พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

De-Dollarization? (ลดการพึ่งเงินดอลล่าห์?)

ช่วงนี้มีข่าวเรื่องความพยายามในการลดการพึ่งพาเงินดอลล่าห์ลง บทความจาก Bloomberg ก็นำมาแจกแจงให้ฟัง เราก็ไปอ่านกันเช่นเคย (ลิงก์ต้นฉบับท้ายบทความ)

เงินดอลล่าห์สหรัฐฯครองโลก

ความเป็นเจ้าโลกของเงินดอลลาห์สหรัฐฯนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศสหรัฐฯ ต่อรัฐบาลของรัฐ และต่อประชาชนส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ และดูแล้วก็เป็นไปได้ที่จะคงอยู่ไปในอนาคตที่มองเห็นได้ในตอนนี้

จากการประเมินหนึ่ง เงินดอลล่าห์นั้นคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 88% ของการทำธุรกรรมระหว่างประเทศทั่วโลก บางคนกลัวว่าความมีอำนาจครอบงำระดับนี้จะไม่ยั่งยืน ในขณะที่บางคนก็ตั้งคำถามว่ามันควรจะเป็นแบบนั้นมั้ยว่าการที่เงินดอลล่าห์แข็งค่านั้นไม่ได้ส่งผลเสียต่อการส่งออกของสินค้าจากอเมริกาและแรงงานของอเมริกาเหรอ?

ข่าวดี อย่างน้อยต่อคนอเมริกันก็คือ ความเป็นเจ้าโลกของเงินดอลล่าห์นั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศอเมริกา ต่อรัฐบาลและประชาชนของอเมริกาเอง ยิ่งไปกว่านั้น มันเป็นไปได้ว่ามันจะคงอยู่แบบนี้ไปอีกสักพักในอนาคต

เรื่องนี้ได้กลายมาเป็นประเด็นในช่วงไม่นานมานี้ เนื่องมาจากมาตราการการคว่ำบาตรทั้งหลายแหล่ รัสเซียถูกตัดออกจากเครือข่ายที่ใช้เงินดอลล่าห์เป็นหลัก ประเทศอื่นๆอย่างเช่น บราซิล อินเดีย และซาอุฯ นั้นก็ได้มีความพยายามอย่างน้อยอย่างเผินเผินเกี่ยวกับ “de-dollarization” หรือการลดการพึ่งพาเงินดอลล่าห์นั้นเอง เพื่อที่จะหวังว่าจะใช้เงินดอลล่าห์ให้น้อยลงในการทำการค้าระหว่างประเทศ

ลองคิดถึงเงินดอลล่าห์ที่นิ่งและเป็นจุดศูนย์กลางเหมือนสินค้าและบริการที่อเมริกาเป็นผู้ผลิต เหมือนที่จีนเป็นผู้ผลิตมือถือ หรือ ญี่ปุ่นผลิตรถยนต์ เมื่อคนอเมริกันขายดอลล่าห์แลกกับสินค้าและบริการจากต่างประเทศ ซึ่งก็จะวัดเหมือนกับว่าอเมริกาขาดดุลการค้า แต่มันก็สามารถมองได้เหมือนกันว่าประเทศอเมริกากำลังส่งออกดอลล่าห์และ ‘บริการดอลล่าห์’ ประเทศอเมริกาก็ทำตราสินค้าและทำตลาดดอลล่าห์ เหมือนที่ Zara และ Gap ทำตราสินค้าและทำการตลาดเสื้อผ้าของตนเองเหมือนกัน

ดังนั้นแล้วไอ่เรื่องที่ว่าสหรัฐขาดดุลการค้านั้นอาจจะเปลี่ยนคอนเซปเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าไป การบริการดอลล่าห์ (ในแง่ความมีเสถียรภาพ) อาจจะถูกแลกเปลี่ยนเพื่อสินค้าหรือบริการ (ไม่ว่าอะไรก็ตามที่อเมริกาซื้อจากจีน) ประเด็นก็คือ การทำแบรนด์ดอลล่าห์และการขายดอลล่าห์อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็อย่างที่เรียกกันว่า “การซื้อสิ่งของ” ก็ทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันนั้นมีมาตราฐานการครองชีพที่สูงขึ้น

เพื่อความชัดเจน บางครั้งแล้วการขายสินค้าหรือบริการบางอย่างอาจจะเป็นผลเสีย หรือมีผลลัพธ์ที่ไม่ชัดเจนก็ได้ อย่างเช่น เศรษฐกิจของประเทศเวเนซูเอล่านั้นขึ้นอยู่กับรายได้จากการขายน้ำมันเป็นอย่างมาก และการมีราคาน้ำมันที่ไม่มีความเสถียรนั้น รายได้ของประเทศก็ไม่มีความแน่นอน แต่ความต้องการต่อเงินดอลล่าห์สหรัฐฯนั้นไม่ได้มีความไม่เสถียรเหมือนราคาน้ำมัน จริงๆแล้ว จากความขัดแย้งในประเทศยูเครนและการเพิ่มขึ้นของความทะเยอทะยานของจีน เงินดอลล่าห์ยิ่งดูเหมือนว่าจะมีอนาคตที่มั่นคงขึ้นในแง่เป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัย บางทีอาจจะปลอดภัยมากเกินไปด้วยซ้ำจากมุมมองที่กว้างขึ้น

