือกกระสนข้ามศตวรรษกว่าที่มันจะออกดอกออกผลสักทีเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่สำหรับคุณแล้วคุณเทินเนอร์ คุณไม่จำเป็นต้องรอให้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นนั้นเกิดขึ้น

คุณไม่น่าจะมีปัญหาในการหาชิ้นส่วนหรืออะไหล่มาทดแทนถุงเท้าในลิ้นชักของคุณเอง คุณก็เพียงแค่โยนถุงเท้าข้างที่เหลืออยู่ข้างเดียวนั้นทิ้งไป และก็ออกไปหาซื้อถุงเท้าใหม่มาสักสองโหลก็แค่นั้น

โดยส่วนตัวแล้ว ผม (The Undercover Economist) พบว่าวิธีนี้มันใช้ได้ผลอย่างดีเลยทีเดียวสำหรับสิ่งที่คุณสูญเสียไปสำหรับความยืดหยุ่นในการแต่งตัวจากการที่ถุงเท้าเสื่อมค่า (หาย)

และมันก็เป็นวิธีที่ง่ายและเร็วกว่าเยอะที่จะคอยมาหาถุงเท้าอีกข้างในตอนเช้าก่อนออกไปทำงาน ยังไงถุงเท้าคุณก็จะหายไปอย่างไร้ร่องรอยอยู่ดีเมื่อเวลาผ่านไป

แต่คราวหน้าคุณก็จะได้ไม่ต้องถามคำถามที่ดูเลื่อนลอยกับปรากฏการณ์ถุงเท้าหายไปข้างนึงแบบครั้งนี้นะครับ

ด้วยความ “เข้าคู่” อย่างเหมาะสม

จาก The Undercover Economist

อืม…มันก็จริงเนาะ หลายๆครั้งการแก้ปัญหามันก็ไม่ได้ยากเลยหากเราไม่จดจ่อกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้ามากเกินไปจนเปลืองสมองและเวลาในการทำใจกับมันเนาะ ฮาๆ

อ้างอิง:

Dear Undercover Economist By Tim Harford

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply