“Crowding Out Effect” คืออะไร?
หากแปลตรงๆทื่อๆก็จะแปลว่าผลกระทบจากการเบียดเสียด ซึ่งฟังแล้วก็คงจะตลกดี แต่ crowding out effect นั้นเป็นทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ที่บอกเราว่าการที่รัฐบาลมีการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายในภาคสาธารณะนั้นจะทำให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนนั้นน้อยลงหรือไม่มีเลย สั้นๆง่ายๆก็คือ เมื่อรัฐเอาเงินไปใช้จ่ายภาคสาธารณะหมด เงินหรือทุนก็จะไม่เหลือให้ไปลงทุนในภาคเอกชนนั่นแหละ
ผลกระทบจาก crowding out effect ที่ว่านี้จะเกิดมาจากสามเหตุผลหลักก็คือ ในทางเศรษฐกิจ ในทางสวัสดิการของสังคม และในทางโครงสร้างพื้นฐาน
คำที่ตรงกันข้ามกับ crowding out นั้นก็คือ crowding in ก็คือการที่รัฐบาลนั้นกู้ยืมเงินเข้ามาแทนก็อาจจะส่งผลให้อุปสงค์นั้นมีระดับที่สูงขึ้นก็ได้
ตัวอย่างที่พบเห็นเป็นปกติในแง่ของ crowding out นั้นก็จะเกิดขึ้นในกรณีรัฐบาลที่ใหญ่ๆอย่างเช่นอเมริกาที่กู้ยืมเงินมากขึ้นทำให้ส่งผลกระทบต่อเนื่องของเหตุการณ์ต่างๆจนสุดท้ายส่งผลให้มีการจำกัดจำเขี่ยการใช้จ่ายของภาคเอกชน แค่ขนาดที่ใหญ่ของการกู้ยืมของรัฐบาลใหญ่ๆประเภทนี้ก็เพียงพอที่จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมากของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงแล้วซึ่งจะมีผลกระทบต่อการซึมซับความสามารถในการให้กู้ยืมของเศรษฐกิจและบั่นทอนภาคธุรกิจที่จะตัดสินใจทำการลงทุนต่างๆ
บริษัทต่างๆก็มักจะใช้การกู้ยืมเป็นส่วนนึงหรือทั้งหมดของโครงการต่างๆที่ตัดสินใจจะลงทุนทำก็จะถูกบั่นทอนเนื่องมาจากว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสในการกู้ยืมเงินนั้นสูงขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วโครงการต่างๆที่เคยเป็นกำไรในอดีตก็จะไม่ได้กำไรอีกต่อไป
crowding out นั้นมักจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีขนาดรัฐบาลใหญ่ๆซึ่งก็เป็นเรื่องปกติเพราะจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยขยับสูงขึ้น
เรื่อง crowding out effect นั้นมีการถกเถียงกันมาเป็นร้อยๆปีแล้วในหลายๆรูปแบบ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วคนก็จะคิดว่าทุนนั้นมีจำกัดและมีขอบเขตอยู่ในเฉพาะประเทศนั้นๆเท่านั้น ซึ่งก็ถูกต้องแล้วเนื่องมาจากปริมาณการค้าระหว่างประเทศนั้นถือว่าต่ำกว่าเยอะในอดีตเมื่อเทียบกับปัจจุบันนี้ ซึ่งในลักษณะของสถานการณ์แบบนั้น การเก็บภาษีเพิ่มขึ้นสำหรับโครงการสาธารณะต่างๆและการใช้จ่ายในทางสาธารณะนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อการลดลงของความสามารถในการใช้จ่ายของภาคเอกชนในประเทศนั้นๆเนื่องมาจากว่าจะมีเงินเหลือให้ใช้จ่ายได้น้อยลง
Crowding Out Effect กับ Crowding In
ในทางกลับกัน ทฤษฎีมหภาคอย่างเช่น Chartalism และยุคหลัง Keynesian นั้นบอกว่าการกู้ยืมของรัฐบาลนั้นในเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความสามารถจริงๆของเศรษฐกิจนั้นจริงๆแล้วจะสามารถช่วยส่งผลให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นได้ด้วยการจ้างงานเพิ่มขึ้นซึ่งก็จะส่งผลกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายในภาคเอกชนเช่นกัน ซึ่งจะเรียกขั้นตอนนี้ว่า crowding in
ทฤษฎี crowding in นั้นเริ่มได้รับความสนใจระหว่างนักเศรษฐศาสตร์ในช่วงหลังๆอันเนื่องมาจากว่าในช่วงเศรษฐกิจถดถอยในช่วงปี 2007-2009 นั้น การใช้จ่ายอย่างมากในส่วนของรัฐบาลในการซื้อพันธบัตรและหลักทรัพย์อื่นๆนั้นส่งผลกระทบให้อัตราดอกเบี้ยนั้นลดลงแทน
ประเภทของ Crowding Out Effect
ในทางเศรษฐกิจ – การลดลงของการใช้จ่ายด้านทุนนั้นส่วนนึงก็จะถูกชดเชยจากการที่รัฐบาลกู้ยืมเงิน อย่างเช่น การกระตุ้นทางเศรษฐกิจ ในแง่นี้ ทางทฤษฎีแล้วการกระตุ้นจากภาครัฐจะได้ผลมากกว่าเมื่อเศรษฐกิจยังวิ่งได้ไม่เต็มความสามารถ อย่างไรก็ดี การลดลงในรายได้ของรัฐบาลที่เก็บเงินผ่านภาษีก็อาจจะทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมเงินมากขึ้นไปอีกก็ได้ ซึ่งก็อาจจะนำไปสู่วงจรอุบาทว์ที่ต้องยืมเงินอีกและก็ส่งผลให้เกิด crowding out แทน
ในทางสวัสดิการทางสังคม – crowding out ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องมาจากเหตุผลทางสวัสดิการสังคมแม้ว่าจะโดยทางอ้อม เมื่อรัฐบาลขึ้นภาษีเพื่อที่จะแนะนำหรือขยายโครงการสวัสดิการต่างๆ ทั้งระดับบุคคุลและระดับธุรกิจนั้นก็จะมีรายได้ที่ใช้จ่ายได้ที่น้อยลงซึ่งก็อาจจะทำให้การบริจาคหรือการมอบเงินให้กับสังคมนั้นน้อยลงไปด้วย ในแง่นี้ค่าใช้จ่ายภาคสาธารณะสำหรับสวัสดิการทางสังคมก็จะส่งผลให้ภาคเอกชนนั้นลดการมอบเงินเพื่อสวัสดิการทางสังคมน้อยลง ซึ่งก็อาจจะชดเชยการใช้จ่ายโดยรัฐบาลที่ตั้งใจส่งผลในแง่เดียวกันตั้งแต่แรก
ในทางโครงสร้างพื้นฐาน – การที่รัฐบาลได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื็นฐานก็ต้องใช้เงินซึ่งจะบั่นทอนให้ภาคเอกชนไม่ให้เข้าไปสู่พื้นที่เดียวกับกับโครงการที่รัฐใช้จ่ายเพราะอาจจะไม่น่าสนใจหรือไม่มีกำไร ซึ่งเหตุการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นเวลารัฐบาลใช้จ่ายเพื่อสร้างสะพานหรือถนนหนทางต่างๆ ซึ่งก็จะทำให้ภาคเอกชนไม่สามารถบริษัทๆต่างๆสร้างถนนที่เก็บค่าผ่านทางหรือโครงการที่คล้ายๆกันได้
อ้างอิง:
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.