ถ้ามันจะมีอะไรเป็นอันตรายสำหรับประเด็นนี้ มันก็คือเรื่องที่มีการถกเถียงกันในวอชิงตันเองนั่นแหละเกี่ยวกับเพดานหนี้ที่จะส่งผลให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯเอง และแม้ว่าสิ่งนั้นมันจะเกิดขึ้นจริง มันก็คงไม่ใช่ประเด็นที่จะยกมาถกเถียงถึงความเป็นเจ้าของของเงินดอลล่าห์นั้น หรือว่าจะเป็นหลักฐานใดๆที่ว่าความเป็นเจ้าโลกของเงินดอลล่าห์นั้นมันจะต้องจบลง มันจะเป็นเพียงหลักฐานอีกอันนึงถึงความโง่เง่าของการเมืองของอเมริกาเอง

ในแง่นึงแล้ว เงินเหรียญสหรัฐฯก็ค่อนข้างจะแข็งค่า และนั่นมันก็ทำให้อเมริกามีความยากลำบากมากขึ้นในการส่งออกสินค้าและบริการ แต่มันก็ไม่ได้มีความพิเศษหรือความไม่น่าพึงประสงค์อะไรเกี่ยวกับความเป็นจริงนี้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเกาหลี้ใต้จะส่งออกมือถือซัมซุงมากขึ้น นั่นก็จะทำให้ค่าจ้างของคนเกาหลีใต้และเงินวอนมีค่าสูงขึ้นและนั่นมันก็จะทำให้ประเทศเกาหลีส่งออกสินค้าอื่นยากขึ้นด้วยเช่นกัน อย่างเช่น K-pop

ในประเทศใดๆก็ตาม กิจการทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันต่างก็ต้องแข่งขันกันเพื่อทรัพยากร เพื่อเงินทุน และเพื่อให้ได้รับความสนใจไม่ต่างกัน นั่นมันก็เป็นเพียงแค่การแสดงออกถึงพื้นฐานความจริงทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับความไม่เพียงพอต่อทรัพยากรอยู่แล้ว ถ้าสกุลเงินดอลล่าห์เป็นที่ต้องการมาก มันก็เป็นสิ่งยืนยันถึงประวัติศาสตร์ของอเมริกาเองว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ซึ่งก็อาจจะเสถียรกว่า เช่น เมื่อเทียบกับคุณภาพของรถแทรคเตอร์หรือหนังของสหรัฐฯเอง

ไอ่เรื่องการคุยถึงการลดการพึ่งเงินดอลล่าห์นี้จะไปอีกนานแค่ไหน? อาจจะไม่นานนักก็ได้ ประเทศอเมริกามีตลาดการเงินที่มีสภาพคล่องลึกและเยอะที่สุดในโลก และพวกเขาก็ยังค่อนข้างเปิดเสรีเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดบางอย่างเกี่ยวกับการลงทุนของคนจีนในอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างเปราะบางต่อความมั่นคงของประเทศ แต่มันก็ยังคงมีเหตุผลสนับสนุนหลายๆอย่างที่จะยังคงความเป็นเจ้าของสกุลเงินในการครอบครองตลาดระหว่างประเทศ อย่างที่มันมีเหตุผลสำคัญที่จะมีสกุลเงินหลักสำหรับธุรกรรมในประเทศเช่นเดียวกัน การมีสภาพคล่องของสกุลเงินก็ทำให้มีสภาพคล่องอื่นตามมา ไม่ว่าจะภายในประเทศตัวเองหรือรอบโลกก็ตาม

จากการที่เงินดอลล่าห์มีส่วนแบ่งถึงประมาณ 88% ของการทำธุรกรรมทั่วโลกนั้น เงินยูโรอยู่ที่ 31% เป็นเพียงแค่คู่แข่งระดับนึงเท่านั้น (และเนื่องจากการทำธุรกรรมทางการเงินต้องเกี่ยวข้องกับสกุลเงินสองสกุลขึ้นไป การทำธุรกรรมทั้งหมดก็จะเกิน 100%) แต่เนื่องจากเงินยูโรก็ไม่เหมือนกับเงินดอลล่าห์ที่จะไม่มีทางผูกอยู่กับรัฐบาลเพียงรัฐบาลเดียว และสหภาพยุโรปนั้นก็ไม่ได้มีศักยภาพทางทหารใกล้เคียงกับสหรัฐฯด้วย

เงินหยวนนั้นประเมินว่าอยู่ที่ 7% ของการทำธุรกรรมทั่วโลก และจีนก็ดูเหมือนว่าจะไม่อยากเปิดเสรีตลาดทุนของตัวเอง เนื่องจากว่ามันจะนำไปสู่การไหลออกของเงินทุนอย่างเสรีและอาจจะส่งผลให้เกิดวิกฤตทางการเงินได้ แต่หากตลาดทุนไม่มีการเปิดเสรีแล้ว เงินหยวนก็จะไม่ใช่คู่แข่งที่น่ากลัวนักสำหรับสกุลเงินกลางของโลก

บางครั้งเศรษฐศาสตร์มันก็ดูซับซ้อนและยากที่จะอธิบาย แต่ถ้าพูดถึงเรื่องสกุลเงินดอลล่าห์แล้ว มันไม่ใช่ทั้งสองประเด็น เงินเหรียญจะยังคงบทบาทตัวกลาง ซึ่งก็ดีต่อสหรัฐฯ และเหตุผลมันก็ไม่ยากและซับซ้อนอะไร

อ้างอิง:

The Dollar Rules the World, Now and for the Foreseeable Future – Bloomberg

Revisiting the international role of the US dollar (bis.org)

Leave a Reply