พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

Creative Destruction (การทำลายอย่างสร้างสรรค์)

จริงๆแล้วการจะแปลคำนี้เป็นภาษาไทยมันก็อาจจะฟังทะแม่งๆหน่อย แต่ว่าเราคงเคยได้ยินคำนี้มากันไม่น้อยแล้ว ทำนองว่าจะสร้างอะไรใหม่ก็จะต้องทำลายหรือลบอะไรเก่าๆออกไปก่อน ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต วัฒนธรรม พฤติกรรม มาตราฐานการปฏิบัติกันแบบเดิมๆ หรือสิ่งที่อยู่มาก่อน เพื่อให้โลกใหม่ สิ่งใหม่ วิถีใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ก่อเกิดขึ้นมาใหม่ที่ (คาดว่า) ต้องดีกว่าเดิม

คำว่า “Creative Destruction” นี้มีมานานแล้ว แม้ว่าหลายๆคน (รวมถึงผมด้วย) ก็รู้สึกว่าจะได้ยินมาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง คำนี้คนแรกที่บัญญัติมันขึ้นมาก็คือ นักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรนามว่า Joseph Schumpeter (โจเซฟ ชุมปีเตอร์) ในปี 1942 ที่ได้กลายเป็นชื่อคอมลัมน์หนึ่งในนิตรสารหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของ The Economist นั่นเอง

Shumpter นั้นอธิบายคำว่า creative destruction ไว้ว่าเป็นนวัตกรรมในขึ้นตอนการผลิตที่เพิ่มผลิตผล (productivity) ให้กับการผลิตนั้นๆ แต่คำจำกัดความนี้ก็ถูกนำมาใช้ในหลายๆรูปแบบและความหมายรวมไปถึงสิ่งอื่นๆที่อยู่นอกเหนือจากขั้นตอนการผลิตด้วย

Shumpeter อธิบายถึง creative destruction ไว้ว่าเป็น “ขั้นตอนการกลายพันธ์ของอุตสาหกรรมที่ปฏิวัติโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างไม่หยุดหย่อน ทำลายโครงสร้างเก่าอย่างไม่หยุดหย่อน และก็สร้างสิ่งใหม่โครงสร้างใหม่อย่างไม่หยุดหย่อน” เช่นกัน

ให้เรานึกถึงภาพ เวลาเราเห็นการก่อสร้างในบ้านเราที่ทุบถนนเก่าๆไป รื้อถนนเก่าๆไป แล้วพร้อมๆกันก็สร้างถนนใหม่ไปด้วยเลยแบบไม่หยุดหย่อนตลอดเวลา เป็นเวลาเป็นปี ก็น่าจะพอนึกภาพนึกอารมณ์ออกเนาะ

ทฤษฎีของ creative destruction นั้นวางสมมุติฐานไว้ว่าการจัดการและข้อสันนิษฐานต่างๆที่มีมาอย่างยาวนานนั้นต้องถูกทำลายลงเพื่อปลอดปล่อยทรัพยากรและพลังงานที่มีอย่างจำกัดนั้นเพื่อไปนำไปใช้วางรากฐานใหม่ๆให้กับนวัตกรรมใหม่ๆแทน

ทฎษฎี creative destruction นั้นจะปฏิบัติกับเศรษฐศาสตร์เสมือนเป็นองค์ประกอบหนึ่งและเป็นขั้นตอนที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งวิธีคิดแบบนี้จะค่อนข้างตรงกันข้ามกับเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมแบบเคมบริดจ์ที่มีโมเดลทางคณิตศาสตร์แบบอยู่กับที่

Equilibrium หรือดุลยภาพของเศรษฐกิจนั้นไม่ใช่ปลายทางขอขั้นตอนทางกลไกทางตลาดอีกต่อไป แต่การเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆและตลอดเวลามากกว่าที่จะถูกกำหนดรูปร่างหรือทดแทนโดยนวัตกรรมและการแข่งขันทางธุรกิจมากกว่า

แม้ว่าคำว่า destruction จะบอกเป็นนัยๆอยู่แล้วว่าขั้นตอนที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆและลบหรือทำลายสิ่งเก่าๆนั้นก็จะมีทั้งผู้แพ้และผู้ชนะเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผู้ประกอบการและลูกจ้างในเทคโนโลยีใหม่ๆก็จะสร้างความไม่สมดุลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และสร้างโอกาสกำไรทางธุรกิจใหม่ๆเช่นกัน ผู้ผลิตและก็ลูกจ้างที่ยึดติดอยู่กับเทคโนโลยีเก่าๆก็จะถูกปล่อยทิ้งไว้อย่างน่าเศร้า

สำหรับ Schumpter แล้ว การพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้นก็เป็นผลมาจากแรงผลักดันที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่มาจากแรงผลักดันภายในของกลไกตลาดและก็เกิดมาจากโอกาสที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแสวงหากำไรจากการทำธุรกิจอยู่แล้ว

Netflix ที่เราดูๆกันทุกวันนี้ก็เป็นหนึ่งในหลายตัวอย่างของ creative destruction ที่ล้มล้างการเช่าแผ่นซีดี หรือแม้แต่วีดีโอเทปในอดีต (คนอายุยี่สิบกว่าอาจจะเกิดไม่ทันเห็น) ซึ่งปรากฏการณ์นี้ก็เรียกกันว่าเป็น Netflix effect เลยทีเดียว หรือใช้เป็นกริยาว่า กำลังถูกทำให้เป็น “Netflixed” เหมือนที่เราใช้คำว่า Xerox แทนคำว่าก๊อปปี้ หรือ ไทยๆหน่อยก็คัดลอกนั่นแหละ

ตัวอย่างอื่นก็เช่นการสร้างรถยนต์ของ Henry Ford ที่เปลี่ยนแปลงวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ไปอย่างสิ้นเชิง โดยขณะเดียวกันก็ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบตลาดเก่าๆและส่งผลให้แรงงานหลายๆคนนั้นตกงาน

การมาของอินเตอเน็ตนั้นบางทีแล้วอาจจะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของ creative destruction ก็ได้ ซึ่งคนที่เสียหายนั้นไม่ใช่เพียงแค่เสมียน หรือพนักงานธนาคาร เลขา และตัวแทนท่องเที่ยวเท่านั้น แต่มีเยอะกว่านั้นมาก อินเตอร์เน็ตทุกหนแห่งนั้นก็เพิ่มจำนวนผู้ที่จะหรือกำลังจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังมากมายเช่นกัน ตั้งแต่คนขับแท๊กซี่และคนสร้างแผนที่

ผู้ชนะในสิ่งเหล่านี้ก็ชัดเจนว่านอกจากเหล่าโปรแกรมเมอร์แล้วก็อาจจะมีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน อุตสาหกรรมบันเทิงนั้นถูกพลิกกลับหัวกลับหางโดยการมาของอินเตอร์เน็ต แต่ความต้องการของเหล่าศิลปินสร้างสรรค์และสินค้าก็ยังคงเหมือนเดิมหรือเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำไป แม้ว่าอินเตอร์เน็ตจะทำลายธุรกิจเล็กๆลงมากมาย แต่มันก็สร้างธุรกิจใหม่ๆออนไลน์เช่นกัน

ประเด็นที่ Schumpeter นั้นอยากให้สนใจก็คือ ขั้นตอนของวิวัฒนาการนั้นจะส่งผลให้มีการปรับปรุงพัฒนาและมีนวัตกรรม แต่มันก็จะลงโทษวิถีเก่าๆที่ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากร เพราะในท้ายที่สุดแล้ว แนวโน้มของเส้นวิวัฒนาการนี้ก็เพื่อความเจริญก้าวหน้า ความเจริญเติบโต และมาตราฐานการครองชีพที่สูงขึ้นนั่นเอง

ยังไงก็ค่อนข้างชัดเจนนะครับ ว่าจะดูย้อนไปอดีตแค่ไหนก็ตาม ถ้าไม่ยอมเปลี่ยนแปลงก็คือรอวันตายเท่านั้นครับ

อ้างอิง:

https://www.economist.com/business/2020/05/16/creative-destruction-in-times-of-covid

https://www.investopedia.com/terms/c/creativedestruction.asp

https://en.wikipedia.org/wiki/Creative_destruction

Leave a Reply